Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23083
Title: | ความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะส่วนตัวบางประการ กับเจตคติต่อการเป็นศึกษานิเทศก์ของศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา |
Other Titles: | Relationships between some personal attributes and attitude towards supervisory profession conceived by supervisors of General Education Department |
Authors: | ภาคินัย สุนทรวิภาต |
Advisors: | วไลรัตน์ บุญสวัสดิ์ บุญมี เณรยอด |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Subjects: | ศึกษานิเทศก์ ศึกษานิเทศก์ -- ทัศนคติ |
Issue Date: | 2528 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะส่วนตัวบางประการ กับ เจตคติต่อการเป็นศึกษานิเทศก์ของศึกษานิเทศก์กรมสามัญศึกษา วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ศึกษานิเทศก์ กรมสามัญศึกษา ทั่วประ เทศ ได้ขนาดของกกลุ่มตัวอย่างจากตารางขนาดกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นตัวแทนในการวิจัย ครั้งนี้รวม 226 คน และได้รับการคัดเลือกโดยการสุ่มตัวอย่างกระจายตามอัตราส่วนของจำนวน ประชากรแต่ละหน่วย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบวัดเจตคติต่อการ เป็นศึกษานิเทศก์ ซึ่งผู้วิจัยสร้างขึ้นในรูปลักษณะของ ซิแมนติค ดิฟเฟอเรนเชียล สเกล (Semantic Differential Scale)โดยให้ครอบคลุมลักษณะส่วนตัวที่ศึกษาได้แก่ เพศ สถานภาพสมรส อายุ วุฒิการศึกษา ระยะเวลาที่รับราชการ ระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งศึกษานิเทศก์ ระดับ เงินเดือน และสายงานที่ปฏิบัติ จากแบบวัดเจตคติๆ ที่ส่งไปทั้งสิ้น 226 ฉบับ ได้รับคืนมา 190 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ 84.07 การวิ เคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ยหาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะส่วนตัวกับเจตคติ ต่อการเป็นศึกษานิเทศก์ โดยใช้ค่าที เทสท์ (t-test) เอฟเทท์ (F-test) และทดสอบความแตกต่างโดยวิฌีของเชฟเฟ (Scheffée) สรุปผลการวิจัย 1) ค่าเฉลี่ย เจตคติของศึกษานิเทฺศก์ เพศชายสูงกว่าของ เพศหญิง และ เมื่อวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของเจตคติโดยใช้ค่า t ปรากฏว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ค่าเฉลี่ยเจตคติของศึกษานิเทศก์ที่เป็นโสดสูงกว่าผู้ที่สมรสแล้ว และ เมื่อวิเคราะห์ ความแตกต่างระหว่างค่า เฉลี่ยของเจตคติโดยใช้ค่า t ปรากฏว่า มีความแตกต่างอย่างมีนัย สำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ค่าเฉลี่ยเจตคติของศึกษานิเทศก์ที่มีช่วงอายุสูงกว่า 50 ปี สูงที่สุด รองลงมา ได้แก่ศึกษานิเทศก์ที่ช่วงอายุ 20-30 ปี และเมื่อวิเคราะห์ความแตกค่าระหว่างค่าเฉลี่ยของ เจตคติโดยใช้ค่า F ปรากฏ ว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4) ค่าเฉลี่ย เจตคติของศึกษานิเทศก์ที่มีวุฒิการศึกษาระดับสูงกว่าปริญญาตรี สูงกว่า ระดับปริญญาตรี และ เมื่อวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของ เจตคติโดยใช้ค่า t ปรากฏว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 5) ค่าเฉลี่ยเจตคติของศึกษานิเทศก์ที่มีระยะ เวลาที่รับราชการ ระหว่าง 5-15 ปี สูงกว่าช่วงเวลารับราชการสูงกว่า 15 ปี และ เมื่อวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ย ของเจตคติโดยใช้ค่า t ปรากฏว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 6) ค่าเฉลี่ยเจตคติของศึกษานิเทศก์ที่มีระยะ เวลาที่ดำรงตำแหน่งศึกษานิเทศก์ ระหว่าง 1-10 ปี สูงกว่าระยะเวลาที่สูงกว่า 10 ปี และเมื่อวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่าง ค่าเฉลี่ยของเจตคติโดยใช้ค่า t ปรากฏว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 7) ค่าเฉลี่ยเจตคติของศึกษานิเทศก์ที่มีระดับ เงิน เดือน 3000-5000 บาทสูงที่สุดรองลงมาได้แก่ ผู้ที่มีระดับ เงิน เดือนสูงกว่า 7000 บาท และ เมื่อวิเคราะห์ความแตกต่าง ระหว่างค่า เฉลี่ยของ เจตคติโดยใช้ค่า F ปรากฏว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 8) ค่าเฉลี่ยเจตคติของศึกษานิเทศก์ที่สังกัดฝ่ายนิเทศการสอนสูงชุดรองลงมา ได้แก่ฝ่ายวิจัยและบริการการศึกษา และ เมื่อวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยโดยใช้ค่า F ปรากฏว่าไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
Other Abstract: | Purpose To study relationships between some personal attributes and attitude towards supervisory profession conceived by supervisors of General Education Department. Procedure Sample of this study consisted of 226 supervisors which was selected from supervisors in General Eeucational Department. A Semantic Differential Attitudes Scale was adapted and used ES research instrument'' which was constructed to cover the personal iattributes of this study namely; sex, married status, age, educational level, period of performing as civil service, period of perfovming as supervisors, salaries level, and section. Two hundred and twenty six copies of attitude test were sent to the samples,190, or 84.07 percent were completed, and returned. The obtained data were then analyzed by mean, t-test, F-test and Scheffée. Findings 1) The mean attitude of male supervisors was higher than that of female. There is no significant differences concerning the mean attitudes of supervisors as classified by sex at the .05 level. 2) The mean attitudes of the singles was higher than that of the married. There is a significant differences concerning the mean attitudes of supervisors as classified by married status at the .05 level. 3) The mean attitude of supervisors over 50 year old was the highest, next to it was the age group of 20-30 years. There is no significant differences concerning the mean attitudes of supervisors as classified by age group at the .05 level. 4) The mean attitudes of supervisors with educational level higher than bachelor degree was higher than those with bachelor degree. There is no significant differences concerning the mean attitudes of supervisors as classified by educational level at the .05 level. 5) The mean attitudes of those who have been in civil servants for a period of 5 to 15 years was higher than of those who served in the service more than 15 years. There is no significant differences concerning the mean attitudes of supervisors as classified, by period of performing as civil service at the .05 level. 6) The mean attitudes of those who have been supervisors for a period of 1 to 10 years was higher than those havipg been for more than 10 years. There is no significant differences concerning the mean attitudes of supervisors as classified by period of performing as supervisors at the .05 level. 7) The mean attitudes of supervisors who earned the salaries between 3000 to 5000 bahts was the highest, next to it was those with salaries over 7000 bahts. There is no significant differences concerning the mean attitudes of supervisors as classified by salaries level at the .05 level. 8) The mean attitudes of supervisors in the instruction section was the highest, next to it was those who worked the research section. There is no significant differences concerning the mean attitudes of supervisors as classified by section at the .05 level. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | บริหารการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/23083 |
ISBN: | 9745644021 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pakinai_So_front.pdf | 517.61 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pakinai_So_ch1.pdf | 384.21 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pakinai_So_ch2.pdf | 844.94 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pakinai_So_ch3.pdf | 361.45 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pakinai_So_ch4.pdf | 1.36 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Pakinai_So_ch5.pdf | 536.88 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Pakinai_So_back.pdf | 584.41 kB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.