Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9245
Title: | การวิเคราะห์โครงสร้างธุรกิจสื่อวิทยุกระจายเสียงของบริษัท มีเดีย พลัส จำกัด (มหาชน) |
Other Titles: | A structural analysis of Media Plus PCL in radio business |
Authors: | เนาวรัตน์ วิริยะเวสม์กุล |
Advisors: | ปนัดดา ธนสถิตย์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | Panadda.T@Chula.ac.th |
Subjects: | บริษัท มีเดียพลัส วิทยุกระจายเสียง การจัดการธุรกิจ |
Issue Date: | 2540 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาถึงโครงสร้างธุรกิจสื่อวิทยุกระจายเสียงของบริษัทมีเดียพลัส จำกัด (มหาชน) ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2529-2539 และศึกษาปัจจัยเงื่อนไขที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างธุรกิจสื่อวิทยุ โดยใช้กรอบแนวคิดด้านโครงสร้างสื่อในเชิงเศรษฐศาสตร์และกรอบทฤษฎีการวิเคราะห์องค์กรอุตสาหกรรมสื่อ ผลการวิจัยพบว่าโครงสร้างธุรกิจสื่อวิทยุกระจายเสียงของบริษัท มีเดียพลัส จำกัด (มหาชน) มีการปรับเปลี่ยนอยู่ 3 ลักษณะคือ โครงสร้างธุรกิจขนาดเล็ก ปี พ.ศ. 2529-2534 โครงสร้างธุรกิจด้านการร่วมทุน ปี พ.ศ. 2535-2537 และโครงสร้างธุรกิจบริษัทมหาชน ปี พ.ศ. 2538-2539 แรงผลักดันที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่โครงสร้าง 3 ลักษณะดังกล่าว ประกอบไปด้วยปัจจัยเงื่อนไขดังต่อไปนี้คือ 1. สภาพการแข่งขันทางด้านรายได้และช่องทางของสื่อวิทยุ 2. ประสบการณ์การดำเนินงานสื่อวิทยุ และเอกลักษณ์เฉพาะตัวของมืออาชีพทางสื่อวิทยุกระจายเสียง 3. นโยบายของรัฐเกี่ยวกับการให้สัมปทานคลื่นวิทยุ 4. เทคโนโลยีด้านการสื่อสารสมัยใหม่ 5. ความต้องการและความสนใจของผู้ฟัง |
Other Abstract: | The objectives of this research are to study Media Plus Pcl. radio business structure and it's related factors from 1986-1996, conducted by the economic principles of media structure concept and the analyzing of media industry organization theoretical framework. The results of the study show that Media Plus Pcl. radio business structure has been changed to 3 categories : 1) Private ownership (1986-1991); 2) Strategic partnership (1992-1994); and 3) Public company (1995-1996). Further, it is found that the factors forced radio business structure are as follows : 1) The competition of media revenues and radio channel distributors. 2) Long-term experience and self identity of radio professionals. 3) Radio concession policy. 4) Modern communication technology. 5) Demand & interest of radio listeners. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การสื่อสารมวลชน |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9245 |
ISBN: | 9746378392 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Naowarat_Vi_front.pdf | 746.87 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Naowarat_Vi_ch1.pdf | 879.29 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Naowarat_Vi_ch2.pdf | 824.34 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Naowarat_Vi_ch3.pdf | 744.23 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Naowarat_Vi_ch4.pdf | 1.19 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Naowarat_Vi_ch5.pdf | 1.07 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Naowarat_Vi_ch6.pdf | 885.87 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Naowarat_Vi_back.pdf | 1.08 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.