Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24091
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสิรีรัตน์ จารุจินดา
dc.contributor.advisorกาวี ศรีกูลกิจ
dc.contributor.authorฐิติพร โมวัฒนะ
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
dc.date.accessioned2012-11-14T13:52:38Z
dc.date.available2012-11-14T13:52:38Z
dc.date.issued2545
dc.identifier.isbn9741726953
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24091
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545en
dc.description.abstractงานวิจัยนี้ เป็นการศึกษาระบบการเสริมกันของสารประกอบฟอสฟอรัสและไนโตรเจนที่ใช้ในการตกแต่งหน่วงไฟผ้าฝ้ายโดยใช้กรดฟอสฟอริกและพอลิฟอสเฟตร่วมกับไคโทซานด้วยเทคนิคจุ่ม-อัดอบความร้อน จากนั้นทำการทดสอบสมบัติหน่วงไฟทั้งก่อนและหลังการซัก โดยทดสอบการลุกใหม้แนว 45 องศา หาค่า LOI วิเคราะห์สมบัติทางความร้อนโดยใช้เทคนิค TGA และทดสอบสมบัติเชิงกลจากความทนน้ำหนักแรงดึงที่จุดขาด จากการทดลองพบว่า ก่อนการซักฝ้าฝ้ายที่ไม่ตกแต่งหน่วงไฟมีอัตราเร็วในการลุกลามของเปลวไฟในแนว 45 องศา เท่ากับ 0.84 ซม./วินาที ในขณะที่ผ้าฝ้ายที่ตกแต่งหน่วงไฟด้วยกรดฟอสฟอริกร่วมกับไคโทซานไม่เกิดการลุกลามของเปลวไฟ และเปลวไฟสามารถดับได้เองเมื่อนำแหล่งต้นไฟออก สำหรับผ้าฝ้ายที่ตกแต่งหน่วงไฟด้วยพอลิฟอสเฟตร่วมกับไคโทซานจะเกิดการลุกลามของเปลวไฟโดยมีอัตราเร็วในแนว 45 องศา เท่ากับ 0.35 ซม./วินาที และมีค่า LOI ประมาณ 20-20.5 ในขณะที่ผ้าฝ้ายที่ไม่ตกแต่งหน่วงไฟมีค่า LOI เท่ากับ 17 เท่านั้น สำหรับภายหลังการซักพบว่าผ้าฝ้ายที่ตกแต่งหน่วงไฟด้วยพอลิฟอสเฟตร่วมกับไคโทซานเกิดการลุกลามของเปลวไฟโดยมีอัตราเร็วในแนว 45 องศา เท่ากับ 0.40 ซม./วินาที และความเข็งแรงของผ้าไม่ลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับผ้าฝ้ายที่ตกแต่งด้วยกรดฟอสฟอริกเนื่องจากกรดฟอสฟอริกมีความเป็นกรดสูงกว่าพอลิฟอสเฟต ในขณะที่ผ้าฝ้ายที่ตกแต่งหน่วงไฟด้วยกรดฟอสฟอริกร่วมกับไคโทซานมีพฤติกรรมการลุกลามของเปลวไฟเปลี่ยนไปจากก่อนการซักโดยเปลวไฟเกิดการลุกลามและไม่สามารถดับได้เองโดยมีอัตราเร็วในแนว 45 องศา เท่ากับ 0.63 ซม./วินาที สำหรับการทดสอบค่า LOI พบว่าผ้าฝ้ายที่ตกแต่งหน่วงไฟด้วยพอลิฟอสเฟตร่วมกับไคโทซานมีค่า LOI ประมาณ 19 ซึ่งยังคงมากกว่าผ้าฝ้ายที่ไม่ตกแต่งหน่วงไฟ ดังนั้นระบบของพอลิฟอสเฟตกับไคโทซานจึงสามารถนำมาตกแต่งหน่วงไฟผ้าฝ้ายให้มีสมบัติการหน่วงไฟที่ดีและคงทนต่อการซักล้างมากกว่าระบบของกรดฟอสฟอริกร่วมกับไคโทซาน
dc.description.abstractalternativeThe synergistic effect of phosphorus-nitrogen containing compound systems on flame retardancy of cotton fabric using pad-dry method of the co-application of phosphoric acid/chitosan and polyphosphate/chitosan were studied. Standard test method of 45-degree burning test, and LOI were adopted for evaluation of flame retardant performance. Thermal analysis was carried out using TGA technique. Mechanical properties of load at break were investigated. Before subject to wash fastness test, 45 degree flame spread rate of 0.84 cm/s for untreated cotton fabric was observed, whereas, self-extinguishment after removing ignition source was observed without flame spreading over cotton fabric treated with phosphoric acid/chitosan system. On the other hand, 45-degree flame spread rate of approximately 0.35 com/sec was observed for polyphosphate/chitosan system. For LOI test, it was found that cotton fabric using polyphosphate and chitosan gave LOI value of about 20-20.5, whereas, the LOI value of untreated one was only 17. After wash fastness test, 45-degree flame spread rate for cotton fabric treated with polyphosphate and chitosan was 0.40 cm/sec, which was slower than that of phosphoric acid and chitosan without a significantly reduced tensile strength due to its higher pH value compared to phosphoric acid counterpart. For LOI test, it was found that cotton fabrics treated with polyphosphate and chitosan was about 19, whereas, the LOI of untreated one was 17. Therefore, fabric treated by polyphosphate/chitosan system had better flame retardancy with higher durability than that obtained from phosphoric acid/chitosan system.
dc.format.extent4422563 bytes
dc.format.extent1979418 bytes
dc.format.extent11959700 bytes
dc.format.extent5076252 bytes
dc.format.extent17576697 bytes
dc.format.extent1036008 bytes
dc.format.extent3821614 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleการใช้สารประกอบฟอสฟอรัสร่วมกับไคโทซานเพื่อปรับปรุงสมบัติการหน่วงไฟของผ้าฝ้ายen
dc.title.alternativeCo-application of phosphorus containing compounds and chitosan to improve flame retardancy of cotton fabricen
dc.typeThesises
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์พอลิเมอร์ประยุกต์และเทคโนโลยีสิ่งทอes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thitiporn_mo_front.pdf4.32 MBAdobe PDFView/Open
Thitiporn_mo_ch1.pdf1.93 MBAdobe PDFView/Open
Thitiporn_mo_ch2.pdf11.68 MBAdobe PDFView/Open
Thitiporn_mo_ch3.pdf4.96 MBAdobe PDFView/Open
Thitiporn_mo_ch4.pdf17.16 MBAdobe PDFView/Open
Thitiporn_mo_ch5.pdf1.01 MBAdobe PDFView/Open
Thitiporn_mo_back.pdf3.73 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.