Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26946
Title: | การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่าน World Wide Web ของสื่อมวลชนไทย |
Other Titles: | Information diffusion of the Thai media through the World Wide Web |
Authors: | ศุจิกา ดวงมณี |
Advisors: | อรรณพ เธียรถาวร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2539 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษาวิจัยเรื่อง การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่าน World Wide Web ของสื่อมวลชนไทยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบการใช้ World Wide Web เพื่อการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารของสื่อมวลชนไทยที่ต่างประเภทกัน และวิเคราะห์รูปแบบข่าวสารที่เผยแพร่บน World Wide Web โดยสื่อมวลชนไทย รวมทั้งศึกษาถึงทิศทางและแนวโน้มของสื่อสารมวลชนไทยบน World Wide Web ซึ่งผลการวิจัยมีดังนี้ :-สื่อมวลชนไทยในปัจจุบันนั้นใช้ช่องทาง World Wide Web เพื่อการส่งเสริมภาพลักษณ์ขององค์กรและเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับการสื่อสารข้อมูลไปในระดับโลก เนื่องจาก World Wide Web เป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่มีข้อได้เปรียบทางด้านความเร็ว สามารถนำเสนอได้หลายรูปแบบในเวลาเดียวกัน และเป็นช่องทางในการแพร่กระจายข่าวสารไปถึงระดับโลกได้ในราคาที่ต่ำกว่าสื่อประเภทอื่น รูปแบบของข่าวสารของสื่อมวลชนไทยประเภทต่างๆ ที่ปรากฏบน World Wide Web นั้นมีความแตกต่างไปตามวัตถุประสงค์ โดยส่วนใหญ่แล้วมีรูปแบบที่เรียบง่าย เป็นตัวหนังสือ และมีภาพประกอบมากในสื่อประเภทนิตยสาร สำหรับสื่อประเภทวิทยุและโทรทัศน์มีการนำเสนอข้อมูลภาพเคลื่อนไหวและเสียง ในอนาคตสื่อมวลชนไทยมีแนวโน้มที่จะใช้ World Wide Web เป็นช่องทางในการเผยแพร่ข่าวสารมากขึ้น ในรูปแบบที่ทันสมัย และติดตามเทคโนโลยีมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตามยังคำนึงถึงความสะอาดของผู้ใช้งานเป็นหลัก |
Other Abstract: | The objectives of this research were threefold : (1); to study how different Thai media used WWW as their diffusion channel. (2); to analyze patterns of information presentation in the WWW by Thai media . (3); to study the trend of the using this technology. Results demonstrated that Thai media used the WWW as a new transmission media improving their images. Furthermore, this technology wasalso an alternative to increase opportunity of being worldwide service organization for them. This was because the WWW had capability to send many patterns of data with a very high speed. Moreover, when compared to other kinds of media, the WWW was able to transmit data to a wider area with a lower cost. Regarding Thai media presentation in the WWW, there were differences in information and designs from one to another due to their organizational objectives. Nevertheless, there were some common characters in their presentation. Most of the media used simple layout which contained only text and graphics, while magazine and television applied audio and animation transmission technique to their WWW page. Most Thai media used WWW as their diffusion channel and always followed up with new technology. However, they still took their customers’ needs as a main concern for their services. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2539 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การสื่อสารมวลชน |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/26946 |
ISBN: | 9746358553 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Sujika_do_front.pdf | 5.27 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sujika_do_ch1.pdf | 8.6 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sujika_do_ch2.pdf | 7.33 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sujika_do_ch3.pdf | 2.02 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sujika_do_ch4.pdf | 41.54 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sujika_do_ch5.pdf | 7.85 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Sujika_do_back.pdf | 1.92 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.