Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9595
Title: การตัดสินใจแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย
Other Titles: Decision making on problem solving of preschool children
Authors: อรชา วราวิทย์
Advisors: พูนสุข บุณย์สวัสดิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: การแก้ปัญหา
จิตวิทยาเด็ก
เด็กวัยก่อนเข้าเรียน
พัฒนาการของเด็ก -- ไทย
Issue Date: 2526
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบลักษณะการตัดสินใจแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัยที่มีอายุ 4-6 ปี และเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะการตัดสินใจแก้ปัญหาแต่ละสถานการณ์ของเด็กปฐมวัยกับอายุ เพศ อาชีพของผู้ปกครอง รายได้และการศึกษาของผู้ปกครอง ตัวอย่างประชากรในการวิจัยเรื่องนี้ เป็นเด็กปฐมวันที่มีอายุ 4-6 ปี จำนวน 66 คน เป็นชาย 34 คน และหญิง 32 คน จากโรงเรียนอนุบาลและศูนย์เด็กปฐมวัย 6 แห่งในกรุงเทพมหานคร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถามผู้ปกครองเกี่ยวกับภูมิหลังของครอบครัว และแบบทดสอบการตัดสินใจแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย ประกอบด้วยภาพขนาด 5x9 นิ้ว จำนวน 30 ภาพ และสถานการณ์ที่เป็นปัญหาของตนเองและปัญหาของผู้อื่น จำนวน 30 คำถาม ดำเนินการทดสอบโดยให้เด็กแต่ละคนดูภาพทีละภาพและตอบคำถามจากสถานการณ์ในภาพนั้น ผู้วิจัยจดบันทึกคำตอบในตารางบันทึกและใช้เทปบันทึกเสียงประกอบ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการทางสถิติ 2 วิธีคือ วิเคราะห์ลักษณะการตัดสินใจแก้ปัญหาของเด็กปฐมวัย โดยใช้วิธีวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-way Analysis of Variance) และวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างการตัดสินใจแก้ปัญหาแต่ละสถานการณ์ของเด็กปฐมวัยกับอายุ เพศ อาชีพของผู้ปกครอง รายได้และการศึกษาของผู้ปกครอง โดยใช้แบบทดสอบไคสแควร์ (Chi-square test) และสัมประสิทธิ์เครเมอร์สวี (Cramer's V Coefficient) ซึ่งการวิเคราะห์ข้อมูลทั้งหมดนี้ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ SPSS (Statistical Package for Socilal Sciences) ช่วยในการคำนวณ ผลการวิจัยพบว่า : 1. เด็กปฐมวัยส่วนใหญ่ตัดสินใจแก้ปัญหาด้วยตนองที่เป็นไปได้และเหมาะสมและแก้ปัญหาโดยให้ผู้อื่นช่วยที่เป็นไปได้และเหมาะสม 2. เด็กที่มีอายุมาก ตัดสินใจแก้ปัญหาด้วยตนเองที่เป็นไปได้และเหมาะสม ส่วนเด็กที่มีอายุน้อยตัดสินใจแก้ปัญหาโดยให้ผู้อื่นช่วยที่เป็นไปได้และเหมาะสม 3. เด็กที่ผู้ปกครองมีรายได้และการศึกษาต่ำ ตัดสินใจแก้ปัญหาด้วยตนเองที่เป็นไปได้แต่ไม่เหมาะสม ส่วนเด็กที่ผู้ปกครองมีรายได้และการศึกษาสูง ตัดสินใจแก้ปัญหา โดยให้ผู้อื่นช่วยที่เป็นไปได้และเหมาะสม 4. เด็กปฐมวัยที่มีเพศต่างกัน ตัดสินใจแก้ปัญหาไม่แตกต่างกัน 5. ลักษณะการตัดสินใจแก้ปัญหาแต่ละสถานการณ์ของเด็กปฐมวัยสัมพันธ์มากที่สุดกับรายได้ของผู้ปกครอง สัมพันธ์รองลงมากับการศึกษาและอาชีพของผู้ปกครอง ส่วนอายุและเพศ มีความสัมพันธ์น้อยที่สุด และขนาดของความสัมพันธ์อยู่ในระดับปานกลาง ถึงค่อนข้างต่ำ
Other Abstract: This research had two obtectives in this study. The first one was to compare the decision making about solutions of solving problem of pro school children 4-6 years of age. The later one was to examine the relationship between the decision making and age, sex, parent's occupation, family income and parent's education. The sample consisted of 34 boys and 32 girls aged between 4-6 years old from 3 kindergartens and 3 child care centers in Bangkok Metropolis. The instrument used in this research was devided into 2 parts; (1) The questionnaire asking the parents about family background and (2) the test to study children's decision about choosing a solution for certain problem. The test composed of 30 pictures in 30 situations which were both their own problems and problems of others. A child was instructed to project himself into the situation in picture and he answered the question rerated to each situation. Answers were recorded by written notes and a tape recorder. Then, the data were analysed by one way analysis of variance and the Chi-square test procedures. Also, the Cramer's V coefficient was employed as the measure of associations. The compution was done through the use of Statistical Package for Social Sciences (SPSS) program. Results: 1. Pre school children decided to solve problems by themselves with the possible and suitable solution and by being help people with the possible and suitable solution. 2. Older children decided to solve problems by themselves with the possible and suitable solution and the younger children decided to be helped in the possible and suitable solution. 3. Children of low income and low education parents decided to solve problems by themselves with the possible but unsuitable solution. Children while of high income and high education parents decided to be helped in the possible and suitable solution. 4. Boys and girls were not diffirent in making decision to solve the problems. 5. Decision making on problem solving of pre school children in each situation had the highest relationship with the family income. Lower relationship with education and occupation of the parents and the lowest relationship with age and sex of the children. However, the magnitudes of the relationship ranged from medium to low.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2526
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประถมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9595
ISBN: 9745625523
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Oracha.pdf32.03 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.