Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16455
Title: รูปแบบการพัฒนานครหลวงเวียงจันทน์ที่สัมพันธ์กับสะพานมิตรภาพ
Other Titles: Development guideline for Vienttiane in relation to the effects of the Mittraphab Bridge
Authors: บุญมาก ขุนพรหม
Advisors: เกียรติ จิวะกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: การใช้ที่ดินในเมือง -- ลาว
ลาว -- ภูมิประเทศและการท่องเที่ยว
ลาว -- ภาวะสังคม
ลาว -- ภาวะเศรษฐกิจ
เวียงจันทน์ -- ภาวะสังคม
เวียงจันทน์ -- ภาวะเศรษฐกิจ
เวียงจันทน์ -- ความเป็นอยู่และประเพณี
เวียงจันทน์ -- ภูมิประเทศและการท่องเที่ยว
เมือง -- การเจริญเติบโต
สะพานมิตรภาพไทย-ลาว
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการวางแผนชี้นำการพัฒนานครหลวงเวียงจันทน์ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นจากการก่อสร้างสะพานมิตรภาพเชื่อมระหว่างเวียงจันทน์-หนองคาย ตามนโยบายเปิดประเทศเพื่อส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศของรัฐบาลลาว และนโยบายเปิดประตูการค้าสู่อินโดจีนของรัฐบาลไทย รวมทั้งศึกษาแนวทางกระจายความเจริญจากนครหลวงสู่ภูมิภาค เพื่อให้การพัฒนาประเทศมีความสมดุล และให้ภูมิภาคต่างๆ ได้รับประโยชน์สูงสุดจากการก่อสร้างสะพานมิตรภาพแห่งนี้ จากการศึกษาพบว่าสะพานมิตรภาพมีส่วนสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจของนครหลวงเวียงจันทน์ขยายตัวในอัตราที่สูงกว่าเดิม โดยเฉพาะการเพิ่มขึ้นของการลงทุนจากต่างประเทศ การขยายตัวด้านการท่องเที่ยว การบริการและการค้า โดยมีปัจจัยสนับสนุนอย่างอื่นได้แก่ ความได้เปรียบด้านที่ตั้งของนครหลวง ซึ่งตั้งอยู่ในใจกลางของประเทศที่ยังมีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์และมีค่าจ้างแรงงานต่ำ อีกทั้งมีโครงสร้างพื้นฐานที่ดีกว่าภูมิภาคอื่น จึงส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจกระจุกตัวในนครหลวงเพิ่มมากขึ้น ซึ่งก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งทางด้านกายภาพสังคมและวัฒนธรรม และการเพิ่มขึ้นของประชากรอย่างรวดเร็ว การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างของเมืองและภูมิภาคต่างๆ ทำให้เกิดปัญหามากมายในปัจจุบัน ที่สำคัญได้แก่ ปัญหาโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งไม่สามารถรองรับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการขยายตัวอาคารบ้านเรือนและสิ่งปลูกสร้างได้เพียงพอ ปัญหาการกระจุกตัวของการพัฒนาในนครหลวงอันเนื่องจากการลงทุนที่เกิดขึ้นได้รับผลตอบแทนด้านเศรษฐกิจที่มีมูลเหตุมาจากสะพานฯแห่งนี้ และคาดการณ์ว่าแนวโน้มในอนาคตผลประโยชน์จากการลงทุนที่ขยายตัวจะยังคงเกิดขึ้นในนครหลวงมากกว่าที่จะกระจายไปยังภาคอื่น การพัฒนาที่เกิดขึ้นดังกล่าวทำให้นครเวียงจันทน์มีบทบาทเป็นสถานีขนส่งปลายทางมากกว่าที่จะเป็นสถานีชุมทางที่ช่วยกระจายการลงทุนไปสู่ภูมิภาคอื่นๆของประเทศ ทั้งนี้เนื่องจากปัจจุบันยังมีความขาดแคลนโครงสร้างพื้นฐานภายในประเทศทั่วๆไปอันเป็นอุปสรรคต่อการกระจายความเจริญ แต่อย่างไรก็ตามสะพานฯนี้ก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่เร่งให้เกิดการพัฒนาโครงข่ายการคมนาคมขนส่งไปยังภูมิภาครอบนอก และสามารถเชื่อมกับโครงข่ายของประเทศเพื่อนบ้านได้สะดวกอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ผลกระทบด้านต่างๆที่เกิดขึ้นและจะเกิดขึ้นต่อไปของสะพานมิตรภาพที่มีต่อนครหลวงเวียงจันทน์และภูมิภาคจะมีมากน้อยเพียงใดนั้น จะขึ้นอยู่กับนโยบายการร่วมมือร่วมใจในการพัฒนาประเทศของประเทศทั้งสอง ตลอดจนความร่วมมือด้านเศรษฐกิจของประเทศต่างๆในกลุ่มลุ่มแม่น้ำโขง ข้อเสนอแนะที่ได้จากการศึกษา คือ ผังโครงสร้างการพัฒนานครหลวงเวียงจันทน์ซึ่งประกอบด้วยรูปแบบการพัฒนาที่เน้าการอนุรักษ์พิ้นที่เมืองเก่าและส่งเสริมการพัฒนาพื้นที่ของเมืองที่จะขยายออกไปตามขนาดและทิศทางที่เหมาะสมและคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการเสนอแนะแนวทางการพัฒนาภูมิภาคและเมืองหลัก เพื่อให้เกิดการกระจายความเจริญจากนนครหลวงสู่ภาคต่างๆอย่างสมดุล โดยมุ่งส่งเสริมการพัฒนาภาคที่สอดคล้องกับศักยภาพของแต่ละพื้นที่ที่สัมพันธ์กับการพัฒนาโครงข่ายการคมนาคมขนส่งที่เชื่อมโยงกับโครงข่ายของประเทศเพื่อนบ้านอันได้แก่ เวียดนาม กัมพูชา และจีนตอนใต้นอกเหนือจากไทย เพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการพัฒนาประเทศให้เป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งระหว่างประเทศในกลุ่มอนุภาคลุ่มแม่น้ำโขงต่อไปในอนาคต
Other Abstract: The objective of this research is to study development guidelines for Vientiane in order to deal with various changes and effects from the construction of the Mittraphab bridge linking Vientiane and Nongkhai which in accordance with Lao government's policy in opening up for foreign investment and with Thai government's policy in opening up trade to Indochina. The thesis also studies the way to spread development from the capital to the regions in order to obtain balanced development and to provide the regions with maximum advantages from the construction of this Mittraphab bridge. The study found that the Mittraphab bridge played a vital role in expansion of Vientiane's economy at a greater rate; especially the increase in foreign investment and expansion of tourist industry, service and trade. The supporting and enhancing factors were the location of the capital which was in the central area of the country and had plentiful natural resources and low labor wage. Infrastructure of the capital was better than those of other regions causing economic activities to focus on the capital. This resulted in physical, social and cultural changes and rapid increase in population. The important problem was inadequate infrastructure that could not satisfy the economic growth and rapid construction of houses and buildings. The problem of development which focused only in the capital was stemmed from economic growth provided by this bridge. The future trend is that the benefit from investment expansion will be centered at the capital more than other region. This kind of development made Vientiane a terminal station rather than a junction which would have spread investment to other regions of the country. At present, there are inadequate infrastructure in regional areas of the country, and this is an obstacle to distribution of growth. However, this bridge was one of the factors that speeded up development of communication and transportation network into external regions and connected conveniently with network of neighbouring countries than ever before. The extent of the effects of the Mittraphab bridge that have happened and will be happening on Vientiane and the regions depends on cooperation in development of the two countries as well as economic cooperation among countries of the Mekong subregion. The findings of the study suggest that development scheme of Vientiane should stress conservation of ancient capital areas and promote development of city areas which can be expanded with proper size and direction and concern about the environment. Development of regional areas and major cities is suggested in order to distribute growth from the capital to the regions in a well-balanced fashion. Regional development must suit potential of each individual region and communication network which links with those of neighbouring countries other than Thailand; Vietnam, Cambodia and Southern China. This is to enhance potential of the country to be communication and transportation center of the countries in Mekong subregion.
Description: วิทยานิพนธ์ (ผ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การวางแผนภาค
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/16455
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Bounmak_Kh_front.pdf906.76 kBAdobe PDFView/Open
Bounmak_Kh_ch1.pdf783.31 kBAdobe PDFView/Open
Bounmak_Kh_ch2.pdf1.04 MBAdobe PDFView/Open
Bounmak_Kh_ch3.pdf1.39 MBAdobe PDFView/Open
Bounmak_Kh_ch4.pdf897.06 kBAdobe PDFView/Open
Bounmak_Kh_ch5.pdf2.85 MBAdobe PDFView/Open
Bounmak_Kh_ch6.pdf1.04 MBAdobe PDFView/Open
Bounmak_Kh_ch7.pdf2.01 MBAdobe PDFView/Open
Bounmak_Kh_back.pdf837.8 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.