Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18636
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorแรมสมร อยู่สถาพร-
dc.contributor.authorกรัณย์ เฮงพานิช-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2012-03-24T14:17:01Z-
dc.date.available2012-03-24T14:17:01Z-
dc.date.issued2528-
dc.identifier.isbn9745660175-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/18636-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528en
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1.เพื่อศึกษาพฤติกรรมการสอนของครูประถมศึกษา ตามการรับรู้ของตนเอง สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ในเขตการศึกษา 8 2.เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรการสอนของครูประถมศึกษา ตามการรับรู้ของตนเอง จำแนกตาม เพศ อายุ ประสบการณ์ในการสอน วุฒิทางการศึกษา และสถานภาพทางเศรษฐกิจ วิธีดำเนินการวิจัยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ เขตการศึกษา 8 จำนวน 346 คน สุ่มตัวอย่างโดยวิธีการเลือกแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stage Sampling) ผู้วิจัยได้สร้างแบบสำรวจโดยอาศัยข้อมูลส่วนใหญ่จากการสอบถามความคิดเห็นของ ศึกษานิเทศก์ครูใหญ่และครูโรงเรียนประถมศึกษา เขตการศึกษา 8 และจากข้อมูลนี้ ได้นำมาสร้างเครื่องมือซึ่งมีลักษณะเป็นแบบสำรวจชนิดมาตราส่วนประเมินค่า (Rating Scale) 7 ระดับ ค่าสัมประสิทธิ์แห่งความเที่ยงของแบบสำรวจ คือ 0.96 การวิเคราะห์ข้อมูล วิเคราะห์โดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way-ANOVA) และการทดสอบความแตกต่างระหว่างคู่ด้วยวิธีทดสอบของ เชฟเฟ (Scheffe’) สมมุติฐานการวิจัย ครูประถมศึกษาที่มี เพศ อายุ ประสบการณ์ในการสอน วุฒิทางการศึกษา และสถานภาพทางเศรษฐกิจต่างกัน มีพฤติกรรมการสอนแตกต่างกัน ผลการวิจัย 1.โดยเฉลี่ย ครูประถมศึกษาประเมินพฤติกรรมกรสอนของตนเองในด้านวิชาการและด้านเทคนิคการสอนอยู่ในระดับ “ค่อนข้างมาก” และประเมินพฤติกรรมด้านคุณธรรม ด้านบุคลิกภาพ ด้านคุณลักษณะเฉพาะในการสอนและด้านมนุษยสัมพันธ์อยู่ในระดับ “มาก” 2.พฤติกรรมการสอน เรียงตามลำดับจากค่าเฉลี่ยสูงสุดไปหาต่ำสุดในแต่ละด้าน ของครูประถมศึกษาจากการประเมินตนเอง ได้แก่ พฤติกรรมตามลำดับ ดังนี้ ด้านวิชาการ ได้แก่ “เข้ารับการอบรมหรือสัมมนาทางวิชาการทุกครั้งถ้ามีโอกาส”–“ศึกษาหรือสืบเสาะหาแหล่งวิทยาการเพื่อนำมาสนับสนุนประสิทธิภาพการสอน” ด้านเทคนิคการสอน ได้แก่ “เปิดโอกาสให้นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน”-“การทดลองใช้สื่อการสอนที่ซับซ้อนยุ่งยาก หรือที่เกี่ยวกับการทดลอง” ด้านคุณธรรม ได้แก่ “ชื่นชมยินดีในความสำเร็จของศิษย์” – “ติดตามนักเรียนถึงบ้านเมื่อนักเรียนขาดเรียนเป็นประจำหรือติดต่อกันเกิน 3 วัน” ด้านบุคลิกภาพ ได้แก่ “มีไมตรีต่อนักเรียนและบุคคลทั่วไป” และ “ตรงไปตรงมา เปิดเผยและใจกว้าง” – “กล้าแสดงความคิดเห็นหรือการแสดงออกต่างๆ” – “ทำการสอนอย่างมีระบบมีขั้นตอนตรวจสอบได้” ด้านมนุษยสัมพันธ์ ได้แก่ “ มีความจริงใจต่อทุกคน โดยเฉพาะนักเรียนและเพื่อนครู“ – “สามารถนำวิทยากรในชุมชนมาให้ความรู้แก่นักเรียนเสมอ” 3.ในด้านการเปรียบเทียบพฤติกรรมการสอนของครูประถมศึกษาในกลุ่มเพศ อายุประสบการณ์ในการสอน วุฒิทางการศึกษาและสถานภาพทางเศรษฐกิจ พบว่า ครูที่มีอายุต่างกัน มีพฤติกรรมการสอนด้านเทคนิคการสอน ด้านคุณธรรมและด้านบุคลิกภาพแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยครูที่มีอายุระหว่าง 30-39 ปี มีพฤติกรรมการสอนทั้ง 3 ด้านสูงกว่าครูทุกกลุ่มอายุ และครูที่มีประสบการณ์ในการสอนต่างกัน มีพฤติกรรมการสอนด้านเทคนิคการสอนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยครูที่มีประสบการณ์ในการสอนระหว่าง 11-15 ปี มีพฤติกรรมในด้านนี้สูงกว่าทุกๆกลุ่มประสบการณ์ในการสอน ส่วนครูที่มีสถานภาพทางเศรษฐกิจต่างกันมีพฤติกรรมการสอนด้านวิชาการและด้านเทคนิคการสอนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยครูที่มีสถานภาพทางเศรษฐกิจดี มีพฤติกรรมการสอนในด้านดังกล่าวสูงกว่าครูที่มีสถานภาพทางเศรษฐกิจรองลงมา นอกนั้น ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4.เปรียบเทียบพฤติกรรมการสอนเฉลี่ยรวมทุกด้าน พบว่า ครูที่มีอายุต่างกัน มี พฤติกรรมการสอน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยครูที่มีอายุช่วง 30-39 ปี มีพฤติกรรมการสอนรวมสูงกว่าครูทุกๆ กลุ่มอายุ และครูที่มีเพศ ประสบการณ์ในการสอน วุฒิทางการศึกษาและสถานภาพทางเศรษฐกิจต่างกัน มีพฤติกรมการสอน ไม่แตกต่างกัน-
dc.description.abstractalternativePurposes The purposes of this research are as follows : 1.To study teaching behaviors of elementary school teachers under the jurisdiction of the Office of the National Primary Education Commission in Educational Region 8 as perceived by themselves. 2.To compare teaching behaviors of elementary school teachers as perceived by themselves classified by sex, age teaching experience, educational attainment, and economic status. Hypothesis There are significant differences among teaching behaviors of elementary school teachers classified by sex, age, teaching experience, educational attainment, and economic status. Research Procedures The subjects of this study were 346 teachers in elementary schools under the jurisdiction of the National Primary Education Commission in Educational Region 8. These subjects were chosen by using the multi-stage random sampling technique. The instrument was constructed by using the data collected from supervisors, principals and elementary school teachers in Educational Region 8 by means of open ended questionnaire. The type of questionnaire was a seven point rating scale. The coefficient reliability of the tool was 0.96. The data were analyzed by using percentage mean, standard deviation, one-way ANOVA and Scheffe’ test. Findings 1.by average, elementary school teachers in Educational Region 8 rated themselves on teaching behaviors at “nearly high” level especially on the academic topic and rated themselves at “high” level on the moral, personality, characteristics and human relationship topic. 2.Teaching behaviors of the elementary school teachers as perceived by themselves on each aspect were as the highest and lowest as follows respectively : 2.1 On the academic aspect : to enroll in the training programs on related seminar when available ; to study and research for resources for supporting the teaching 2.2 On the teaching technique aspect : to provide the students with the opportunity to participate in teaching and learning situation ; to try complicated instructional aids or to conduct experiments 2.3 On the moral aspect : to overwhelm the students success; to visit students at home if the students were regularly absent or more than 3 days 2.4 On the personality aspect : to be friendly with the students and others and also to be sincere, open and broad minded; to possess a leadership 2.5 On the specific teaching characteristics aspect : to encourage the students to express their opinions 2.6 On the human relationships aspect : to be sincere to everybody especially to the students and to their colleague ; to be able to be resource persons in the community, to teach students in school regularly 3.On the comparison of teaching behaviors of the elementary school teachers according to sex, age, teaching experience, educational attainment and economic status, the finding revealed significant differences at the level of .05 in teaching techniques, moral and personality topic among age groups. Teachers in the age group 30-39 indicated higher level of all 3 aspects of teaching behaviors in comparing to other age groups. There were significant differences at the level .05 in teaching techniques topic among teaching experience groups and teachers with teaching experience during 11-15 years indicated higher level of teaching techniques when compared with other groups. There were significant differences at the level .05 in academic and teaching techniques topic among economic status. Teachers in high economic status groups indicated higher level of all 2 aspects of teaching behaviors in comparing to others economic status groups. There were no statistically differences in teaching behaviors. From the total mean teaching behaviors, the results revealed a significant difference at the level .05 among age groups. Teachers in the age group 30-39 indicated higher level of teaching behaviors in comparing to other groups.-
dc.format.extent520658 bytes-
dc.format.extent463399 bytes-
dc.format.extent1013601 bytes-
dc.format.extent428777 bytes-
dc.format.extent819198 bytes-
dc.format.extent631435 bytes-
dc.format.extent785613 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectการสอนen
dc.subjectครู -- วิจัยen
dc.subjectการศึกษาขั้นประถมen
dc.titleพฤติกรรมการสอนของครูประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ในเขตการศึกษา 8 ตามการรับรู้ของตนเองen
dc.title.alternativeTeaching behaviors of elementary school teachers under the Jurisdiction of the office of the national primary education commission in educational region eight as perceived by themselvesen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineประถมศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorRamsamorn.y@chula.ac.th-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Grun_He_front.pdf508.46 kBAdobe PDFView/Open
Grun_He_ch1.pdf452.54 kBAdobe PDFView/Open
Grun_He_ch2.pdf989.84 kBAdobe PDFView/Open
Grun_He_ch3.pdf418.73 kBAdobe PDFView/Open
Grun_He_ch4.pdf800 kBAdobe PDFView/Open
Grun_He_ch5.pdf616.64 kBAdobe PDFView/Open
Grun_He_back.pdf767.2 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.