Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9249
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การรับรู้ความสามารถของตนเองในการออกกำลังกาย การรับรู้ประโยชน์ของการออกกำลังกายและสภาพแวดล้อมของวิทยาลัยกับพฤติกรรมการออกกำลังกายของนักศึกษาพยาบาล
Other Titles: Relationships between personal factors, self-efficacy in exercise, perceived benefits of exercise, college environment and exercise behaviors of nursing students
Authors: สรัลรัตน์ พลอินทร์
Advisors: ประนอม รอดคำดี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: Branom.r@chula.ac.th
Subjects: การออกกำลังกาย
นักศึกษาพยาบาล
พฤติกรรมสุขภาพ
ความสามารถในตนเอง
Exercise
Nursing students
Health behavior
Self-efficacy
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการออกกำลังกายของนักศึกษาพยาบาลศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคล การรับรู้ความสามารถของตนเองในการออกกำลังกายการรับรู้ประโยชน์ของการออกกำลังกาย และสภาพแวดล้อมของวิทยาลัย กับพฤติกรรมการออกกำลังกายของนักศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาพยาบาล จำนวน 366 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามการรับรู้ความสามารถของตนเองในการออกกำลังกายแบบสอบถามการรับรู้ประโยชน์ของการออกกำลังกาย แบบสอบถามสภาพแวดล้อมของวิทยาลัย และแบบสอบถามพฤติกรรมการออกกำลังกายของนักศึกษาพยาบาล ได้รับข้อมูลในการวิเคราะห์ร้อยละ 94.57 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าไคสแควร์ การวิเคราะห์หาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. พฤติกรรมการออกกำลังกายของนักศึกษาพยาบาลอยู่ในระดับต่ำ 2. ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ ระดับชั้นปี การเล่นกีฬาก่อนเข้าเรียนพยาบาล การเล่นกีฬาของสมาชิกในครอบครัว การสนับสนุนของครอบครัว มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการออกกำลังกายของนักศึกษาพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. การรับรู้ประโยชน์ของการออกกำลังกายและสภาพแวดล้อมของวิทยาลัยมีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการออกกำลังกายของนักศึกษาพยาบาลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purposes of this research were to study exercise behaviors of nursing students, and to investigate the relationship between personal factors, self-efficacy in exercise, perceived benefits of exercise, and college environment and exercise behaviors of nursing students. The sample was 366 nursing students selected by stratified random sampling. Research instruments were self-efficacy in exercise and perceived benefits of exercise and college environment and exercise behaviors of nursing students questionnaires which were tested for their validity and reliability. The response rate was 94.57%. The data was analyzed by mean, standard deviation, chi-square, Pearson's product moment correlation coefficient. Major findings were as follow: 1. Mean scores of exercise behaviors of nursing students was at low level. 2. Class level, sport playing before enroll nursing college, sport playing of family member, social support were significantly related to exercise behaviors of nursing students at .05 level. 3. Perceived benefits of exercise and college environment were positively and significantly related to exercise behaviors of nursing students at .05 level.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การพยาบาลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9249
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.1999.526
ISBN: 9743343547
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.1999.526
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sarunttana_Po_front.pdfหน้าปก และ บทคัดย่อ831.69 kBAdobe PDFView/Open
Sarunttana_Po_ch1.pdfบทที่ 1957.68 kBAdobe PDFView/Open
Sarunttana_Po_ch2.pdfบทที่ 21.95 MBAdobe PDFView/Open
Sarunttana_Po_ch3.pdfบทที่ 3916.62 kBAdobe PDFView/Open
Sarunttana_Po_ch4.pdfบทที่ 4932.62 kBAdobe PDFView/Open
Sarunttana_Po_ch5.pdfบทที่ 5998.71 kBAdobe PDFView/Open
Sarunttana_Po_back.pdfบทที่ 61.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.