Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9390
Title: บทบาทของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวในการวางรากฐานทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมไทยในยุคเปลี่ยนผ่าน
Other Titles: The role of King Rama III in laying the groundwork for Siam's economy, society and culture during the transitional period
Authors: บัณฑิต ลิ่วชัยชาญ
Advisors: สุเนตร ชุตินธรานนท์
ธิดา สาระยา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์
Advisor's Email: sunait.c@chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: นั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ, 2330-2394
ไทย -- ประวัติศาสตร์ -- กรุงรัตนโกสินทร์ -- รัชกาลที่ 3
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์นี้มุ่งศึกษาประวัติศาสตร์รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นยุคเปลี่ยนผ่าน หรือยุคหัวเลี้ยวหัวต่อของไทย อันเป็นรอยต่อที่สำคัญของการเผชิญหน้าระหว่างโลกจารีตกับโลกสมัยใหม่แบบตะวันตกที่มาพร้อมกับเทคโนโลยีและแสนยานุภาพทางทหารที่เหนือกว่า โดยศึกษาวิเคราะห์ผ่านบทบาทของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ผลการศึกษาพบว่า สมัยรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์เป็นยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง "เก่า-ใหม่" คือปรับเปลี่ยนจากสังคมแบบจารีตไปสู่สมัยใหม่ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงรับรู้ถึงการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นเป็นอย่างดี นับตั้งแต่การขยายตัวทางการค้าต่างประเทศ การเข้ามาของตะวันตกที่มาพร้อมกับวิทยาการความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และแสนยานุภาพทางทหาร ได้ทรงวางรากฐานทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมไทยเพื่อรับการเปลี่ยนแปลงที่กำลังจะเกิดขึ้นอันเป็นพื้นฐานสำคัญนำพาประเทศให้ก้าวต่อไป การวางรากฐานทางเศรษฐกิจมี ๓ วิธีที่สำคัญคือการวางรากฐานด้านการค้าโดยการส่งเสริมการค้าสำเภาจีนและส่งเสริมการค้ากับตะวันตก การวางรากฐานด้านภาษีอากร โดยนำระบบเจ้าภาษีอากรมาใช้อย่างจริงจังเพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายการค้าเสรีที่ทรงลดจำนวนสินค้าผูกขาดลง และส่งเสริมเศรษฐกิจโดยการตั้งเมืองใหม่ ขุดและลอกคูคลอง ส่วนการวางรากฐานทางสังคมและวัฒนธรรม ทรงวางรากฐานด้านความรู้โดยการสร้างค่านิยมและส่งเสริมการศึกษา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวบรวมชำระและแต่งตำราต่างๆ ขึ้นส่งผลให้สมัยนี้มีการตื่นตัวทางการศึกษา โดยทรงใช้วัดเป็นศูนย์กลางในการศึกษาและเผยแพร่ความรู้ในด้านต่างๆ ดังเช่นวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามที่เป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญของสังคม โดยเฉพาะความรู้ด้านการแพทย์ ซึ่งเป็นความรู้ที่สามารถนำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน และยังเป็นสถานที่เผยแพร่ข้อกำหนดบทบาทและหน้าที่ของคนในสังคมเพื่อจัดระเบียบความสัมพันธ์ทางสังคมอีกด้วย
Other Abstract: The objective of this thesis is to study the economy, society and culture during the reign of King Rama III. This is the period in which Thai society had to deal with new technology and powerful armed forces from the west. This research employs all of the historical documents relating to King Rama III. The result of this study indicates that his reign is a transitional period from the old to the new Siam. King Rama III had realized new changes including the expansion of long distance trade and the coming of westerners who came with new knowledge in sciences as well as the strength of armed forces. He had laid out the groundwork in economics, society and culture in order to contend with these developments. There were three main strategies in the area of economics. These included the encouraging of seafaring trade and trade with the west; taxation by reducing the number of restricted goods; and establishing new towns, digging and dredging canals. In the area of society and culture, he promoted education by collecting and writing new textbooks. He established temples as centres of education in a variety of subject areas. Wat Phrachettupon (Wat Pho), for example, is famous as a centre of learning for treditional medicine and massage. It is also a place for people to learn about their roles and duties in society.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประวัติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9390
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2003.886
ISBN: 9741742444
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2003.886
Type: Thesis
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Bandith.pdf1.16 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.