Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25861
Title: การศึกษาความคงที่ของค่าพารามิเตอร์ความยากในการวิเคราะห์ ข้อกระทงด้วยราสช์โมเดล
Other Titles: A study of stability of difficulty parameters in item analysis with Rasch Model
Authors: สมพร บุญอิ่ม
Advisors: อุทุมพร จามรมาน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ในการศึกษาความคงที่ของค่าพารามิเตอร์ความยาก (b) ของราสช์โมเดลได้มีการศึกษากับกลุ่มตัวอย่างที่มาจากประชากรเดียวกัน หรือศึกษากับกลุ่มตัวอย่างที่มาจากประชากรที่เป็นอิสระและมีการแจกแจงความสามารถแบบปกติ สำหรับในการวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาความคงที่ของค่าพารามิเตอร์ความยากของราสช์โมเดล กับประชากรที่มีความสามารถต่างกัน 3 กลุ่มมีความโด่งและความแปรปรวนเท่ากัน การแจกแจงของแต่ละกลุ่มคือ 1) แจกแจงเบ้บวกสำหรับกลุ่มที่มีความสามารถต่ำ 2) แจกแจงแบบปกติสำหรับกลุ่มที่มีความสามารถปานกลาง 3) แจกแจงแบบเบ้ลบสำหรับกลุ่มที่มีความสามารถสูง โดยใช้เทคนิคมอนติคาร์โลซิมูเลชั่นจำลองการทดลองในเครื่องคอมพิวเตอร์ ศึกษากับกลุ่มตัวอย่างกลุ่มละ 500 ข้อสอบจำนวน 30 ข้อทดลองซ้ำใจแต่ละสถานการณ์ 100 ครั้ง ผลวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. พารามิเตอร์ความยากของข้อทดสอบมีความคงที่ในข้อที่มีค่าความยากที่ไม่สูงหรือต่ำมาก กลุ่มที่มีความสามารถต่ำและกลุ่มที่มีความสามารถสูง พารามิเตอร์ความยากมีความคงที่ 19 ข้อ กลุ่มที่มีความสามารถปานกลางมีความคงที่ 22 ข้อ 2. การกระจายของค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของค่าความยาก (SE-b) ของข้อทดสอบ เมื่อผู้สอบมีความสามารถต่ำและผู้สอนมีความสามารถสูงมีแนวโน้มไม่เป็นสมมาตร เมื่อผู้สอบมีความสามารถปานกลางมีการกระจายเป็นสมมาตร 3. ค่าความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของค่าความยากของข้อทดสอบทั้ง 3 กลุ่มไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ (P < .05)
Other Abstract: So far there have been Studies the consistency of the difficulty parameters (b’s) of the test items analyzed by means of Rasch Model only when the samples were from the same populations or were indepdent and normally distributed. Therefore, the main purpose of this study was to investigate the consistency of such parameters when the samples were from 3 different populations with different learning ability levels, the same kurtosis and equal variances : 1) positive skewness and low ability, 2) normal distribution and moderate ability, and 3) negative skewness and high ability. A Monte Carlo Simulation technique was applied by means of using computer simulations. The so-called subjects by of each group were 500 and supposed to take a 30 item test in 100 simulations. The findings were summarized as follows : 1. The estimated difficulty parameters (b’s) for moderate items were consistent. From 30 items, 19 items from the low and high ability groups, and 22 items from the moderate ability, were found in such a circumstance. 2. The standard errors of estimated parameters showed nonsymmetrically distributed for which examinees in low and high ability. Howevers, for the moderate ability group, the standard errors of estimated were symmetrically distributed. 3. The standard errors of the difficulty indices of the 3 group of examinees were not significantly different (P< .05)
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25861
ISBN: 9745649597
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Somporn_Bo_front.pdf450.19 kBAdobe PDFView/Open
Somporn_Bo_ch1.pdf496.24 kBAdobe PDFView/Open
Somporn_Bo_ch2.pdf609.16 kBAdobe PDFView/Open
Somporn_Bo_ch3.pdf622.09 kBAdobe PDFView/Open
Somporn_Bo_ch4.pdf578.18 kBAdobe PDFView/Open
Somporn_Bo_ch5.pdf376.2 kBAdobe PDFView/Open
Somporn_Bo_back.pdf1.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.