Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24386
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | นพพงษ์ บุญจิตรตุลย์ | |
dc.contributor.author | วิชัย ราษฎร์ศิริ | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | |
dc.date.accessioned | 2012-11-17T04:38:29Z | |
dc.date.available | 2012-11-17T04:38:29Z | |
dc.date.issued | 2519 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24386 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2519 | en |
dc.description.abstract | วัตถุประสงค์ของการวิจัย การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะสำรวจปัญหาการใช้หลักสูตรประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย ฉบับพุทธศักราช ในเขตการศึกษา 5 วิธีดำเนินการวิจัย สร้างแบบสำรวจปัญหาการใช้หลักสูตรขึ้น มีลักษณะเป็นแบบรายการตรวจสอบ แบบมาตราส่วนประเมินค่า และแบบคำถามปลายเปิด รวม 14 ฉบับ ตามลักษณะหน้าที่ของผู้ใช้หลักสูตร แล้วนำไปสอบถามความคิดเห็นจากบุคลากรที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้หลักสูตรในโรงเรียนมัธยมศึกษา ในเขตการศึกษา 5 สังกัดกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 15 โรงเรียน ซึ่งประกอบด้วยผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้าสายวิชา อาจารย์ผู้สอน เจ้าหน้าที่แนะแนว เจ้าหน้าที่ทะเบียน เจ้าหน้าที่วัดผลการศึกษา และเจ้าหน้าที่ห้องสมุด จำนวนแบบสอบถามที่ได้รับคืนจากผู้ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 338 คน คิดเป็นร้อยละ 84.50 แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์ โดยใช้สัดส่วน ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์จากตำแหน่งของคะแนน ผลการวิจัย ผู้ตอบแบบสอบถามมีวุฒิตั้งแต่ปริญญาตรีขึ้นไปเป็นจำนวนร้อยละ 65.38 ผู้บริหารโรงเรียนและหัวหน้าสายวิชาเป็นผู้มีระยะเวลาในการปฏิบัติหน้าที่ปัจจุบันนานกว่าอาจารย์ผู้สอนและเจ้าหน้าที่ ด้านการเข้าประชุม สัมมนา หรืออบรมเกี่ยวกับหลักสูตรใหม่ ปรากฏว่าผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้าสายวิชา และเจ้าหน้าที่เคยเข้าร่วมประชุมสัมมนา หรืออบรมเป็นส่วนใหญ่ แต่อาจารย์ผู้สอนซึ่งเป็นผู้ใช้หลักสูตรโดยตรงกลับไม่เคยได้รับการอบรมเกินกว่าครึ่ง และจากปัญหาบุคลากรด้านการสอนปรากฏว่ายังขาดแคลนเกือบทุกหมวดวิชา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมวดวิชาสังคมศึกษา หมวดวิชาพลานามัย หมวดวิชาภาษาอังกฤษ หมวดวิชาศิลปปฏิบัติ ส่วนหมวดวิชาคณิตศาสตร์มีเพียงพอ ทางด้านเจ้าหน้าที่ขาดบุคลากรมากตามลำดับคือ เจ้าหน้าที่ห้องสมุด เจ้าหน้าที่แนะแนว เจ้าหน้าที่วัดผลการศึกษาและเจ้าหน้าที่ทะเบียน วัสดุและอุปกรณ์ 1) เกือบทุกหมวดวิชาขาดวัสดุอุปกรณ์การสอนที่จำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งหมวดวิชาภาษาไทย หมวดวิชาสังคมศึกษา และหมวดวิชาศิลปปฏิบัติ 2 ) ความไม่เพียงพอของแบบเรียน ปรากฏเด่นชัดในหมวดวิชาภาษาอังกฤษ หมวดวิชาศิลปศึกษา และหมวดวิชาศิลปปฏิบัติ 3) หนังสืออ่านประกอบขาดในหมวดวิชาภาษาไทยและหมวดวิชาพลานามัย ห้องพิเศษและสถานที่เรียน ส่วนใหญ่มีปัญหาเกี่ยวกับความไม่เพียงพอ 1) ห้องปฏิบัติการทางภาษาสำหรับหมวดวิชาภาษาไทย และหมวดวิชาภาษาอังกฤษ 2) ห้องพิเศษในหมวดวิชาคณิตศาสตร์ หมวดวิชาสังคมศึกษาและหมวดวิชาศิลปศึกษา 3) ห้องปฏิบัติการและห้องเรียนที่มีโต๊ะสาธิตในหมวดวิชาวิทยาศาสตร์ 4) โรงพลศึกษาและสนามสำหรับประกอบกิจกรรมในหมวดวิชาพลานามัย 5) โรงฝึกงานสำหรับหมวดวิชาศิลปะปฏิบัติและ 6 ) ขาดสถานที่ที่ใช้ในการแนะแนวและขนาดของห้องสมุดไม่เพียงพอกับจำนวนผู้ใช้ เอกสารเกี่ยวกับการใช้หลักสูตร มีปัญหาเกี่ยวกับการขาดแคลนสิ่งต่อไปนี้ 1) คู่มือประเมินผลการเรียน ขาดแคลนในทุกหมวดวิชา 2) ประมวลการสอนหมวดวิชาที่ขาดคือ สังคมศึกษาและพลานามัย 3) โครงการสอน ขาดในหมวดวิชาสังคมศึกษา คณิตศาสตร์และหมวดวิชาภาษาอังกฤษ 4 ) คู่มือหลักสูตร หมวดวิชาที่ขาดคือ ภาษาไทย วิทยาศาสตร์และหมวดวิชาศิลปศึกษา เนื้อหาวิชา หมวดวิชาที่มีเนื้อหามากเกินไปคือ สังคมศึกษาและหมวดวิชาวิทยาศาสตร์ ซึ่งก่อให้เกิดปัญหาดังนี้คือ 1) เวลาที่สอนให้ครอบคลุมเนื้อหา 2) ความไม่เพียงพอของเวลาที่จะให้นักเรียนค้นคว้าด้วยตนเอง 3) การจัดตารางสอนให้รับกับวิชาที่เปิดสอนทั้งหมด งบประมาณ ปัญหาการขาดแคลนปรากฏในทุกด้านของการนำหลักสูตรไปใช้หมวดวิชาที่ยังขาดงบประมาณค่อนข้างน้อย คือภาษาไทย และหมวดวิชาสังคมศึกษา | |
dc.description.abstract | ||
dc.description.abstractalternative | The purposes of the study The intent of this study is to survey the problems of the 2518 B.E. Upper Secondary Curriculum Implementation in Educational Region 5. Procedures The questionnaires were constructed in the form of check-list, rating scale and open ended questions which comprised 14 sets. They were administored to personnel in 15 schools under the auspices of the Department of General Education, Ministry of Education. The subject personnel were composed of administrators, department heads, classroom instructors, and service personnels namely, counselors, registrars evaluators and librarians. The' questionnaires were completed and returned by 338 respondents (84.50 % of those sent.) The data were analysed using proportions, percentages, arithmetic means, standard deviations, and rank difference correlation coefficients. Findings Most of the personnel in upper secondary schools have the Bachelor’s degree or a higher degree 65.38 % The administrator department heads have more year of experience at the present position in school than the classroom instructors and service personnel. Most of the administrators, department heads and service personnel had in-service training in implementing the new curriculum. But more than half of the instructors, who directly implemented the curriculum; didn’t have in-service training. The shortage of instructional personnel appears in every subject areas especially in Social Studies, Health and Physical Education, English and Vocational Education. Only personnel in the Arithnatic Area have no problems. The service personnel (librarians, counselors, evaluators and registrars) all indicated personnel shortages. Lack of instructional facilities: (1) Necessary audio¬visual aids in many subject areas particularly in Thai, Social Studies and Vocational Education; (2) Texts in English, Art and Vocational Education; (3) Supplementary reading in Thai and Health and Physical Education. Inadequacy; of specific rooms and buildings: (1) Language Laborotories for Thai and English; (2) Specific rooms for Mathematics, Social Studies and Art; (3) Science Laboratories and Demonstration rooms for sciences; (4 ) Gymnesia and Play Grounds for Physical Education . Lack of Curriculum Materials; (1) Curriculum guides in all subject area; (2) Course syllabi in Social Studies and Health and Physical Education; (3)Guides, Syllabi , etc. in Social Studies, Mathematics and English; (k) Curriculum guides in Thai, Sciences and Art. Curriculum content: Excessive curriculum content in Social Studies and Sciences caused the problems of: (1) incomplete coverage of the curriculum; (2) Inadequate time for student to conduct independent studies; (3) Scheduling to accomodate all the subjects being offered. Budget :Lack of finalcial aid in all phases of curriculum implemention, especially in Thai and Social Studies. | |
dc.format.extent | 738538 bytes | |
dc.format.extent | 763073 bytes | |
dc.format.extent | 1981932 bytes | |
dc.format.extent | 802745 bytes | |
dc.format.extent | 4197376 bytes | |
dc.format.extent | 1944479 bytes | |
dc.format.extent | 2508561 bytes | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.title | การใช้หลักสูตรประโยคมัธยมศึกษาตอนปลาย ฉบับพุทธศักราช 2518 ในเขตการศึกษา 5 | en |
dc.title.alternative | Implementation of the 2518 B.E. upper secondary school curriculum in educational region 5 | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | บริหารการศึกษา | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Wichai_Ra_front.pdf | 721.23 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Wichai_Ra_ch1.pdf | 745.19 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Wichai_Ra_ch2.pdf | 1.94 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wichai_Ra_ch3.pdf | 783.93 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Wichai_Ra_ch4.pdf | 4.1 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wichai_Ra_ch5.pdf | 1.9 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Wichai_Ra_back.pdf | 2.45 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.