Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21823
Title: | การศึกษาระดับของซีลีเนียมในแกะที่เลี้ยงด้วยผักตบชวาสดและหญ้าแห้ง |
Other Titles: | The studies on selenium levels in sheep fed water-hyacinth and hey |
Authors: | มาเรียม แสงมาลย์ |
Advisors: | อายุส พิชัยชาญณรงค์ ณรงค์ศักดิ์ ชัยบุตร พรศรี ชัยรัตนายุทธ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Subjects: | แกะ -- การเลี้ยง ซีลีเนียมในโภชนาการสัตว์ แร่ธาตุในโภชนาการสัตว์ ผักตบชวา หญ้าแห้ง Sheep -- Feeding and feeds Selenium in animal nutrition Minerals in animal nutrition Water hyacinth Hay |
Issue Date: | 2529 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ทำการศึกษาคุณค่าทางอาหารและประสิทธิภาพการย่อยได้ของอาหารชนิดต่างๆในแกะเพศผู้จำนวน 5 ตัว โดยให้กินผักตบชวาสด หญ้าแห้ง และผักตบชวาผสมหญ้าแห้ง และเปรียบเทียบกับระยะควบคุมที่ให้กินหญ้าสดและอาหารข้น เลี้ยงแกะไว้ในกรงที่สามารถเก็บปัสสาวะและมูลได้ตลอด 24 ชั่วโมง ศึกษาปริมาณการกินอาหารและน้ำ เพื่อเปรียบเทียบสัมประสิทธิ์การย่อยได้ของวัตถุแห้ง โปรตีนหยาบ และซีลีเนียมในแกะที่เลี้ยงด้วยอาหารชนิดต่างๆตลอดจนสมดุลของไนโตรเจน ซีลีเนียมและสมดุลของน้ำในร่างกาย จากการวิเคราะห์ปริมาณโปรตีนหยาบในอาหาร พบว่าผักตบชวามีปริมาณโปรตีนหยาบสูงใกล้เคียงกับหญ้าสด โดยผักตบชวามี 15.83 ± 0.09 หญ้าสดมี 12.27 ± 0.06 % ของวัตถุแห้ง ส่วนหญ้าแห้งมีปริมาณโปรตีนหยาบต่ำที่สุดเพียง 3.49 ± 0.09 % ของวัตถุแห้งเท่านั้น การวิเคราะห์ปริมาณซีลีเนียมในอาหาร พบว่าระดับซีลีเนียมในผักตบชวา หญ้าสดและอาหารข้นมีปริมาณต่ำคือ 0.0086 ± 0.0004, 0.0181 ± 0.0003 และ 0.0257 ± 0.0026 พีพีเอ็ม ตามลำดับ ส่วนหญ้าแห้งมีปริมาณสูงคือ 0.1200 ± 0.0005 พีพีเอ็ม แกะที่กินผักตบชวาสดสามารถเพิ่มปริมาณการกิน (วัตถุแห้ง) ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( P < 0.01 ) โดยการให้ผักตบชวาร่วมกับหญ้าแห้งในอัตราส่วน 1: 1 ซึ่งแกะสามารถกินได้ในอัตราส่วน 2: 1 และพบว่าสัมประสิทธิ์การย่อยได้ของวัตถุแห้ง โปรตีนหยาบและซีลีเนียมของแกะที่กินหญ้าแห้ง ผักตบชวา และผักตบชวาผสมหญ้าแห้งนั้นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญสำคัญทางสถิติ ( P < 0.05 ) หญ้าแห้งมีสัมประสิทธิ์การย่อยได้ของวัตถุแห้ง โปรตีนและซีลีเนียมต่ำที่สุด ( 36.84 ± 3.10, - 47.45 ± 8.70 และ - 18.85 ± 34.08 % ตามลำดับ ) ส่วนผักตบชวามีสัมประสิทธิ์การย่อยได้ของวัตถุแห้งและโปรตีน ( 74.81 ± 1.00 และ 36.07 ± 3.88 % ) สูงกว่าหญ้าแห้งและผักตบชวาผสมหญ้าแห้ง ( 46.88 ± 7.08 และ – 1.07 ± 5.81 % ) แต่มีสัมประสิทธิ์การย่อยได้ของซีลีเนียมต่ำที่สุด ( - 244.73 ± 25.81 % ) สมดุลของไนโตรเจนของแกะที่กินผักตบชวามีค่าเป็นบวก ส่วนแกะที่กินหญ้าแห้งและผักตบชวาผสมหญ้าแห้งมีค่าเป็นลบ และทุกกลุ่มแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สมดุลของซีลีเนียมทุกกลุ่มทดลองมีค่าเป็นลบไม่แตกต่างกัน และไม่แตกต่างจากระยะควบคุมด้วย ระดับซีลีเนียมในซีรัมของแกะอยู่ในช่วง 0.032 – 0.035 พีพีเอ็ม และเปลี่ยนแปลงไปตามระดับซีลีเนียมในอาหารที่แกะกิน พบว่าแกะที่กินผักตบชวาสดอย่างเดียวมีระดับขซีลีเนียมในซีรัมลดลง ( 0.032 ± 0.001 พีพีเอ็ม ) ส่วนแกะที่กินหญ้าแห้งและผักตบชวาผสมหญ้าแห้งนั้นระดับซีลีเนียมในซีรีมเพิ่มขึ้น ( 0.043 ± 0.005 และ 0.041 ± 0.003 พีพีเอ็ม ) ตามลำดับแต่การเปลี่ยนแปลงของทุกกลุ่มไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สมดุลของน้ำในร่างกายของแกะที่กินผักตบชวา หญ้าแห้ง หรือทั้ง 2 อย่างไม่แตกต่างกันและไม่แตกต่างกันระยะควบคุมเช่นเดียวกับค่าฮีมาโตคริต สรุปว่าผักตบชวาสามารถใช้เป็นอาหารเลี้ยงสัตว์ เคี้ยวเอื้องแทนหญ้าได้ แต่ควรให้ร่วมกับหญ้าหรือพืชอาหารหยาบชนิดอื่น เพื่อให้สัตว์มีการเจริญเติบโตดียิ่งขึ้น เพราะแกะจะสามารถกินอาหารหยาบเมื่อคิดเป็นร้อยละของน้ำหนักตัวได้มากขึ้น และเพื่อเป็นการป้องกันภาวการณ์ขาดแร่ธาตุซีลีเนียมในสัตว์ที่อาจเกิดขึ้นได้ |
Other Abstract: | The experiment was undertaken to study the efficiency of utilization of feedstuffs in five male sheep. Animals were assigned by feeding with the following treatments: a) hay (group 1) b) water- hyacinth (group 2) c) water-hyacinth and hay in ratio 1 : 1 (group 3) Before the experiment began, all animals were fed Paragrass and concentrate as the control period. The nutritive value of water-hyacinth, hay and Paragrass were determined for crude protein and selenium content. Amount of crude protein of water-hyacinth and Paragrass were 15.83 ± 0.09 and 12.27 + 0.06 % DM respectively but higher than hay (3.49 + 0.09 % DM). Selenium concentrations of water-hyacinth and Paragrass were 0.0086 ± 0.0004 and 0.0181 ± 0.0003 ppm respectively but lower than hay (0.1200 ± 0.0005 ppm). Digestibility coefficients of dry matter and crude protein in group 2 were significantly higher than group 1 and group 3 while it was not different from the control period. Selenium digestibility coefficient of group 2 was significantly lower than the others (P < 0. and P < 0.001). Nitrogen balance in the animals fed water-hyacinth was positive which was not significantly different from the control period while the other groups were negative and different (P < 0.05). Selenium balance of all groups were negative and not significantly different as compared the control periods. Selenium concentrations in serum of all groups were not different with range of 0.032 - 0.041 ppm (p > 0.05). Water balance of all groups were positive and not different among groups. Water-hyacinth did not affect to hematocrit values which were in range of 30.4 - 36.0 %. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สรีรวิทยา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/21823 |
ISBN: | 9745669709 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
mariem_sa_front.pdf | 535.13 kB | Adobe PDF | View/Open | |
mariem_sa_ch1.pdf | 347.48 kB | Adobe PDF | View/Open | |
mariem_sa_ch2.pdf | 1.41 MB | Adobe PDF | View/Open | |
mariem_sa_ch3.pdf | 578.35 kB | Adobe PDF | View/Open | |
mariem_sa_ch4.pdf | 668.32 kB | Adobe PDF | View/Open | |
mariem_sa_ch5.pdf | 444.09 kB | Adobe PDF | View/Open | |
mariem_sa_ch6.pdf | 267.91 kB | Adobe PDF | View/Open | |
mariem_sa_back.pdf | 571.08 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.