Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25961
Title: ความคิดเห็นของครูพลศึกษาและนักเรียน เกี่ยวกับปัญหาการเรียนการสอนวิชากรีฑา ในชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
Other Titles: Opinions of physical education teachers and students concerning problems of teaching and learning athletics in lower secondary school
Authors: สรชัย ศุภสิทธิกุลชัย
Advisors: ฟอง เกิดแก้ว
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2528
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็นของครูพลศึกษาและนักเรียนเกี่ยวกับปัญหาการเรียนการสอนวิชากรีฑาในชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ผู้วิจัยได้สร้างแบบสอบถามแบบให้ตรวจคำตอบ มาตราส่วนประเมินค่าและแบบปลายเปิด โดยส่งแบบสอบถามไปยังครูพลศึกษาจำนวน 137 คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 685 คน ได้รับแบบสอบถามคืนมาทั้งหมดร้อยละ 91.24 และ 90.94 ตามลำดับ การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูพลศึกษาและนักเรียนโดยใช้ค่า “ ที” แล้วนำเสนอในรูปตาราง ผลการวิจัยพบว่าการเรียนการสอนวิชากรีฑามีปัญหาดังต่อไปนี้ 1. ปัญหาเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ในการเรียนการสอนวิชากรีฑาครูพลศึกษาและนักเรียนมีความคิดเห็นว่ามีปัญหาอยู่ในระดับมาก คือ การส่งเสริมให้นักเรียนเป็นผู้เล่นกรีฑาที่ดี การส่งเสริมให้นักเรียนมีน้ำใจนักกีฬา การส่งเสริมให้นักเรียนมีความรับผิดชอบ ส่วนปัญหาเกี่ยวกับการส่งเสริมให้นักเรียนมีทักษะขั้นสูงของกรีฑาครูพลศึกษามีความคิดเห็นว่าอยู่ในระดับมากที่สุดแต่นักเรียนมีความคิดเห็นว่าอยู่ในระดับน้อย 2. ปัญหาเกี่ยวกับวิธีดำเนินการและการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนวิชากรีฑา ครูพลศึกษาและนักเรียนมีความคิดเห็นว่ามีปัญหาอยู่ระดับมาก คือ การประสบความสำเร็จในการฝึกทักษะกรีฑาของนักเรียนในแต่ละคาบเรียน การให้นักเรียนค้นคว้าวิชากรีฑาเพิ่มเติมจากตำราหรือเอกสารต่าง ๆ และจำนวนหรือปริมาณนักเรียนในแต่ละคาบเรียนมีมากเกินไป 3. ปัญหาเกี่ยวกับการเรียนการสอนเนื้อหาวิชากรีฑา 1 ( พ.203) ครูพลศึกษามีความคิดเห็นว่าปัญหาทั้งหมดอยู่ในระดับน้อย ส่วนปัญหาที่นักเรียนมีความคิดเห็นว่าอยู่ในระดับมาก คือ การวิ่ง – การจดเท้า การเตะเท้านำและการทำสปริงเท้าตามในการกระโดดสูงแบบกรรไกรทางตรง การลงสู่พื้นของท่ากระโดดสูงแบบกรรไกรทางตรง และการลงสู้พื้นของท่ากระโดดสูงแบบกรรไกรทางเฉียง 4. ปัญหาเกี่ยวกับการเรียนการสอนเนื้อหาวิชากรีฑา 2 (พ.204) ครูพลศึกษาและนักเรียนมีความคิดเห็นว่ามีปัญหาอยู่ในระดับมาก คือ การเคลื่อนที่หมุนตัวเพื่อขว้างจักร และทิศทางและมุมของการขว้างจักร 5. ปัญหาเกี่ยวกับอุปกรณ์และสถานทีในการเรียนการสอนวิชากรีฑา ครูพลศึกษาและนักเรียนมีความคิดเห็นว่ามีปัญหาอยู่ในระดับมากที่สุด คือ สถานที่อาบน้ำชำระล้างร่างกายหลังจากการเรียนการสอนวิชากรีฑา สำหรับปัญหาที่ครูพลศึกษาและนักเรียนมีความคิดเห็นว่าประสบมาก คือ สถานที่สำหรับเปลี่ยนเครื่องแต่งกายเพื่อการเรียนการสอนวิชากรีฑา จำนวนรั้วกระโดดที่ใช้ในการเรียนการสอนวิ่งกระโดดข้ามรั้ว จำนวนจักรที่ใช้ในการเรียนการสอนขว้างจักร จำนวนเบาะลดแรงกระแทกในการเรียนการสอนกระโดดสูง และจำนวนที่ยันเท้าสำหรับการเรียนการสอนท่าตั้งต้นในการวิ่ง 6. ปัญหาเกี่ยวกับการวัดและการประเมินผลวิชากรีฑา ครูพลศึกษาและนักเรียนมีความคิดเห็นว่ามีปัญหามาก คือ ความเพียงพอของเวลาที่ใช้ในการทดสอบทักษะ ส่วนปัญหาเกี่ยวกับการวัดและประเมินผลของครูในแต่ละคาบเรียน ครูพลศึกษามีความคิดเห็นว่ามีปัญหาอยู่ในระดับน้อยแต่นักเรียนมีความคิดเห็นว่ามีปัญหาอยู่ในระดับมากที่สุด 7. ปัญหาเกี่ยวกับกิจกรรมเสริมหลักสูตรวิชากรีฑา ครูพลศึกษาและนักเรียนมีความคิดเห็นว่ามีปัญหาอยู่ในระดับมากที่สุดคือ โอกาสที่ครูพลศึกษาจะจัดนิทรรศการหรือจัดฉายภาพยนตร์เกี่ยวกับกรีฑาเพื่อเป็นการส่งเสริมการเรียนการสอน ส่วนปัญหาที่ครูพลศึกษาและนักเรียนมีความคิดเห็นว่ามีปัญหาอยู่ในระดับมาก คือ โอกาสที่ครูพลศึกษาจะให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติมในการฝึกทักษะกรีฑาแก่นักเรียนนอกเวลาเรียน โอกาสในการเข้าร่วมแข่งขันกรีฑาภายในและกรีฑาระหว่างโรงเรียน และโอกาสในการฝึกทักษะกรีฑานอกเวลาของนักเรียน จากการทดสอบค่า “ที” ปรากฏว่า ความคิดเห็นของครูพลศึกษาและนักเรียนเกี่ยวกับปัญหาการเรียนการสอนวิชากรีฑาในชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ค่าของความคิดเห็นมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 ในเรื่องปัญหาเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ในการเรียนการสอนวิชากรีฑา ปัญหาเกี่ยวกับการเรียนการสอนเนื้อหาวิชากรีฑา 2 (พ.204) ปัญหาเกี่ยวกับอุปกรณ์และสถานที่ในการเรียนการสอนวิชากรีฑา และปัญหาเกี่ยวกับการวัดและการประเมินผลวิชากรีฑา
Other Abstract: The purpose of this study was to investigate the problem of learning and teahing athletics in lower secondary schools. Two sets of questionnaires informs of check list, rating scales and open-ended were constructed and sent to 137 physical education teachers and 685 students who were in Mathayomsuksa 2. Ninety-one point two –four percent and ninety point nine-four percent of questionnaires were returned. The obtained data were then analysed into percentage and means. The t-test was also used to determine the level of significant difference. It was found that the problems in learning and teaching athletics were as follow: 1. Opinions of physical education teachers and students concerning problems of objectives in teaching and learning athletics were in high level that to encourage students being good athletes, spirit and responsibilities. Problems concerning of encouraging students to have advanced athletic skills, opinions of physical education teachers were in high level but the students in low level. 2. Opinions of physical education teachers and students concerning problems of the process in teaching and learning athletics were in high level in succeeded in practicing athletics skills each period, lacking of athletics books and number of student overmuch. 3. Opinions of physical education teacher concerning problems of the content of athletics 1 were in low level for all problems but the students in high level that were the students difficulty in runnig high jump and landing scissor form. 4. Opinions of physical education teachers and students concerning of the content of athletics 2 were in hugh level in body rotation discus throw and direction and angle discus throw. 5. . Opinions of physical education teachers and students concerning problems of facilities and equipment were in highest level in shortage of bathroom and were in high level in shortage of dressing room. Starting block, discus and fence. 6. Opinions of physical education teachers and students concerning problems of evaluation in teaching and learning athletics were in high level in time-shortage for testing skills. Problems of evaluation each period, opinions of physical education teacher were in low level but the students in the highest level. 7. Opinions of physical education teachers and students concerning problems of extra-curriculum in teaching and learning athletics were in highest level in lacking of exhibition or films to encourage teaching and learning and were in high level in chance for practicing after school hours and participate in intra-inter mural athletics. The t-test comparing the problems of teachers and students in teaching and learning athletics showed a significant difference at .01 level in problems concerning objectives in teaching and learning, content of athletics 2, facilities and equipment and evaluation.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/25961
ISBN: 9745640018
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sorachai_Su_front.pdf547.8 kBAdobe PDFView/Open
Sorachai_Su_ch1.pdf620.91 kBAdobe PDFView/Open
Sorachai_Su_ch2.pdf981.13 kBAdobe PDFView/Open
Sorachai_Su_ch3.pdf419.89 kBAdobe PDFView/Open
Sorachai_Su_ch4.pdf1.55 MBAdobe PDFView/Open
Sorachai_Su_ch5.pdf782.71 kBAdobe PDFView/Open
Sorachai_Su_back.pdf1.44 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.