Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25919
Title: การเปรียบเทียบปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ของนักศึกษาวิชาเอกสังคมศึกษา ระดับปริญญาตรีที่มีสภาพต่างกัน ในกลุ่มวิทยาลัยครูภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Other Titles: A comparison of students' problems in teacher training of undergraduate students majoring in social studies with different backgrounds in northeatern teachers colleges
Authors: สวัสดิ์ ผลอุทิศ
Advisors: ลิ้นจี่ หะวานนท์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2527
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ( 1 ) ระดับของปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพของนักศึกษาวิชาเอกสังคมศึกษา ระดับปริญญาตรีที่เกิดจากสภาพต่างกันของนักศึกษากลุ่มวิทยาลัยครูภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ( 2 ) เปรียบเทียบปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ได้แก่ ปัญหาการเตรียมและบันทึกการสอน การดำเนินการสอน การวัดผลและการประเมินผล ความร่วมมือของโรงเรียน ครูพี่เลี้ยง อาจารย์นิเทศก์ และพื้นฐานความรู้วิชาสังคมศึกษากับสภาพต่างกันของนักศึกษา คือ เพศของนักศึกษา อาชีพ ฐานะและระดับความรู้ของผู้ปกครอง สมมุติฐานของการวิจัย ( 1 ) นักศึกษาเพศชายกับเพศหญิงจะมีปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพต่างกัน ( 2 ) นักศึกษาที่ผู้ปกครองมีอาชีพต่างกันจะมีปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพต่างกัน ( 3 ) นักศึกษาที่ผู้ปกครองมีฐานะต่างกันจะมีปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพต่างกัน ( 4 ) นักศึกษาที่ผู้ปกครองมีระดับการศึกษาต่างกันจะมีปัญหาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพต่างกัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักศึกษาวิชาเอกสังคมศึกษา ระดับปริญญาตรีของกลุ่มวิทยาลัยครูภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 8 แห่ง ซึ่งออกฝึกปะสบการณ์วิชาชีพในปีการศึกษา 2525 จำนวน 282 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม 2 ตอน ตอนแรกถามเกี่ยวกับสภาพของนักศึกษาที่ออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพ 4 ตัวแปร ตอนที่ 2 ถามเกี่ยวกับปัญหาในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพของนักศึกษา 7 ตัวแปร การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการเปรียบเทียบด้วยค่าทดสอบที ( t – test ) และค่าทดสอบเอฟ ( F – test ) ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1. ระดับปัญหาการฝึกประสบการณ์ 7 ด้าน กับสภาพที่ต่างกันของนักศึกษา 4 ด้าน พบว่า มีปัญหาในระดับปานกลางมากที่สุด ได้แก่ ปัญหาการเตรียมและบันทึกการสอน ปัญหาการดำเนินการสอน ปัญหาการวัดและประเมินผล ปัญหาความร่วมมือของโรงเรียน ปัญหาความร่วมมือของครูพี่เลี้ยง ปัญหาความร่วมมือของอาจารย์นิเทศก์ และปัญหาความรู้พื้นฐานของวิชาสังคมศึกษา 2. นักศึกษาเพศชายกับเพศหญิง มีปัญหาในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( P < .05 ) 3. นักศึกษาที่ผู้ปกครองมีอาชีพแตกต่างกัน มีปัญหาในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( P < .05 ) 4. นักศึกษาที่ผู้ปกครองมีฐานะหรือรายได้แตกต่างกัน มีปัญหาในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( P < .05 ) 5. นักศึกษาที่ผู้ปกครองมีระดับการศึกษาแตกต่างกัน มีปัญหาในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ( P < .05 )
Other Abstract: Purpose of the Study 1. To study the level of problems on teacher training of undergraduate students majored in social studies, in different backgrounds, in Northeastern Teachers Colleges. 2. To compare the problem on teacher training such as teaching preparation and record instruction teaching procedure, teaching evaluation, co-operation in school, advisor teacher, supervisors, basic knowledge in social studies and different backgrounds of students such as sex, occupation, status and educational backgrounds of parents. Assumption 1. Male and female students will have different problem on teacher training. 2. Students, whose parents have different occupation, will have different problem on teacher training. 3. Students, whose parents have different status, will have different problem on teacher training. 4. Students, whose parents have different educational back-grounds, will have different problem on teacher training. The 282 undergraduate students, of 8 Northeastern Teachers Colleges, who majored in social studies and had teacher training in academic year 1982, were sampled. The questionnaire method was utillzed in 2 sections. Section one consists 4 variables of students backgrounds. Section two consist of 7 variables of teacher training. The data was analyzed by using percentage, arithmetic mean, standard deviation, t-test, and F-test. Finding 1. The problems most occurred at the average level, between 7 variables of teacher training and 4 variables of students back-grounds, on teaching preparation and record instruction, teaching procedure, evaluation, co-operation in school, co-operation of advisor teacher and supervisor, basic knowledge of social studies. 2. There was no significant difference between male and female students on problem of teacher training at level P < .05. 3. There was no significant difference between students, whose parents have different occupations, on problem of teacher training at level p < .05. 4. There was no significant different between students, whose parents have different status, on problem of teacher training at level p < .05. 5. There was no significant different between students, whose parents have different educational backgrounds, on problem of teacher training at level p < .05.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สารัตถศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25919
ISBN: 9745639672
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Savadi_Ph_front.pdf520.2 kBAdobe PDFView/Open
Savadi_Ph_ch1.pdf628.94 kBAdobe PDFView/Open
Savadi_Ph_ch2.pdf1.36 MBAdobe PDFView/Open
Savadi_Ph_ch3.pdf397.49 kBAdobe PDFView/Open
Savadi_Ph_ch4.pdf1.16 MBAdobe PDFView/Open
Savadi_Ph_ch5.pdf1.51 MBAdobe PDFView/Open
Savadi_Ph_back.pdf897.7 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.