Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19603
Title: การวิเคราะห์ความต้องการศึกษาต่อในหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยการศึกษา ภาคนอกเวลาราชการ ของครู-อาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
Other Titles: An analysis of teachers' and educational personnels' needs for further study in a master of education degree, twilight program, majoring in educational research, Bangkok Metropolis and vicinities
Authors: ผานิต วิมลรัตน์ปัญญา
Advisors: สมหวัง พิธิยานุวัฒน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Somwung.P@chula.ac.th
Subjects: การศึกษาต่อเนื่อง
นักวิจัย
ทัศนคติ
การศึกษา -- วิจัย
Issue Date: 2539
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: 1.เพื่อทำนายเจตนาต่อการเลือกศึกษาต่อในหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยการศึกษา (ภาคนอกเวลาราชการ) ของครู-อาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลตามแนวทฤษฎีการกระทำด้วยเหตุผล 2.เพื่อศึกษาความคิดเห็นของผู้บริหาร ครู-อาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาเกี่ยวกับการบริหารหลักสูตร และการเรียนการสอน ความพร้อมและความสนใจที่มีต่อหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยการศึกษา (ภาคนอกเวลาราชการ) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ฉบับ คือ 1) แบบสอบถามผู้บริหาร 2) แบบสอบถามครู-อาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา ซึ่งสร้างขึ้นตามทฤษฎีการกระทำด้วยเหตุผลของฟิชบายน์และไอเซ็นผลการวิจัยพบว่า 1. การทำนายเจตนาเชิงพฤติกรรมการเลือกศึกษาต่อในหลักสูตรฯ พบว่า 1.1 เจตคติและการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิง สามารถทำนายเจตนาต่อการเลือกศึกษาต่อในหลักสูตรมหาบัณฑิต สาขาวิจัยการศึกษา (ภาคนอกเวลาราชการ) ได้อย่างมีนัยสำคัญ 1.2 เจตคติ การคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงและอายุ ร่วมกันทำนายเจตนาต่อการเลือกศึกษาต่อในหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิจัยการศึกษา (ภาคนอกเวลาราชการ) ได้อย่างมีนัยสำคัญ 1.3 กลุ่มตัวอย่าง ครู-อาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 1,113 คน ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 71 มีเจตนาจะเลือกศึกษาต่อในหลักสูตรฯ นี้ 2. ผลการศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารหลักสูตรและการเรียนการสอน ความพร้อมและความสนใจของกลุ่มตัวอย่างผู้บริหาร และกลุ่มตัวอย่างครู-อาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา ปรากฏผล ดังนี้ 2.1 ผู้บริหารส่วนใหญ่มีความเห็นด้วยกับการสนับสนุนให้บุคลากรในหน่วยงานของตนได้ศึกษาในหลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิจัยการศึกษา (ภาคนอกเวลาราชการ) เพื่อการพัฒนาบุคลากรและการเรียนการสอนในหน่วยงานให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น และยังช่วยแก้ปัญหาเกี่ยวกับการขาดแคลนบุคลากรในขณะศึกษาต่อได้ เนื่องจากเป็นการศึกษาภาคนอกเวลาราชการ 2.2 ในส่วนของผู้ตอบแบบสอบถามกลุ่มครู-อาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา ได้แสดงความเห็นด้วยกับการเปิดหลักสูตรฯ นี้ เช่นเดียวกับกลุ่มผู้บริหาร เมื่อพิจารณาแยกตามกลุ่มที่มีเจตนาจะเลือกและกลุ่มที่มีเจตนาจะไม่เลือกศึกษาต่อในหลักสูตรฯ พบว่าทั้งสองกลุ่มมีความคิดเห็นสอดคล้องกันในเรื่องเกี่ยวกับการเลือกวัน คือ เลือกวันศุกร์และวันเสาร์ ในส่วนเกี่ยวกับการประเมินผลการเรียน กลุ่มตัวอย่างครู-อาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาส่วนใหญ่มีความเห็นว่า ควรที่จะประเมินผลการเรียนรายวิชาด้วยการทำรายงาน และเห็นด้วยที่จะให้เลือกแผนการศึกษาในการจัดทำวิทยานิพนธ์หรือสอบ Comprehensive อย่างใดอย่างหนึ่ง
Other Abstract: The purposes of this research were to predict teachers' and educational personnels' intention to enroll in a master of educational research degree, twilight program, majoring in educational research in Bangkok Metropolis and vicinities based on the theory of Reasoned Action as well as and to study the administrators', teachers' and educational personnels' opinions concerning the curriculum and instruction management, their readiness and interests in a master of education degree, twilight program, majoring in educational research. The research instruments were two questionnaires, one for administrators and one for teachers and educational personnels which developed on the basis of the theory of Reasoned Action of Fishbein and Ajzen. The result show that : 1. The prediction of intention to enroll in a master of education research degree, twilight program, majoring in educational research were 1.1 Attitude and subjective norm could significantly predicted intention to enroll in a master of education degree, twilight program, majoring in educational research. (R2=.34, P< .01) 1.2 Attitude, subjective norm and age could significantly predict intention to enroll in a master of education degree, twilight program, majoring in educational research. (R2=.36, P< .01) 1.3 A sample of 1,113 teachers are 71% of the surveyed teachers had a strong intention to enroll in the master of education degree, twilight program, majoring in educational research. 2. The opinions of administrators, teachers and educational personnels concerning curriculum and instruction management, their readiness and interests were 2.1 The major group of administrators agreed to support personnels in their organization to enroll in a master of education degree, twilight program, majoring in educational research, in order to develop human resourses and efficient instruction as well as to handle the problems of personnels lacking dued to further study. 2.2 The teachers and educational personnels had the same opinions as the administrators with regard to the group who had intention and had no intentions to enroll in this program, it was found that these two groups had the same opinion about the day for studying on Friday and Saturday, for the evaluation, they preferred the learning evaluation by conducting term paper and agreed with the alternatives to conducting thesis or taking comprehensive examination.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/19603
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Panit_Vi_front.pdf836.61 kBAdobe PDFView/Open
Panit_Vi_ch1.pdf880.03 kBAdobe PDFView/Open
Panit_Vi_ch2.pdf1.39 MBAdobe PDFView/Open
Panit_Vi_ch3.pdf861 kBAdobe PDFView/Open
Panit_Vi_ch4.pdf1.2 MBAdobe PDFView/Open
Panit_Vi_ch5.pdf803.84 kBAdobe PDFView/Open
Panit_Vi_back.pdf1.51 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.