Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9460
Title: ผลของการเรียนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคแบ่งกลุ่มคละผลสัมฤทธิ์ที่มีต่อการรับรู้ความสามารถของตนเอง และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
Other Titles: Effects of cooperative learning using student teams-achievement divisions technique on self-efficacy and English learning achievement of prathom suksa five students
Authors: วรรณกร หมอยาดี
Advisors: ทวีวัฒน์ ปิตยานนท์
เกษมศักดิ์ ภูมิศรีแก้ว
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Taweewat.p@chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: การทำงานกลุ่มในการศึกษา
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการเรียนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคแบ่งกลุ่มคละผลสัมฤทธิ์ที่มีต่อการรับรู้ความสามารถของตนเองและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอนุบาลสามเสน จำนวน 78 คน สุ่มเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมกลุ่มละ 39 คน กลุ่มทดลองเรียนด้วยวิธีการเรียนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคแบ่งกลุ่มคละผลสัมฤทธิ์ ส่วนกลุ่มควบคุมเรียนด้วยวิธีเรียนแบบปกติ รูปแบบการวิจัยเป็นแบบมีกลุ่มควบคุม มีการทดสอบก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่างทุกคนได้รับการวัดการรับรู้ความสามารถของตนเองและทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษก่อนการทดลองและหลังการทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติทดสอบที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนที่เรียนด้วยวิธีการเรียนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคแบ่งกลุ่มคละผลสัมฤทธิ์มีการรับรู้ความสามารถของตนเองหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2. นักเรียนทีเรียนด้วยวิธีการเรียนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคแบ่งกลุ่มคละผลสัมฤทธิ์มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษหลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. หลังการทดลอง นักเรียนที่เรียนด้วยวิธีการเรียนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคแบ่งกลุ่มคละผลสัมฤทธิ์มีการรับรู้ความสามารถของตนเองสูงกว่านักเรียนที่เรียนด้วยวิธีการเรียนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4. หลังการทดลอง นักเรียนที่เรียนด้วยวิธีการเรียนแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิคแบ่งกลุ่มคละผลสัมฤทธิ์มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษสูงกว่านักเรียนที่เรียนด้วยวิธีการเรียนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
Other Abstract: The purposes of this research were to study the effects of cooperative learning using Student Team-Achievement Divisions (STAD) technique on self-efficacy and English learning achievement of prathom suksa five students. The subjects were 78 prathom suksa five students of Samsen Kindergarten School. They were randomly assigned to an experimental group and a control group, comprising of 39 students in each group. The experimental group studied through STAD and the control group studied through the conventional method. This research employed the pretest-posttest control group design. All subjects were tested their self-efficacy and English learning achievement before and after the treatment. The data were analyzed by t-test. The results were as follows: 1. The students studied through STAD have self-efficacy after the treatment higher than before the treatment at .01 level of significance. 2. The students studied through STAD have English learning achievement after the treatment higher than before the treatment at .01 level of significance. 3. On the posttest, the students studied through STAD have self-efficacy higher than those students studied through the conventional method at .01 level of significance. 4. On the posttest, the students studied through STAD have English learning achievement higher than those students studied through the conventional method at .01 level of significance
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: จิตวิทยาการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9460
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2001.570
ISBN: 9740314384
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2001.570
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wannakorn.pdf3.32 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.