Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9424
Title: ผลของการฝึกการเห็นคุณค่าในตนเองตามกรอบแนวคิดของซิคโคน ที่มีต่อระดับเชาวน์อารมณ์และพฤติกรรมก้าวร้าวของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
Other Titles: Effects of self-esteem training based on Siccone's conceptual framework upon emotional intelligence level and aggressive behavior of mathayom suksa three students
Authors: รัชนี สุวะมาตย์
Advisors: ทวีวัฒน์ ปิตยานนท์
นงลักษณ์ ประเสริฐ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Subjects: ความนับถือตนเองในวัยรุ่น
ความก้าวร้าวในเยาวชน
ความฉลาดทางอารมณ์
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการฝึกการเห็นคุณค่าในตนเองตามกรอบแนวคิดของซิคโคน ที่มีต่อระดับเชาวน์อารมณ์และพฤติกรรมก้าวร้าวของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มี พฤติกรรมก้าวร้าว กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนโรงเรียนอำนาจเจริญ จำนวน 40 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 คน มีการวัดก่อนและหลังการทดลอง ในระยะทดลอง นักเรียนในกลุ่มทดลองจะได้รับการฝึกการเห็นคุณค่าในตนเองตามกรอบแนวคิดของซิคโคน จำนวน 20 กิจกรรม ส่วนนักเรียนในกลุ่มควบคุมจะไม่ได้รับการจัดกระทำใดๆ จากผู้วิจัย เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลในการวิจัย คือ แบบวัดการเห็นคุณค่าในตนเอง, แบบวัดเชาวน์อารมณ์, และแบบวัดพฤติกรรมก้าวร้าวสำหรับ นักเรียน, เพื่อนและครูประจำชั้น วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติทดสอบที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. หลังการทดลอง นักเรียนในกลุ่มทดลอง มีระดับเชาวน์อารมณ์สูงกว่านักเรียนในกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. หลังการทดลอง นักเรียนในกลุ่มทดลอง มีระดับเชาวน์อารมณ์สูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3. หลังการทดลอง นักเรียนในกลุ่มทดลอง มีคะแนนจากแบบวัดพฤติกรรมก้าวร้าวไม่แตกต่างจากนักเรียนในกลุ่มควบคุม 4. หลังการทดลอง นักเรียนในกลุ่มทดลอง มีคะแนนจากแบบวัดพฤติกรรมก้าวร้าวน้อยกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purposes of this research were to study the effects of Self-Esteem training based on Siccone's conceptual framework upon Emotional Intelligence level and Aggressive Behavior of Mathayom Suksa three students, whose was aggressive. The subjects were 40 Mathayom Suksa three students from Amnatchareon School. They were randomly assigned into an experimental group and control group comprising of 20 activities of Self-Esteem training based on Siccone's conceptual framework conducted by the researcher, whereas the control group did not. The instruments used for data collection in this study were the Self-Esteem Inventory School Form, Emotional Intelligence Questionnaire and Aggressive Behavior Questionnaire. The t-test was utilized for data analysis. The result were as follows : 1. The students in the experimental group had higher scores on Emotional Intelligence on the posttest than in the control group at the .05 level of significance. 2. The posttest scores on Emotional Intelligence of the experimental group was higher than its pretest scores at the .05 level of significance. 3. The posttest scores on Aggressive Behavior of the experimental group were not significantly different from those in the control group. 4. The posttest scores on Aggressive Behavior of the experimental group were lower than its pretest scores at the .05 level of significance.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยาการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9424
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2001.625
ISBN: 9741700156
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2001.625
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
ratchanee.pdf2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.