Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24099
Title: การบริหารบุคลากรโรงเรียนตำรวจในกองบัญชาการศึกษา กรมตำรวจ
Other Titles: Personnel administration of police schools in The Education Bureau of Police Department
Authors: ประเสริฐ เกษรมาลา
Advisors: อมรชัย ตันติเมธ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2523
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาการบริหารบุคลากร 4 ประเภท คือ การให้ได้มาซึ่งบุคลากรการบำรุงรักษาบุคลากร การพัฒนาบุคลากร และการให้บุคลากรพ้นจากงานของโรงเรียนตำรวจ ในกองบัญชาการศึกษา กรมตำรวจ 2. เพื่อศึกษาปัญหางานบุคลากรของโรงเรียนตำรวจ ในกองบัญชาการศึกษา กรมตำรวจ สมมุติฐานของการวิจัย ความคิดเห็นในการบริหารบุคลากรของผู้บริหารสูงสุดและผู้บริหารระดับรองกับความคิดเห็นของครูอาจารย์ประจำ และข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตรแห่งสถาบันการศึกษานั้น ๆ ทั้ง 11 โรงเรียน มีความแตกต่างกัน วิธีดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยได้สร้างแบบสอบถามมีลักษณะเป็นแบบตรวจสอบรายการ มาตราส่วนประเมินค่าและแบบปลายเปิดเพื่อใช้เป็นเครื่องมือรวบรวมข้อมูล ภายหลังจากได้ทดลองใช้แล้ว ได้ส่งแบบสอบถามที่ปรับปรุงแล้วไปยังผู้บริหารสูงสุด ผู้บริหารระดับรอง ครูอาจารย์ และข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตร ซึ่งมียศตั้งแต่ร้อยตำรวจตรีขึ้นไปของโรงเรียนตำรวจ ในกองบัญชาการศึกษา กรมตำรวจ ทุกคน (ร้อยละ 100) จำนวน 307 ฉบับ ได้รับกลับคืนมา 264 ฉบับ คือเป็นร้อยละ 85.99 แล้วนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ หาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบความแตกต่างโดยใช้ค่า t (t-test) ผลการวิจัย 1. งานบริหารบุคลากร ด้านการให้ได้มาซึ่งบุคลากร การบำรุงรักษาบุคลากร การพัฒนาบุคลากร และการให้บุคลากรพ้นจากงานทั้ง 4 ประเภท ของโรงเรียนตำรวจในกองบัญชาการศึกษา กรมตำรวจ มีการปฏิบัติอยู่ในเกณฑ์น้อย 2. การเปรียบเทียบความคิดเห็นของกลุ่มผู้บริหาร และกลุ่มครูเกี่ยวกับงานบริหารบุคลากรแต่ละประเภท ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับแห่งความเชื่อมั่น .01 และเมื่อพิจารณาโดยส่วนรวมก็ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับแห่งความเชื่อมั่น .01 เช่นเดียวกัน ซึ่งขัดแย้งกับสมมุติฐานที่ตั้งไว้ จึงหมายถึง ความคิดเห็นของผู้บริหารสูงสุด และผู้บริหารระดับรอง กับความคิดเห็นของครูอาจารย์ประจำ และข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตรแห่งสถาบันการศึกษานั้น ๆ ทั้ง 11 โรงเรียน ไม่แตกต่างกัน 3. สิ่งที่เป็นปัญหามาก ได้แก่ ความสมัครใจของข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตรในการให้ได้มาซึ่งบุคลากรโรงเรียนมีน้อย ไม่อาจดำเนินการตามกระบวนการสรรหาและคัดเลือกได้ตามต้องการ การจูงใจให้อยู่กับโรงเรียนให้นานที่สุดของการบำรุงรักษาบุคลากรไม่เพียงพอ กำลังขวัญผู้ปฏิบัติงานไม่ดีเท่าที่ควร การพัฒนาบุคลากรต่าง ๆ กระทำได้ไม่เต็มที่ขาดการต่อเนื่องกัน แต่การให้บุคลากรพ้นจากงานมีปัญหาน้อยที่สุด.
Other Abstract: The Purposes of the Study 1. To study a process of personnel administration at police training schools under the Police Education Bureau. The process included 4 categories : selection, maintenance, development, and retirement. 2. To study personnel problems of police training schools under the Police Education Bareau. Hypothesis There are significant differences in terms of the opinions and attitudes of upper – level administrators and mid – level administratos and those of instructors and commissioned police officers. Procedures of the Study The researcher constructed questionnaires in the forms of check lists, rating scales, and open-ended questions to be used in data collection. After a try-out of questionnaires, they were administered to upper-level administrators, mid-level administrators, instructors, and other commissioned police officers stationed at the police training schools. The population included 307 police personnel. The response rate was 85.99%. The data were analyzed through percentage, means, standard deviation and t-test. The Research Findings 1. The personnel administration (i.e. selection, maintenance, development, and retirement) was proceeded with few level. 2. The hypothesis of significant difference in opinions and attitudes among the four groups of police personnel was rejected at the .01 level of significance. 3. The most crucial problem was that, there were only a few commissioned police officers who were willing the station at the police training schools. This posed a serious threat to a selection process. Moreover, there were inadequate incentives to maintain such police personnel to station in these schools for a longer period of time. The development of police personnel confronted a problem of uncontinuity. Finally, the retirement created the least serious problem.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2523
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24099
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Prasert_Ke_front.pdf523.56 kBAdobe PDFView/Open
Prasert_Ke_ch1.pdf1.25 MBAdobe PDFView/Open
Prasert_Ke_ch2.pdf5.77 MBAdobe PDFView/Open
Prasert_Ke_ch3.pdf542.63 kBAdobe PDFView/Open
Prasert_Ke_ch4.pdf1.55 MBAdobe PDFView/Open
Prasert_Ke_ch5.pdf1.89 MBAdobe PDFView/Open
Prasert_Ke_back.pdf1.16 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.