dc.contributor.advisor |
ยุพิน พิพิธกุล |
|
dc.contributor.author |
พิจารณา พิเศษศิลป์ |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
|
dc.date.accessioned |
2012-07-15T11:09:19Z |
|
dc.date.available |
2012-07-15T11:09:19Z |
|
dc.date.issued |
2530 |
|
dc.identifier.isbn |
9745676276 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/20911 |
|
dc.description |
วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2530 |
en |
dc.description.abstract |
วัตถุประสงค์ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนซ่อมเสริมวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำระหว่างกลุ่มที่โรงเรียนโดยใช้ชุดการเรียนการสอนรายบุคคล กับ กลุ่มที่เรียนจากเพื่อน วิธีดำเนินการวิจัย ตัวอย่างประชากร เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนแวนต์จำนวน 2 กลุ่ม กลุ่มที่หนึ่งเป็นกลุ่มทดลองที่สอนซ่อมเสริมโดยเพื่อน กลุ่มที่สองเป็นกลุ่มควบคุมที่เรียนโดยใช้ชุดการเรียนการสอนรายบุคคล แต่ละกลุ่มมีนักเรียนจำนวน 30 คน ทดสอบภาวะความแปรปรวนโดยใช้การทดสอบค่าเอฟ (F-test) และทดสอบค่าที (t-test) ของผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ (ค 013) ของทั้งสองกลุ่มพบว่าไม่แตกต่างกันที่ระดับความมีนัยสำคัญ 0.05 แสดงว่าพื้นฐานทางการเรียนคณิตศาสตร์ของทั้งสองกลุ่มไม่แตกต่างกัน ผู้วิจัยสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ซึ่งประกอบด้วยชุดการเรียนการสอนรายบุคคลเรื่อง “จำนวนเชิงซ้อน” กับ “ลำดับและอนุกรม” ซึ่งมีประสิทธิภาพ 89.06/85.77 และ 87.41/90.00 ตามลำดับ และอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่ตั้งไว้เอกสารแนะแนวทาง เรื่อง “จำนวนเชิงซ้อน” กับ “ลำดับและอนุกรม” ซึ่งเป็นฉบับเดียวกันกับบัตรกิจกรรมและบัตรแบบฝึกหัดของชุดการเรียนการสอนรายบุคคลและแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การเรียนซ่อมเสริมวิชาคณิตศาสตร์ (ค 014) เรื่อง “จำนวนเชิงซ้อน” กับ “ลำดับและอนุกรม” ได้ค่าความเที่ยง 0.97 และ 0.95 ตามลำดับ ผู้วิจัยนำชุดการเรียนการสอนรายบุคคลและเอกสารแนะแนวทางไปใช้กับกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ทั้งสองกลุ่มเรียนซ่อมเสริมสัปดาห์ละ 1 คาบรวมทั้งหมด 12 คาบ หลังจากที่กลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมเรียนซ่อมเสริมจบในแต่ละเรื่องแล้ว ให้นักเรียนทั้งสองกลุ่มทำแบบสอบวัดผลสัมฤทธิ์การเรียนซ่อมเสริมวิชาคณิตศาสตร์ และนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ค่ามัชฌิมาเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที ผลการวิจัย ผลสัมฤทธิ์การเรียนซ่อมเสริมวิชาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำของกลุ่มที่เรียนจากเพื่อน สูงกว่ากลุ่มที่เรียนโดยใช้ชุดการเรียนการสอนรายบุคคลอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ |
|
dc.description.abstractalternative |
Purpose The purpose of this research was to compare remedial mathematics learning achievement of mathayom suksa five low achievers between the groups learned by using individualized instructional packages and peer tutoring. Procedures The sample were two groups of mathayom suksa five students of St. Joseph Convent School. The group learned by peer tutoring was the experimental group. The group learned by using individualized instructional packages was the controlled group. Each group consisted of 30 students. The mathematics learning achievements ( M 013 ) of both groups was tested by using F - test and t - test. It revealed that the mathematics learning background of both groups was not different. The research instruments constructed were as follows: the individualized instructional packages on " Complex Number " and " Sequence and Series "with the efficiencies 89.06 / 85.77 and 87.41 / 90.00 respectively and were in 80 / 80 of given efficient standard; the guide sheets on " Complex Number " and " Sequence and Series " which were the same as activity cards and exercise cards of the individualized instructional packages and the remedial mathematics learning achievement test on " Complex Number " and " Sequence and Series " which had the reliabilities 0.97 and 0.95 respectively. The individualized instructional packages and the guide sheets were administered to the experimental group and the controlled group respectively. Each group studied twelve periods, one period a week. After the experimental group and the controlled group studied each topic, the remedial mathematics achievement tests ( M 014 ) were administered to both groups. The data were analyzed by means of arithmatic mean, standard deviation and t-test. Result The remedial mathematics learning achievement of mathayom suksa five low achievers of the group learned by peer tutoring was higher than the group learned by using individualized instructional packages at the 0.05 level of significance which retained the hypothesis. |
|
dc.format.extent |
354627 bytes |
|
dc.format.extent |
395074 bytes |
|
dc.format.extent |
1005950 bytes |
|
dc.format.extent |
387227 bytes |
|
dc.format.extent |
263312 bytes |
|
dc.format.extent |
293074 bytes |
|
dc.format.extent |
2819451 bytes |
|
dc.format.mimetype |
application/pdf |
|
dc.format.mimetype |
application/pdf |
|
dc.format.mimetype |
application/pdf |
|
dc.format.mimetype |
application/pdf |
|
dc.format.mimetype |
application/pdf |
|
dc.format.mimetype |
application/pdf |
|
dc.format.mimetype |
application/pdf |
|
dc.language.iso |
th |
es |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
|
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.subject |
คณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) |
en |
dc.subject |
การสอนซ่อมเสริม |
en |
dc.subject |
ผลสัมทฤธิ์ทางการเรียน |
en |
dc.title |
การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การเรียนซ่อมเสริมวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ ระหว่างกลุ่มที่เรียนโดยใช้ชุดการเรียนการสอนรายบุคคล กับกลุ่มที่เรียนจากเพื่อน |
en |
dc.title.alternative |
A comparison of remedial mathematics learning achievement of mathayom suksa five low achievers between the groups learned by using individualized instructional |
en |
dc.type |
Thesis |
es |
dc.degree.name |
ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
es |
dc.degree.level |
ปริญญาโท |
es |
dc.degree.discipline |
มัธยมศึกษา |
es |
dc.degree.grantor |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.email.advisor |
ไมีมีข้อมูล |
|