Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11684
Title: | การศึกษาการปฏิบัติงานของศึกษานิเทศก์ สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอ/กิ่งอำเภอ ตามเกณฑ์มาตรฐานศึกษานิเทศก์ของกระทรวงศึกษาธิการ |
Other Titles: | A study of task performance of supervisors of the district/sub-district primary education offices according to the supervisors' standard criteria of the Ministry of Education |
Authors: | ชลธิชา รอดผล |
Advisors: | วไลรัตน์ บุญสวัสดิ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | ศึกษานิเทศก์ การนิเทศการศึกษา |
Issue Date: | 2542 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษาสภาพและปัญหาการปฏิบัติงานของศึกษานิเทศก์ สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอ/กิ่งอำเภอ ตามเกณฑ์มาตรฐานศึกษานิเทศก์ของกระทรวงศึกษาธิการ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ศึกษานิเทศก์ สำนักงานการประถมศึกษาอำเภอ/กิ่งอำเภอ จำนวน 338 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า เกณฑ์มาตรฐานที่ 1 คือ การเข้าร่วมเป็นสมาชิกกิจกรรมขององค์กรที่ส่งเสริมการนิเทศการศึกษา การศึกษาค้นคว้ารวบรวมเทคนิควิธีการสื่อเครื่องมือนิเทศ การให้คำปรึกษา แนะนำ สาธิต เกี่ยวกับการนิเทศแก่โรงเรียน กลุ่มโรงเรียน การศึกษาค้นคว้าการวิจัยของบุคคลอื่นหรือหน่วยงานอื่น และการนำผลการวิจัยไปใช้ในการนิเทศ ปัญหาคือ องค์กรที่ส่งเสริมการนิเทศการศึกษาไม่ได้จัดกิจกรรมเพื่อช่วยเหลือแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกันอย่างจริงจัง ขาดแหล่งศึกษาค้นคว้าขาดความรู้การวิจัย งานที่ได้รับมอบหมายมากทำให้การปฏิบัติงานไม่ทั่วถึงและต่อเนื่อง เกณฑ์มาตรฐานที่ 2 คือ การศึกษาข้อมูลพื้นฐานเพื่อทราบสภาพปัจจุบันปัญหา ความต้องการของผู้รับการนิเทศ และกิจกรรมการนิเทศต้องสัมพันธ์กับความต้องการของผู้รับการนิเทศ ปัญหาคือ ขาดงบประมาณสนับสนุนการดำเนินงาน เกณฑ์มาตรฐานที่ 3 คือ ศึกษาปัญหาการจัดการเรียนการสอนร่วมกัน เลือกวิธีที่เหมาะสมกับผู้รับการนิเทศ และส่งเสริมกระตุ้นให้ผู้รับการนิเทศประเมินวิธีทำงานของตนเอง ปัญหาที่ส่วนใหญ่ระบุคือ ขาดงบประมาณสนับสนุนการดำเนินงาน เกณฑ์มาตรฐานที่ 4 คือ ศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหา ความต้องการของผู้รับการนิเทศในภาพรวม-เป็นรายกลุ่ม และพัฒนาแผนให้สอดคล้องกับนโยบายแนวปฏิบัติการนิเทศการศึกษาของ สปช. และ สปจ. ปัญหาคือ ขาดการควบคุมกำกับและติดตามผลการดำเนินงาน เกณฑ์มาตรฐานที่ 5 ที่ส่วนใหญ่ปฏิบัติคือ เลือกสื่อเครื่องมือเทคนิควิธีการให้เหมาะสมกับกิจกรรมการนิเทศ และให้ผู้รับการนิเทศมีส่วนร่วมในการคิดค้น ผลิต ตัดสินใจใช้และพัฒนาสื่อ เครื่องมือ เทคนิค วิธีการในการนิเทศให้ดียิ่งขึ้นอยู่เสมอ ปัญหาที่คือ ครู ไม่เห็นความสำคัญของสื่อเครื่องมือนิเทศ เกณฑ์มาตรฐานที่ 6 ที่ส่วนใหญ่ปฏิบัติคือ ศึกษาสภาพปัจจุบันปัญหาความต้องการของผู้รับการนิเทศ วิเคราะห์นโยบาย เป้าหมาย และจุดเน้นของ สปช. สปจ. สปอ. ส่งเสริมให้ครู ผู้บริหาร นำกิจกรรมการนิเทศการศึกษาใหม่ๆ มาใช้ในโรงเรียน และส่งเสริม สนับสนุนให้ผู้รับการนิเทศแต่ละคนปรับปรุงพัฒนาศักยภาพของตนเองด้านการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง ปัญหาที่ส่วนใหญ่ระบุคือ ขาดงบประมาณสนับสนุนการดำเนินงาน เกณฑ์มาตรฐานที่ 7 ที่ส่วนใหญ่ปฏิบัติคือ รวบรวม วิเคราะห์ นำเสนอข้อมูลสภาพปัญหาความต้องการ เป้าหมายของการพัฒนา ทั้งในภาพรวม - จำแนกเป็นรายบุคคล รายงานผลด้านนโยบาย เป้าหมาย และการดำเนินการแก้ไขโดยสรุป ปัญหาที่ส่วนใหญ่ระบุคือ ผู้บริหาร บุคคลที่เกี่ยวข้องไม่ได้นำผลจากการประเมินและการรายงานผลไปปรับปรุงการดำเนินงานของหน่วยงานอย่างจริงจัง เกณฑ์มาตรฐานที่ 8 ที่ส่วนใหญ่ปฏิบัติคือ แต่งกายสุภาพเรียบร้อยเหมาะสมกับกาลเทศะ ให้คำแนะนำอย่างสร้างสรรค์ และชมเชยให้กำลังใจผู้รับการนิเทศที่ปฏิบัติงานเป็นแบบอย่างที่ดี ปัญหาที่ส่วนใหญ่ระบุคือ บางครั้งงานที่ได้รับมอบหมายมากทำให้การปฏิบัติงานในหน้าที่ไม่ดีเท่าที่ควร เกณฑ์มาตรฐานที่ 9 ที่ส่วนใหญ่ปฏิบัติคือ ศึกษางานที่ได้รับมอบหมาย วางแผนการปรับปรุงงานร่วมกัน และยอมรับในความรู้ความสามารถ ตลอดจนรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ปัญหาที่ส่วนน้อยระบุคือ ผู้รับการนิเทศไม่ยอมรับเทคนิควิธีแนวคิดใหม่ๆ แม้จะเห็นดีเห็นชอบแต่ก็ยังไม่ยอมรับไปปฏิบัติ คงทำตามที่เคยทำมาก่อนเพราะสะดวกดี เกณฑ์มาตรฐานที่ 10 ที่ส่วนใหญ่คือ การรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับท้องถิ่นที่เป็นปัจจุบัน การประสานงานรวบรวมข้อมูล ข่าวสาร และจัดทำแฟ้มข้อมูลให้บริการแก่ผู้ร่วมงาน หน่วยงานชุมชน ปัญหาที่ส่วนใหญ่ระบุคือ โรงเรียนและกลุ่มโรงเรียนส่งข้อมูลล่าช้า เกณฑ์มาตรฐานที่ 11 ที่ส่วนใหญ่ปฏิบัติคือ มีความมุ่งมั่นตั้งใจจริงในการทำงาน ผู้นิเทศและผู้รับการนิเทศร่วมคิด ปฏิบัติ ประเมินปรับปรุงงานร่วมกัน และส่งเสริมให้ผู้รับการนิเทศคิด ตัดสินใจ เลือกกิจกรรมการพัฒนาด้วยตนเอง ปัญหาที่ระบุคือ ขาดกระบวนการวางแผนยุทธศาสตร์ในการปฏิบัติงาน ขาดเครื่องมือที่หลากหลายและมีประสิทธิภาพ เกณฑ์มาตรฐานที่ 12 ที่ส่วนใหญ่ปฏิบัติคือ รวบรวมข้อมูลสภาพความต้องการจำเป็น คำนึงถึงความเป็นไปได้ของแผนดำเนินงาน และตัดสินใจปฏิบัติ ปรับเปลี่ยนวิธีการให้เกิดการพัฒนาผู้รับการนิเทศ องค์กรวิชาชีพ ปัญหาที่ระบุคือ ขาดความรู้ในการวิจัย |
Other Abstract: | Studies the condition of the supervisor's performance and its problems at the district/sub-district primary education office accordingly to the supervisor's criteria, Ministry of Education. The samples conducted are 338 supervisors of the district and sub-district primary education office. The tools of the research are questionnaires, data analysis in term of percentage. The findings are: The first criteria: The supervisors mostly tend to participate as a member in an organization which aims at promoting the supervisory activities, studying and collecting all techniques of supervision, giving counselling to schools, applying the research work. The problems found are that these organizations do not have the activities to help them exchange their views and experiences to one another. They still have no access to the resources of knowledge, lack research skills, and have too much assignments to cover. The second criteria : To study the basic problems of the supervision, the needs of the schools supervised and their relevant activities. The problem is no budget to support. The third criteria to study the co-teaching, methods of teaching that appropriate to the schools supervised, and stimulating techniques of self performance evaluation. The problem found is no budget to support. The fourth criteria : to study the current needs and problems of the schools in groups and in the overall view so as to develop their plans accordingly to the Office of the National Primary Education Commission' superisory guidelines. The problem is no follow-up and control program. The fifth criteria. To study the tools and techniques that fit their supervisory activities, and also to encourage the schools' participation in making decision, inventing and developing these tools and techniques. The problem found is that the teachers do not signify them. The sixth criteria to study the current situation and the school's needs, analyze the Office of the National Primary Education Commission's policy & objectives. They encourage the teachers and their administrators to adopt new supervisory techniques in school, and to develop their own capacity continuously. The problem is no budget to support. The seventh criteria : To analyze, collect and present the data of the current issues about the needs, the objectives of development in the overall view, and individually. They also tend to do the report of the policy, the objectives and the corrective plans in coclusion. The problem is that the administrators and other personnel concerned do not make use of these findings to improve their work. The eighth criteria : To be well turn out, give constructive suggestions and honor the teachers who are good. The problem is too much assignment to carry the job at a satisfactory level. The ninth criteria : To study their work assigned, be willing to plan and make any improvement with others, and open their mind for the others. The minor problem is that the teachers find it is easier to behave the same old way; they hardly adopt any new techniques though they agree with them. The tenth criteria: To coordinate and collect information about their locality to serve the community. The problem is the school's lateness in sending the data. The eleventh criteria: To be dedicated to their work. The supervisors and the schools are cooperative in planning, selecting activities of self-improvement. The problem is that they lack working strategies, tools, and procedure planning. The twelfth criteria: To be conscious of the possibility of the plan application, and select to collect the data in need. They modify the method to increase the school's potentiality. The problem is that they lack research skills. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิเทศการศึกษาและพัฒนาหลักสูตร |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11684 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.1999.462 |
ISBN: | 9743340874 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.1999.462 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Cholticha_Ro_front.pdf | 778.32 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Cholticha_Ro_ch1.pdf | 753.43 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Cholticha_Ro_ch2.pdf | 1.6 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Cholticha_Ro_ch3.pdf | 706.85 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Cholticha_Ro_ch4.pdf | 1.32 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Cholticha_Ro_ch5.pdf | 1 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Cholticha_Ro_back.pdf | 1.08 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.