Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9251
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางกลสัทศาสตร์ของการหยุดกับการจัดผลัดในการสนทนาภาษาไทย
Other Titles: Relationship between acoustic characteristics of pause and turn management in conversation in Thai
Authors: เสาวลักษณ์ เมืองแมน
Advisors: สุดาพร ลักษณียนาวิน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Sudaporn.L@Chula.ac.th
Subjects: ภาษาไทย -- สัทศาสตร์
ภาษาไทย -- การออกเสียง
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มุ่งศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะทางกลสัทศาสตร์ของการหยุดกับการจัดผลัดในการสนทนา งานวิจัยนี้ได้ศึกษาการสนทนาประเภทการสัมภาษณ์และพบว่ามีการจัดผลัด 4 ชนิด คือ การครองผลัด การเปลี่ยนผลัดแบบราบรื่น การเปลี่ยนผลัดแบบไม่ราบรื่น และการชิงผลัด การวิเคราะห์ทำจากแง่มุมของผู้ร่วมสนทนา และแง่มุมบทบาทการเป็นผู้สัมภาษณ์ (IR) และการเป็นผู้ให้สัมภาษณ์ (IE) ของผู้ร่วมสนทนา โดยศึกษาจากข้อมูลการสนทนาแบบการสัมภาษณ์จำนวน 4 กรณีที่มีหัวข้อการสนทนาที่แตกต่างกัน คือ การสัมภาษณ์แบบขอความคิดเห็น 2 กรณี กับการสัมภาษณ์แบบขอข้อเท็จจริงอีก 2 กรณี บทสนทนาทั้ง 4 บท ประกอบด้วยหน่วยระหว่างการหยุดที่มีช่วงเงียบเชิงกลทั้งสิ้น 2910 หน่วย ค่าระยะเวลาของการหยุดในการจัดผลัดประเภทต่างๆ จะแตกต่างกัน คือ ค่าระยะเวลาของการหยุดในการชิงผลัดจะสั้นที่สุด และค่าระยะเวลาของการหยุดในการเปลี่ยนผลัดแบบไม่ราบรื่นจะยาวที่สุด ส่วนค่าระยะเวลาของการหยุดในการครองผลัดและค่าระยะเวลาของการหยุดในการเปลี่ยนผลัดแบบราบรื่นจะใกล้เคียงกัน โดยมีค่าระยะเวลายาวกว่าการหยุดในการชิงผลัดและสั้นกว่าการหยุดในการเปลี่ยนผลัดแบบไม่ราบรื่น การวิเคราะห์ความแปรปรวนของค่าระยะเวลาของการหยุดในการจัดผลัดทั้ง 4 ประเภทแสดงว่าความแตกต่างที่พบในการจัดผลัดทั้ง 4 ประเภทไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบระยะเวลาของการหยุดในการจัดผลัดในการสัมภาษณ์ที่มี วัตถุประสงค์ต่างกัน 2 ชนิด พบว่า ในการสัมภาษณ์ความคิดเห็นค่าระยะเวลาของการหยุดในการเปลี่ยนผลัดแบบราบรื่นจะยาวกว่าในการสัมภาษณ์ข้อเท็จจริงอย่างเห็นได้ชัด ทั้งนี้อธิบายได้ว่าในการให้ข้อคิดเห็น คู่สนทนาจะให้เวลาแก่ผู้พูดอีกคนหนึ่งค่อนข้างยาว คือ เปิดโอกาสให้ได้คิดเรียบเรียงความเห็นก่อนนำเสนอ ในแง่ของบทบาทการเป็นผู้สัมภาษณ์ (IR) และผู้ให้สัมภาษณ์ (IE) ผลการวิจัยพบว่าบทบาทการเป็นผู้สัมภาษณ์และผู้ให้สัมภาษณ์ของผู้ร่วมสนทนามีอิทธิพลต่อค่าระยะเวลาของการหยุดในการจัดผลัดกล่าวคือ ผู้สัมภาษณ์จะมีค่าระยะเวลาของการหยุดในการจัดผลัด 3 ประเภท คือ ในการครองผลัดการเปลี่ยนแปลงผลัดราบรื่น และการชิงผลัดสั้นกว่าผู้ให้สัมภาษณ์ อธิบายได้ว่าผู้สัมภาษณ์ให้เวลาแก่ผู้ให้สัมภาษณ์ในการจัดการผลัดมากกว่าการจัดผลัดของตนเอง ส่วนการเปลี่ยนแปลงผลัดแบบไม่ราบรื่นพบในผู้สัมภาษณ์เพียง 1 ครั้ง และมีระยะเวลายาวมาก ค่าระยะเวลานี้ยาวกว่าค่าเฉลี่ยของการหยุดในการเปลี่ยนผลัดแบบไม่ราบรื่นที่พบในผู้ให้สัมภาษณ์ซึ่งมีจำนวน 10 ครั้ง การทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติของความแตกต่างของค่าเฉลี่ยระยะเวลาการหยุดในการจัดผลัดประเภทต่างๆ ระหว่างผู้สัมภาษณ์พบว่ามีเพียงกรณีการครองผลัดเท่านั้นที่ค่าระยะเวลาของการหยุดของผู้สัมภาษณ์มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนค่าระยะของการหยุดในการจัดผลัดประเภทอื่นนั้นแตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ระยะเวลาของการหยุดของผู้สัมภาษณ์มีรูปแบบค่อนข้างชัดเจน คือการหยุดในการเปลี่ยนผลัดแบบไม่ราบรื่นมีค่าระยะเวลายาวที่สุด รองลงมาคือค่าระยะเวลาการหยุดในการเปลี่ยน ผลัดแบบราบรื่น ค่าระยะเวลาของการหยุดในการครองผลัด และค่าระยะเวลาการหยุดในการชิงผลัด ตามลำดับ ส่วนในรูปแบบในผู้ให้สัมภาษณ์มีความแตกต่างกัน ในส่วนของค่าระยะเวลาการหยุดในการเปลี่ยนผลัดแบบราบรื่น คือ การในการสัมภาษณ์ความคิดเห็นมีช่วงการหยุดในการเปลี่ยนผลัดแบบราบรื่นยาวกว่ากรณีการสัมภาษณ์ข้อเท็จจริง ดังนั้นรูปแบบการหยุดของผู้สัมภาษณ์กรณีสัมภาษณ์ความคิดเห็นจึงเหมือนกับผู้สัมภาษณ์ แต่รูปแบบของผู้ให้สัมภาษณ์กรณีการสัมภาษณ์ข้อเท็จจริงแตกต่างกับผู้สัมภาษณ์ คือค่าระยะเวลาของการหยุดในการครองผลัดของผู้ให้สัมภาษณ์ยาวกว่าค่าระยะเวลาของการหยุดในการเปลี่ยนผลัดแบบราบรื่น งานวิจัยนี้ได้แสดงให้เห็นลักษณะทางสัทศาสตร์ของการหยุดเป็นสัญญาณสำคัญอย่างหนึ่งในการจัดผลัด โดยจะมีรูปแบบที่แตกต่างกันในการจัดผลัดแต่ละประเภทอย่างเห็นได้ชัด การที่ลักษณะทางสัทศาสตร์ของการหยุดในการจัดผลัดมีค่าซ้อนทับกันทำให้ความแตกต่างของค่าระยะเวลาในการจัดผลัดแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิตินั้น อธิบายได้ว่าในการจัดผลัดประเภทต่างๆ เราไมได้ใช้การหยุดเป็นสัญญาณสำคัญประการเดียว ในการจัดผลัดแต่มีการใช้สัญญาณสำคัญในการจัดผลัดประเภทอื่นที่นอกเหนือจากการหยุด เช่น ทำนองเสียงการเน้นเสียง รูปทางวากยสัมพันธ์ และอากัปกิริยา นอกจากนี้ความแตกต่างของค่าระยะเวลาในการจัดผลัดอาจมีปัจจัยในด้านการสื่อสาร อันได้แก่ บริบทการใช้ภาษาขณะนั้นๆ คือ วัตถุประสงค์ของการสนทนา หัวข้อการ สนทนา และความสัมพันธ์ระหว่างผู้ร่วมสนทนา เช่น บทบาทของผู้ร่วมสนทนา และสถานภาพทางสังคมของผู้ร่วมสนทนา โดยเฉพาะเรื่องความอาวุโส เป็นต้น ซึ่งน่าจะได้มีการศึกษาครั้งต่อไป
Other Abstract: This research attempts to study the relationship between the acoustics characteristics of pauses and their functions in turn management. Four types of turns, classifying from their function in turn management are found, i.e. turn holding, smooth turn switching, non-smooth turn switching, and turn snatching. The data for this study are 4 cases of television interviews. The 4 cases are of 4 different topics and 2 different interview objectives: interview for opinion and interview for facts. The total pause defined units are 2910. Context of participants, i.e., the role of conversation participants and the role of being interviewer and interviewee of participants is taken into account. Duration of pauses in the 4 types of turn management is different. The shortest pause is the pause occurring before the turn snatching and the longest pause is the pause occuring in the non-smooth turn switching. The duration of pause occuring in the turn holding is vary close to the duration of pause occurring in the smooth turn switching. They are longer than the turn-snatching pause and shorter than the non-smooth turn-switching pause. The Analysis of Variance (ANOVA) of the pauses among the 4 types of turn management indicates that the differences found are statistically insignificant. Comparing the duration of pauses in turn management in interviews with 2 different objectives. It is found that in interviewing for opinions the duration of pauses is longer than in interviewing for facts. It is explainable that conversational participants give more time for their partner to think and arrange their opinions before delivering them. Comparing the pause duration in terms of interviewer and interviewee the study reveals that the specific role of participants has a strong influence on the duration of pauses in each type of turn management. The turn-holding, smooth turn switching, and turn-snatching pause of the interviewees are longer than those of the interviewer. The non-smooth turn switching of the interviewer is longer than those of the interviewees, however there is only one case of non-smooth turn switching in the speech of interviewer. The t-test of the differences in the duration of pauses between interviewer and interviewees indicates that in turn-holding the pauses of the interviewees and interviewer are statistically significant but the differences in the duration of pauses in other types of turns are statistically insignificant. The duration of pauses of different types of turns in the interviewer varies, and there is a pattern in terms of the differences. Duration of pauses in non-smooth turn switching is the longest. Pauses in smooth turn switching is shorter than the non-smooth one but longer than the turn holding and the turn snatching pauses accordingly. The duration of pauses in the speech of interviewees varies, and there are 2 types of patterns. In giving opinions, the interviewees have the same type of pattern of differences in the duration of pauses as the interviewer. However, in giving facts the interviewees have a longer duration of turn holding pauses than the smooth turn switching pauses. This research has exhibited that the acoustic characteristic of pauses, i.e., the duration of pauses, is an important signals in turn management. The differences of the duration of pauses in the 4 types of turns clearly have their own patterns. Although the differences found are statistically insignificant due to the overlapping of the values of these duration in the 4 types of turns. It is explainable that pause may not be the only signal used in turn management. There may be some other important cues such as intonation, stress, syntactic cue, and other paralinguistic nonverbal cues used in conversation turn management. It is also suggested that the context of situation of the conversation, i.e., the conversational topic, the objective of the interviews, the relationship between the conversational participants, such as, their role as the interviewer or interviewees, their relative social status, especially, seniority etc., has a strong influence on the variation of the duration of pauses. These aspects are recommended for further research.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ภาษาศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9251
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.1999.237
ISBN: 9743331875
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.1999.237
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Saowalak_Mu_front.pdf872.1 kBAdobe PDFView/Open
Saowalak_Mu_ch1.pdf864.74 kBAdobe PDFView/Open
Saowalak_Mu_ch2.pdf1.16 MBAdobe PDFView/Open
Saowalak_Mu_ch3.pdf1.02 MBAdobe PDFView/Open
Saowalak_Mu_ch4.pdf1.29 MBAdobe PDFView/Open
Saowalak_Mu_ch5.pdf1.52 MBAdobe PDFView/Open
Saowalak_Mu_ch6.pdf1.07 MBAdobe PDFView/Open
Saowalak_Mu_back.pdf2.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.