Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11969
Title: การพัฒนารูปแบบศูนย์วิทยบริการของศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอในภาคเหนือตอนบน
Other Titles: A development of model for learning resource center of district non-formal education service centers in the upper northern region
Authors: ดวงสุดา แสงสุดา
Advisors: เชาวเลิศ เลิศชโลฬาร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Chawalert.L@chula.ac.th
Subjects: ศูนย์วิทยบริการ
การศึกษานอกระบบโรงเรียน
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพ ปัญหา และความต้องการของห้องสมุดประชาชนอำเภอในภาคเหนือตอนบน เพื่อพัฒนารูปแบบศูนย์วิทยบริการสำหรับศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอในภาคเหนือ ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบศูนย์วิทยบริการของศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนในภาคเหนือตอบบนควรมีลักษณะดังนี้ 1. การจัดโครงสร้างองค์กร ควรจัดเป็น 3 กลุ่มงาน ดังนี้ งานบริหาร งานบริการ และงานเทคนิค หน่วยงานบริหารประกอบด้วย หน่วยงานกำหนดนโยบาย หน่วยงานบริหารบุคลากร หน่วยงานจัดทำสถิติ หน่วยงานธุรการ การเงิน และหน่วยงานสถานที่ งานบริการประกอบด้วย หน่วยงานยืม-คืน ภายในและระหว่างศูนย์ หน่วยงานบริการชุมชน หน่วยงานบริการสำเนาสื่อหน่วยงานกิจกรรม หน่วยงานบริการแนะนำการใช้ศูนย์ และบริการโสตทัศนวัสดุ และงานเทคนิค ประกอบด้วยหน่วยงานจัดหาและเตรียมสื่อ หน่วยงานบำรุงรักษา หน่วยงานวิเคราะห์ ลงรายการ เพื่อสร้างฐานข้อมูล 2. การวางผังและจัดสถานที่ของศูนย์วิทยบริการควรจัดให้มีพื้นที่ยืม-คืน ตรวจเช็ค ซ่อมบำรุง เก็บสื่อ พื้นที่สำหรับทำงานของบุคลากร พื้นที่สำหรับศึกษาสื่อโสตทัศน์ มุมวารสาร มุมเด็ก และพื้นที่บริการสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต พื้นที่จัดแสดงศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น 3. การบริการ ควรเปิดให้บริการตั้งแต่วันจันทร์ถึงวันอาทิตย์เวลา 8.30 น. ถึง 20.00 น. และบริการยืม-คืน หนังสือทั้งภายในและระหว่างศูนย์บริการ บริการใช้สื่อการศึกษาที่ทันสมัย บริการการค้นหาข้อมูลทางอินเทอร์เนต บริการให้คำแนะนำใช้ศูนย์ บริการรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษา เปิดเทปวิดีทัศน์ บริการห้องสมุดเสียง เป็นสถานที่ค้นคว้าเรียนรู้และเป็นศูนย์กลางเทคโนโลยีสารสนเทศ บริการฝึกอบรม จัดประชาสัมพันธ์สื่อที่ทันสมัยโดยร่วมกับองค์กรต่างๆ และใช้หอกระจายข่าว 4. การจัดกิจกรรมภายในศูนย์ ควรจัดแสดงนิทรรศการความรู้ ข่าวสาร วันสำคัญต่างๆ จัดมุมศิลปวัฒนธรรม ศาสนาและวรรณกรรม สังคม เศรษฐกิจ การเมือง และแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวของชุมชน แนะนำหนังสือใหม่ จัดกิจกรรมร่วมมือกับสถาบันและองค์กรต่างๆ จัดกิจกรรมส่งเสริมการค้นหาข้อมูลโดยผ่านสื่อ จัดอบรมครูนักเรียนเกี่ยวกับสื่อที่ทันสมัย เช่น การใช้อินเทอร์เนต จัดฉายวิดีทัศน์เพื่อเสริมความรู้ 5. งบประมาณในด้านแหล่งที่มา ศูนย์วิทยบริการควรได้รับประมาณจากรัฐบาลอย่างเพียงพอ และควรได้รับงบประมาณสนับสนุนจากองค์กรเอกชนและผู้มีจิตศรัทธา 6. การจัดประเภทสื่อ ควรจัดให้มีสื่อตีพิมพ์และไม่ตีพิมพ์
Other Abstract: The purpose of this research was to the development of model for learning resource center for district non-formal education service centers in the upper northern region. The findings could be summarized as the followings: 1. The organization structure of the center should be divided into 3 departments; administrative, services, and technical departments. Administrative department should include strategic planning, human resources, statistic, financial, general affairs, and building. Services department should include circulation, learning resource center inter-loan, community services, media duplication, center activities, center orientation services, and audio-visual materials services. Technical department should include media acquisition and preparation, media maintenance, cataloging, and database management. 2. The lay out of center should cover areas for circulation, checking, maintenance storage, staff working area, individual study, periodicals and children corners. Internet information searching and exhibition for local wisdom. 3. The center should open at 8:30 a.m. to 8:00 p.m., Monday to Sunday. The services should include circulation, learning resource center inter-loan, modern media services, Internet, center orientation services, education television and video services, book on tape, center for searching, and information technology, training, community announcer, and public relations media coordinated to other organization. 4. Activities in the center should include display corner for news, important days, art and culture, religion, literature, social, economic, politics and community tourism, new publication, activities coordinated with other educational institutions, searching information, training for teachers and students on high technology. 5. Budged should receive from the government sufficiently, and support from external organizations and community. 6. The center should acquire media include printed and non-printed materials.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: โสตทัศนศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11969
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.1999.421
ISBN: 9743349103
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.1999.421
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Doungsuda_Sa_front.pdf794.13 kBAdobe PDFView/Open
Doungsuda_Sa_ch1.pdf776 kBAdobe PDFView/Open
Doungsuda_Sa_ch2.pdf1.3 MBAdobe PDFView/Open
Doungsuda_Sa_ch3.pdf743.37 kBAdobe PDFView/Open
Doungsuda_Sa_ch4.pdf1.17 MBAdobe PDFView/Open
Doungsuda_Sa_ch5.pdf808.05 kBAdobe PDFView/Open
Doungsuda_Sa_back.pdf1.58 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.