Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25060
Title: ปัญหาการนิเทศวิชาสุขศึกษาในระดับมัธยมศึกษา
Other Titles: Problems of health education supervision at the secondary education level
Authors: ฉวีวรรณ ไหวพริบ
Advisors: เทพวาณี หอมสนิท
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: สุขศึกษา -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
การนิเทศการศึกษา
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาการนิเทศสุขศึกษาในระดับมัธยมศึกษาและเพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหาการนิเทศวิชาสุขศึกษาของศึกษานิเทศก์ที่มีประสบการณ์ทำงานในตำแหน่งศึกษานิเทศก์ต่างกัน ผู้วิจัยได้ส่งแบบสอบถามจำนวน 159 ฉบับไปยังกลุ่มประชากรซึ่งเป็นศึกษานิเทศก์กรม ศึกษานิเทศก์เขต ศึกษานิเทศก์จังหวัด สังกัดกรมพลศึกษาและกรมสามัญศึกษาที่มีหน้าที่นิเทศวิชาสุขศึกษา แบบสอบถามได้รับกลับคืนมาจำนวน 155 ฉบับ คิดเป็นร้อยละ97.48 วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเอสพีเอสเอสเอกซ์ ( SPSSX – Statistical Package for the Social Science X ) ผลการวิจัยพบว่า ศึกษานิเทศก์ส่วนมากเป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง 30-40 ปี วุฒิการศึกษาระดับปริญญาตรี วิชาเอกพลศึกษา ศึกษานิเทศก์มีปัญหาในการนิเทศวิชาสุขศึกษาโดยส่วนรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาแต่ละด้านศึกษานิเทศก์ส่วนมากมีปัญหาอยู่ในระดับปานกลางได้แก่ ด้านหลักสูตรและเนื้อหาวิชา ด้านวิธีสอนและกิจกรรมการเรียนการสอน ด้านวัสดุอุปกรณ์การสอน ด้านการประเมินผลการเรียนการสอน ด้านการออกเยี่ยมโรงเรียน ด้านการบริหาร และด้านปัญหาอื่นๆ ยกเว้นด้านปัญหาส่วนตัวของศึกษานิเทศก์ที่มีปัญหาอยู่ในระดับน้อย ปัญหาที่ศึกษานิเทศก์มีอยู่ในระดับมากได้แก่ ปัญหาเกี่ยวกับเวลาในการนิเทศวิชาสุขศึกษาเนื่องจากปฏิบัติงานอื่นที่ได้รับหมอบหมายมาก หน้าที่ของศึกษานิเทศก์กำหนดไว้กว้างเกินไปยากในการปฏิบัติได้ครบถ้วน ระยะเวลาในการออกเยี่ยมโรงเรียน การสนับสนุนงบประมาณในด้านต่างๆ และโรงเรียนที่ออกเยี่ยมอยู่ห่างไกลและกระจัดกระจาย เมื่อเปรียบเทียบปัญหาการนิเทศวิชาสุขศึกษาของนิเทศก์ที่มีประสบการณ์การทำงานในตำแหน่งศึกษานิเทศก์น้อยกว่า 5 ปี ระหว่าง 5-10 ปี และมากกว่า 10 ปี โดยส่วนรวมแต่ละด้าน ผลปรากฏว่าศึกษานิเทศก์ที่มีประสบการณ์การทำงานในตำแหน่งศึกษานิเทศก์ต่างกันประสบปัญหาการนิเทศวิชาสุขศึกษาไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purposes of the research were to study the problems of health education supervision at the secondary education level, and to compare the opinions of •the supervisors who had different years of working experience concerning the problems of health education supervision. Questionnaires were sent to the population which were 159 health education supervisors who worked in the central, regional, and the provincial offices of the Department of Physical Education and the Department of General Education, Ministry of Education. One hundred and fifty five questionnaires accounted for 97.48 percent, were returned. The data were then analyzed to obtain percentages, arithmetic means, standard deviations, and One-Way Analysis of Variance using the SPSSX computer program. The findings were : most supervisors were males, 30-40 years of age with a bachelor of education in physical education. It was found that the supervisor had moderate problems in supervising health education as a whole area was also examined; it was found that most supervisors had moderate problem in the areas which were the curriculum and contents, teaching methods and teaching-learning activities, teaching materials, evaluation, school visiting, administration, and others, except the supervisor's personal problem area was low. The high level problems which the supervisor faced were: the insufficient time for health education supervision because of over work on other tasks which assigned by the upper authorities; the stated duties were too broad and hard to accomplish; insufficient time of school visiting for health education supervision; insufficient budget for health education supervision; and schools were situated in remote areas and scattering. The comparison of the supervisor’s years of working experience showed that there was no significant difference at the level of .05 among those who had worked less than 5 year, 5-10 years, and over 10 years, both in all areas.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25060
ISBN: 9745667013
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chaweewan_Wa_front.pdf460.21 kBAdobe PDFView/Open
Chaweewan_Wa_Ch1.pdf405.85 kBAdobe PDFView/Open
Chaweewan_Wa_Ch2.pdf566.32 kBAdobe PDFView/Open
Chaweewan_Wa_Ch3.pdf308.44 kBAdobe PDFView/Open
Chaweewan_Wa_Ch4.pdf834.33 kBAdobe PDFView/Open
Chaweewan_Wa_Ch5.pdf682.43 kBAdobe PDFView/Open
Chaweewan_Wa_back.pdf1.02 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.