Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24493
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorบุณมี เณรยอด-
dc.contributor.authorสมบัติ พันธุ์คง-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2012-11-18T16:19:42Z-
dc.date.available2012-11-18T16:19:42Z-
dc.date.issued2520-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/24493-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2520en
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ของการวิจัย การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุเพื่อศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทด้านวิชาการของอาจารย์พยาบาลในสถาบันการศึกษาพยาบาลในกรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์เฉพาะดังนี้ 1. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทด้านวิชาการของอาจารย์พยาบาลระหว่างผู้บริหาร และอาจารย์พยาบาลในสถาบันการศึกษาพยาบาล 2. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทด้านวิชาการของอาจารย์พยาบาลระหว่างผู้บริหารและอาจารย์พยาบาลในสถาบันการศึกษาพยาบาล ที่มีวุฒิต่างกัน 3. เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทด้านวิชาการของอาจารย์พยาบาลระหว่างผู้บริหารและอาจารย์พยาบาลในสถาบันการศึกษาพยาบาลที่มีคณะแพทยศาสตร์กับผู้บริหารและอาจารย์พยาบาลในสถาบันการศึกษาพยาบาลที่ไม่มีคณะแพทยศาสตร์ วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างประชากรในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วยผู้บริหารสถาบันการศึกษาพยาบาลจำนวน 42 คน และอาจารย์พยาบาลซึ่งทำหน้าที่สอนทั้งในห้องเรียนและหรือทำหน้าที่ครูปฏิบัติการคลีนิค จำนวน 166 คนจากสถาบันการศึกษาพยาบาล 5 แห่งในกรุงเทพมหานครซึ่งได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นโดยอาศัยความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ และทำการทดลองขั้นต้น (Try out) กับอาจารย์พยาบาลนักศึกษาระดับปริญญาตรีและระดับปริญญาโทของแผนกวิชาพยาบาลศึกษาคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและหาความเชื่อมั่นของแบบสอบถามโดยวิธี Split Half Method ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามเท่ากับ 0.7832 หลังจากปรับปรุงแล้วจึงนำไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างประชากรที่เลือกไว้ จากแบบสอบถามที่แจกไปจำนวน 208 ฉบับได้รับแบบสอบถามที่สมบูรณ์สามารถนำมาวิเคราะห์ได้จำนวน 172 ฉบับหรือคิดเป็นร้อยละ 82.21 ซึ่งนำมาวิเคราะห์โดยใช้ค่าร้อยละค่าเฉลี่ยความเบี่ยงเบนมาตรฐานและเปรียบเทียบความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างประชากรโดยใช้อัตราส่วนวิกฤต (Critical Ratio) ผลการวิจัย 1. ความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทด้านวิชาการของอาจารย์พยาบาลระหว่างผู้บริหารและอาจารย์พยาบาลในสถาบันการศึกษาพยาบาลในแต่ละด้านและโดยส่วนรวม ไม่แตกต่างกันโดยค่าเฉลี่ยของความคิดเห็นของผู้บริหารสูงกว่าอาจารย์พยาบาล จึงสนองสมมติฐานที่ตั้งไว้ 2. ความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทด้านวิชาการของอาจารย์พยาบาลระหว่างกลุ่มผู้มีวุฒิปริญญาตรี และต่ำกว่ากับกลุ่มผู้มีวุฒิสูงกว่าปริญญาตรี ในแต่ละด้านแตกต่างกันในด้านการส่งเสริมการศึกษาและพัฒนาบุคลากรส่วนด้านอื่นไม่แตกต่างกัน และเมื่อเปรียบเทียบโดยส่วนรวมความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทด้านวิชาการของอาจารย์พยาบาลที่มีวุฒิต่างกัน ไม่แตกต่างกัน โดยกลุ่มผู้มีวุฒิสูงกว่าปริญญาตรีมีค่าเฉลี่ยของความคิดเห็นสูงกว่ากลุ่มผู้มีวุฒิปริญญาตรีและต่ำกว่าจึงสนองสมมติฐานที่ตั้งไว้ 3. ความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทด้านวิชาการของอาจารย์พยาบาล ระหว่างผู้บริหารและอาจารย์พยาบาลที่ปฏิบัติงานในสถาบันการศึกษาพยาบาลที่มีคณะแพทยศาสตร์ กับผู้บริหารและอาจารย์พยาบาลที่ปฏิบัติงานในสถาบันการศึกษาพยาบาลที่ไม่มีคณะแพทยศาสตร์ แตกต่างกันในด้านหลักสูตรและการสอนด้านการส่งเสริมการศึกษาและพัฒนาบุคลากร ด้านการวิจัยและเผยแพร่ความรู้ ส่วนด้านการวัดและประเมินผลการศึกษาไม่แตกต่างกันเมื่อเปรียบเทียบโดยส่วนรวมความคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทด้านวิชาการของอาจารย์พยาบาล ระหว่างผู้ที่ปฏิบัติงานในสถาบันการศึกษาพยาบาลที่มีและไม่มีคณะแพทยศาสตร์ แตกต่างกันโดยผู้ที่ปฏิบัติงานในสถาบันการศึกษาพยาบาลที่มีคณะแพทยศาสตร์ มีค่าเฉลี่ยของความคิดเห็นสูงกว่าผู้ที่ปฏิบัติงานในสถาบันการศึกษาพยาบาลที่ไม่มีคณะแพทยศาสตร์ จึงไม่สนองสมมติฐานที่ตั้งไว้-
dc.description.abstractalternativePurposes The purpose of this research was to investigate the opinions concerning the academic role of nursing instructors in nursing institutions in Bangkok Metropolis which had the following specific purposes : 1. To compare the opinions concerning the academic role of nursing instructors between the nursing education administrators and the nursing instructors. 2. To compare the opinions concerning the academic role of nursing instructors between the groups of nursing education administrators and nursing instructors who had different levels of education. 3. To compare the opinions concerning the academic role of nursing instructors between the groups of nursing education administrators and nursing instructors in the institutions which had the Faculty of Medicine and those who were in the institutions which did not have. Procedures The sample of this research consisted of forty-two nursing education administrators and one hundred and sixty-six nursing instructors from five nursing institutions in Bangkok Metropolis. The sample was selected by the Stratified Random Sampling method. Data were obtained by means of questionnaires. Pilot study and Split Half Method were employed to test the reliability of the questionnaires which had the value of 0.7832. Two hundred and eight questionnaires were sent out, one hundred and eighty-seven percent were returned. Only one hundred and seventy-two questionnaire or eighty- two percent were completed and be able to used for this research. The collected data were treated into percentage, means score, and standard deviation. The Critical Ratio was used to test the significant difference of the opinions responded. Results The results of this research were as follows : 1. There was no statistically significant difference in the opinions concerning the academic role of nursing instructors between the nursing education administrators and the nursing instructors. 2. There was no statistically significant difference in the opinions concerning the academic role of nursing instructors between the groups of nursing education administrators and nursing instructors who had different levels of education. 3. There was a statistically significant difference in the opinions concerning the academic role of nursing instructors between the groups of nursing education administrators and nursing instructors who were in the institutions which had the Faculty of Medicine and those who were in the institutions which did not have.-
dc.format.extent709194 bytes-
dc.format.extent903839 bytes-
dc.format.extent2073824 bytes-
dc.format.extent690364 bytes-
dc.format.extent1793764 bytes-
dc.format.extent2165422 bytes-
dc.format.extent1205571 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleบทบาทด้านวิชาการของอาจารย์พยาบาล ในสถาบันการศึกษาพยาบาลในกรุงเทพมหานครen
dc.title.alternativeThe academic role of nursing instructors in nursing institutions in Bankok metropolisen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineบริหารการศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sombut_Po_front.pdf692.57 kBAdobe PDFView/Open
Sombut_Po_ch1.pdf882.66 kBAdobe PDFView/Open
Sombut_Po_ch2.pdf2.03 MBAdobe PDFView/Open
Sombut_Po_ch3.pdf674.18 kBAdobe PDFView/Open
Sombut_Po_ch4.pdf1.75 MBAdobe PDFView/Open
Sombut_Po_ch5.pdf2.11 MBAdobe PDFView/Open
Sombut_Po_back.pdf1.18 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.