Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9549
Title: การพัฒนาพรหมวิหาร 4 ของนักศึกษาวิชาชีพครู สังกัดสถาบันราชภัฏ ตามแนวพุทธร่วมกับการเรียนรู้ด้วยตนเอง
Other Titles: A development of the four divine states of teacher students in Rajabhat Institute based on Buddhist training and self-directed learning
Authors: มารศรี กลางประพันธ์
Advisors: ทวีวัฒน์ ปิตยานนท์
อำไพ สุจริตกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Taweewat.p@chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
Subjects: จริยธรรม
พรหมวิหาร 4
สมาธิ
การเรียนรู้ด้วยการนำตนเอง
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: พัฒนาพรหมวิหาร 4 ของนักศึกษาวิชาชีพครู ตามแนวพุทธร่วมกับการเรียนรู้ด้วยตนเอง โดยการสร้างแบบฝึกอบรมพรหมวิหาร 4 และศึกษาผลของการฝึกอบรม ซึ่งมีขั้นตอนคือ 1) ศึกษาค้นคว้าเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับคุณธรรมและจริยธรรมด้านพรหมวิหาร 4 การพัฒนามนุษย์ตามแนวพุทธและการเรียนรู้ด้วยตนเอง แล้วนำมาสร้างกรอบแนวคิดและขั้นตอนในการพัฒนาพรหมวิหาร 4 2) นำกรอบแนวคิดและขั้นตอนในข้อ 1 ไปสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิทางพุทธศาสนา จำนวน 11 ท่าน เกี่ยวกับแนวทางในการพัฒนาพรหมวิหาร 4 ตลอดจนแนวทางในการสร้างแบบวัดพรหมวิหาร 4 3) พัฒนาแบบวัดพรหมวิหาร 4 และแบบสังเกตเพื่อประเมินพฤติกรรมของการมีพรหมวิหาร 4 แล้วจึงนำไปทดลองใช้กับนักศึกษาวิชาชีพครู 4) พัฒนาแบบฝึกอบรมพรหมวิหาร 4 ตามคำแนะนำของผู้ทรงคุณวุฒิทางพุทธศาสนา โดยประกอบด้วย 8 กิจกรรม คือ 4.1) กิจกรรมการสร้างศรัทธา 4.2) กิจกรรมการเรียนรู้และการฝึกคิดแบบโยนิโสมนสิการ 4.3) กิจกรรมการเรียนรู้และการฝึกรักษาศีล ฝึกสติ สมาธิและศึกษาเอกสารเกี่ยวกับพรหมวิหาร 4 รวมทั้งคุณธรรมที่เกี่ยวข้องด้วย 4.4) กิจกรรมการเรียนรู้ด้วยตนเอง 4.5)กิจกรรมการเรียนรู้เกี่ยวกับโทษของความโกรธและอานิสงส์ของความเมตตากรุณา และการฝึกพัฒนาคุณธรรมด้านเมตตากรุณา 4.6) กิจกรรมการเรียนรู้และการฝึกพัฒนาคุณธรรมด้านมุทิตา 4.7) กิจกรรมการเรียนรู้และการฝึกพัฒนาคุณธรรมด้านอุเบกขา 4.8) กิจกรรมการเข้าค่ายพัฒนาคุณธรรมพรหมวิหาร 4 แบบเข้มต่อเนื่อง 7 คืน 8 วัน และ 5) นำแบบฝึกอบรมพรหมวิหาร 4 ไปทดลองใช้กับนักศึกษาวิชาชีพครู เป็นเวลาประมาณ 2 เดือน 7 วัน ผลการวิจัยพบว่า 1. นักศึกษาวิชาชีพครูที่ได้รับการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาพรหมวิหาร 4 ตามแนวพุทธร่วมกับการเรียนรู้ด้วยตนเอง มีคะแนนการพัฒนาพรหมวิหาร 4 โดยรวมทุกด้านสูงกว่านักศึกษาวิชาชีพครู ที่ไม่ได้รับการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาพรหมวิหาร 4 ตามแนวพุทธร่วมกับการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. นักศึกษาวิชาชีพครูที่ได้รับการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาพรหมวิหาร 4 ตามแนวพุทธร่วมกับการเรียนรู้ด้วยตนเอง มีคะแนนการพัฒนาพรหมวิหาร 4 ในส่วนย่อยแต่ละด้านคือ ด้านความเมตตา กรุณา มุทิตาและอุเบกขา สูงกว่านักศึกษาวิชาชีพครูที่ไม่ได้รับการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาพรหมวิหาร 4 ตามแนวพุทธร่วมกับการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2.นักศึกษาวิชาชีพครูที่ได้รับการฝึกอบรมพัฒนาพรหมวิหาร 4 ตามแนวพุทธร่วมกับการเรียนรู้ด้วยตนเองมีคะแนนการพัฒนาพรหมวิหาร 4 ในส่วนย่อยแต่ละด้าน คือ ด้านเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา สูงกว่านัก ศึกษาวิชาชีพครูที่ได้รับการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาพรหมวิหาร 4 ตามแนวพุทธร่วมกับการเรียนรู้ด้วยตนเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3.ตัวแปรผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสะสม (GPA) และดัวแปรวิธีฝึกอบรมไม่มีปฏิสัมพันธ์ทำให้คะแนนพรหมวิหาร 4 โดยรวมทุกด้านและโดยส่วนย่อยแต่ละด้านคือด้านมุทิตา และด้านอุเบกขาของนักศึกษาวิชาชีพครูแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่ตัวแปรอิสระทั้ง 2 ตัวแปร (GPA และวิธีการฝึกอบรม)นั้นมีปฏิสัมพันธ์ทำให้คะแนนด้านความเมตตาและกรุณา มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. นักศึกษาวิชาชีพครูที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสะสม (GPA) สูง ปานกลาง และต่ำ เมื่อได้รับการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาพรหมวิหาร 4 แล้วมีคะแนนการพัฒนาพรหมวิหาร 4 โดยรวมทุกด้านและโดยส่วนย่อยแต่ละด้านไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: To development the ways and the steps to learn and practice about the Four Divine States (Brahmavihara) for the teacher students in Rajabhat Institute based on Buddhist training and self-directed learning and to study the effect of those methods. This study had five steps as follows 1) Studying about the documentaries and the research papers in psychology theories and principles of Buddha Dhammas to construct the steps of learning and practicing the virtue of Brahmavihara and the other Buddha Dhammas on Brahmavihara. 2) Interviewing and consulting 11 experts who were monks and lay men to confirm the processes employed can develop the teacher students' Brahamavihara and to construct the Brahmavihara test and observation technique. 3) Developing the Brahmavihara test and the list of Brahmavihara behavior to be observed. 4) Constructing the steps and methods to develop the teacher students' Brahmavihara that consisted of eight activities which were as follows 4.1) The confidence and belief in the value of Brahmavihara activities. 4.2) Yonisomanasikara (Buddhist thinking styles) activities. 4.3) The activities of the virtue having livelihood as eight (Ajivatthamaka sila), mindfulness, meditation, Brahmavihara and Dhammas which concern with Brahmavihara. 4.4) Self-directed learning activities. 4.5) Angry disadvantages and loving-kindness advantages and compassion activities. 4.6) Sympathetic joy activities. 4.7) Equanimity activities. 4.8) Continuous Brahmavihara camping activities (about 7-8 days). 5) Applying these activities to develop the teacher students' Brahamavihara about 2 months and seven days. The major findings of research can be concluded as follows 1. The teacher students who received practice based on Buddhist training as well as self-directed learning have scores of Brahmavihara test (as a whole) more than the control group of teacher students who did not receive practice in those activities at the .05 significant level. 2. The teacher students who received practice based on Buddhist training as well as self-directed learning have scores of Brahmavihara test in the subset on virtue of Brahmavihara such as loving kindness, compassion, sympathetic joy, and equanimity more than the control group who did not receive practice in those activities at the .05 significant level. 3 The interaction effects between the grade point average (high, middle, and low) and training methods on the scores of teacher students' Brahmavihara (as a whole) and the subset on virtue of Brahmavihara in sympathetic joy and equanimity part were not significant at level of .05, but those interaction effects on teacher students' virtue of loving kindness and compassion were significant at level of .05. 4. The scores on Brahmavihara of teacher students in the experimental group who have grade point average at high, middle and low levels after receciving the treament were not significant at level of .05.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: จิตวิทยาการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9549
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2003.489
ISBN: 9741758537
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2003.489
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Marasri.pdf9.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.