Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21443
Title: ความคิดเห็นเกี่ยวกับการเรียนการสอนวิชาวรรณคดีไทยระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ในโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย ปี พ.ศ. 2516-2518
Other Titles: Opinions concerning Thai literature instruction at the upper secondary level in Suankularb College during 1973-1975
Authors: มาลี อุ่นอก
Advisors: สิทธา พินิจภูวดล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
ภาษาไทย -- การศึกษาและการสอน
วรรณคดีไทย -- การศึกษาและการสอน
Suankularb College
Thai language -- Study and teaching
Thai literature -- Study and teaching
Issue Date: 2520
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการเรียนการสอนวรรณคดีไทยในระดับมัธยม- ศึกษาตอนปลาย ในด้านทัศนคติของนักเรียนและครูเกี่ยวกับวรรณคดีไทย โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะดังนี้ 1. ศึกษาว่าอะไรเป็นอิทธิพลให้นักเรียนโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย มีปฏิกิริยาต่อต้านการศึกษาทางวรรณคดีไทย 2. ศึกษาสิ่งแวดลอมที่มีอิทธิพลต่อการเรียนการสอน รวมทั้งนักเรียน ครู วิธีการสอน หลักสูตร หนังสือแบบเรียน กิจกรรม อุปกรณ์การสอน และการวัดผล 3. ศึกษาถึงปัญหาและความต้องการของนักเรียนและครู ผลการวิจัยนี้จะเป็นแนวทางในการปรับปรุงการเรียนการสอนวรรณคดีไทย ในระดับนี้ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น วิธีการวิจัย ผู้วิจัยได้ส่งแบบสอบถามไปยังนักเรียนโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยระดับมัธยม ศึกษาตอนปลายและอาจารย์ผู้สอนวรรณคดีไทย ไค้รับแบบสอบถามคืนจากนักเรียน คิดเป็นร้อยละ 80% และได้รับแบบสอบถามคืนจากอาจารย์คิดเป็นร้อยละ 80% แล้วนำคำตอบมาวิเคราะห์หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และสวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน นอกจากวิธีการ วิจัยโดยใช้แบบสอบถามแล้ว ผู้วิจัยได้ใช้วิธีสัมภาษณ์ทั้งครูและ นักเรียนอีกด้วย สรุปผลการวิจัย ผลการวิจัยปรากฏว่า 1. นักเรียนโรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยจำนวนร้อยละ 90 ยังมีความสนใจ ในการเรียนวิชาวรรณคดีไทย จำนวนร้อยละ 10 มีความเห็นว่าเนื้อหาวิชาวรรณคดีไทย ไม่สอดคล้องกับสังคมปัจจุบันและเป็นวิชาที่ไม่น่านำมาศึกษา 2. ผลจากการสอบถามและสัมภาษณ์ครูผู้สอน ให้ความเห็นว่านักเรียน โรงเรียนส่วนกุหลาบวิทยาลัยจานวนรอยละ 90 ยังมีความสนใจต่อวิชาวรรณคดีไทย มีนักเรียนเพียงส่วนน้อยจำนวนร้อยละ 10 ที่มีแนวความคิดต่อต้านการเรียนการสอนวิชาวรรณคดีไทย 3. ปัญหาที่ประ สบเกี่ยวกับนักเรียน คือ หลักสูตรมีเนื้อหาวิชามากเกินไปบางเรื่องน่าเบื่อหน่ายและไม่สอดคล้องกับสังคมนัจจุบัน จึงควรปรับปรุงเนื้อหาในหลักสูตร 4 . ปัญหาเกี่ยวกับตัวครูเกี่ยวกับการเรียนการสอนคือ ครูต้องการให้มีการปรับปรุงหลักสูตร เนื่องจากเนื้อหาไม่สอดคล้องกับสภาพสังคมปัจจุบัน อันเป็นสาเหตุ ให้นักเรียนเกิดความเบื่อหน่ายในการเรียนการสอน และต่อต้านการเรียนการสอนวิชาวรรณคดีไทย ขอเสนอแนะ 1. ครู อาจารย์ ผู้บริหาร และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการศึกษาควรศึกษาถึง ความต้องการของสังคม 2. นักเรียนควรให้ความสนใจต่อการเรียนวรรณคดีไทยในขณะที่ครูสอน 3. ควรมีการปรับปรุง เนื้อหาในหลักสูตรเพื่อความเหมาะสมที่จะนำมาใช้สอนในปัจจุบัน 4. โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านครูผู้สอนควรศึกษาวิธีการสอนใหม่ๆศึกษาวิชาการต่างๆ อย่างกว้างขวางไม่จำกัดเฉพาะในด้านวิชาวรรณคดีอย่างเดียว ครูอาจศึกษาถึงความเคลื่อนไหวทางด้านการเมืองในส่วนที่สัมพันธ์กับวรรณคดีด้วย เพื่อเป็นการช่วยแก้ปัญหาด้านสังคมปัจจุบัน และรู้เท่าทันการนำวรรณคดีไปใช้ประโยชน์ทางด้านการเมืองและการปกครองด้วย
Other Abstract: Purpose The purpose of this thesis was to study the learning and teaching of Thai Literature at the Secondary school level. This study involved the attitude of students and. teachers toward Thai Literature. Specific purposes were: 1. To study what factors were responsible for the development of a negative attitude toward Thai Literature. 2. To study the learning - teaching environment, including students and teachers, as well as instructional method, curriculum, textbooks, activities, audio - visual aids, and evaluation. 3. To study the problems and needs of students and teachers. The result of this thesis will be used in improving the learning and teaching of Thai Literature at this level. Procedure Questionnaires were sent to the students of Suankularb College at the Upper Secondary level and Thai teachers of literature. 70 % of the questionnaires from the students and 80 % of the questionnaires from the teachers were returned. The data were computed in terms of percentage, means, and standard deviation, included interviewing students and teachers. Conclusion The results of this study indicated that.- 1. 90 % of the Suankularb students were interested in learning Thai literature, while the other 10 % thought that the literature content was not suited to social conditions and thus was not necessary to learn. 2. The results of the questionnaires and interviews of teacher showed that the teachers thought that 90 % of the students were interested in Thai Literature, and that 10 % of the students were against the learning of Thai Literature. 3. The main problem the students found with the curriculum content was that there was too much, some content was to boring to them and was out of touch with society. Therefore, they wanted to see improvement in the curriculum content. 4. The problems teachers had were :- they wanted improvement of curriculum content, because the content was not realistic in term of present:1 day society, and it caused students to be bored and antagonistic toward learning and teaching Thai literature. Recommendations 1. Study of Social needs should be undertaken by teachers administrators and educationists. 2. Student needs should be given more attention. 3. Curriculum content should be improved so as to facilitate up - to date teaching. 4. Special attention should be given to the upgrading of instructional methods, and broadening of teacher awareness of current events and its relationship to Thai Literature.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2520
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: มัธยมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21443
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
malee_oo_front.pdf529.73 kBAdobe PDFView/Open
malee_oo_ch1.pdf1.01 MBAdobe PDFView/Open
malee_oo_ch2.pdf1.43 MBAdobe PDFView/Open
malee_oo_ch3.pdf324.74 kBAdobe PDFView/Open
malee_oo_ch4.pdf1.29 MBAdobe PDFView/Open
malee_oo_ch5.pdf2.02 MBAdobe PDFView/Open
malee_oo_back.pdf1.66 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.