Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27145
Title: การทดลองใช้แบบจำลองขอบเขตหน้าที่และเกณฑ์มาตรฐาน ของครูประถมศึกษา ณ วิทยาลัยครูเทพสตรี
Other Titles: An experimental application of a model of task and criterion profiles for elementary school teachers at Tepsatri Teachers College
Authors: สุคนธ์ เครือน้ำคำ
Advisors: อุมา สุคนธมาน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2520
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย วิทยานิพนธ์นี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยเรื่องขอบเขตหน้าที่และเกณฑ์มาตรฐานของครูประถมศึกษา ซึ่งแผนกวิชาประถมศึกษาเป็นเจ้าของโครงการ ผู้วิจัยมีหน้าที่ใช้แบบจำลองขอบเขตหน้าที่และเกณฑ์มาตรฐานของครูประถมศึกษา ณ วิทยาลัยครูเทพสตรี เพื่อตรวจสอบขอบเขตหน้าที่และเกณฑ์มาตรฐานของครูประถมศึกษาในแบบจำลองกับหลักสูตรการฝึกหัดครู และสำรวจความมั่นใจในการปฏิบัติงานครูเกี่ยวกับขอบเขตหน้าที่และเกณฑ์มาตรฐานของครูประถมศึกษา วิธีดำเนินการวิจัย 1. ศึกษาเอกสารและผลงานวิจัยที่เกี่ยวกับขอบเขตหน้าที่และเกณฑ์มาตรฐานของครูประถมศึกษา และแบบจำลองขอบเขตหน้าที่และเกณฑ์มาตรฐานของครูประถมศึกษาซึ่งคณะผู้วิจัยแผนกวิชาประถมศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสร้างขึ้น 2. ใช้แบบจำลองดังกล่าวเป็นพื้นฐานในการสร้างแบบสำรวจ 2 ชุด คือ แบบสำรวจหลักสูตรและรายวิชาเรียนในวิทยาลัยครู และแบบสำรวจความมั่นใจในการปฏิบัติงานครู ซึ่งแต่ละชุดประกอบด้วยขอบเขตหน้าที่และเกณฑ์มาตรฐานของครูประถมศึกษา จำนวน 131 ข้อ โดยครอบคลุมเนื้อหา 4 หมวด คือ หมวด ก. ความรู้ของครู (ความรู้วิชาสามัญ และความรู้วิชาครู) หมวด ข. ทักษะในการสอนของครู หมวด ค. ทัศนคติของครู และหมวด ง. หน้าที่และงานของครู 3. นำแบบสำรวจชุดแรกไปตรวจสอบกับหลักสูตรและรายวิชาเรียนในวิทยาลัยครูและสอบถามอาจารย์ผู้สอนในวิทยาลัยครูเทพสตรี วิทยาลัยครูนครสวรรค์ และวิทยาลัยครูพระนครศรีอยุธยา แห่งละ 15 คน รวม 45 คน 4. นำแบบสำรวจชุดที่ 2 ไปสำรวจความมั่นใจในการปฏิบัติงานครูของครูประจำการที่สอนอยู่ในโรงเรียนโครงการฝึกสอนและโครงการบริการการศึกษาวิทยาลัยครูเทพสตรี จำนวน 68 คน แล้วนำผลสำรวจความมั่นใจครั้งแรกมาวิเคราะห์เพื่อหารายการที่ครูมั่นใจน้อยมาจัดเป็นหัวข้ออบรมเสริมสมรรถภาพทางวิชาการให้แก่ครูขึ้นที่วิทยาลัยครูเทพสตรี 5. หลังการอบรม ให้ครูผู้เข้ารับการอบรมตอบแบบสำรวจอีกครั้งหนึ่ง 6. นำข้อมูลจากแบบสำรวจมาวิเคราะห์ การสำรวจหลักสูตรและรายวิชาเรียนในวิทยาลัยครู นำเสนอในรูปตารางประกอบความเรียง ส่วนการสำรวจความมั่นใจในการปฏิบัติงานครู ได้คำนวณค่าเฉลี่ย ส่วนค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และเปรียบเทียบความมั่นใจโดยเฉลี่ยโดยทดสอบค่าซี (z-test) ผลการวิจัย 1. การสำรวจหลักสูตรและรายวิชาเรียนในวิทยาลัยครู ปรากฏว่า วิทยาลัยครูเทพสตรี วิทยาลัยนครสวรรค์ และวิทยาลัยพระนครศรีอยุธยา ได้เปิดสอนวิชาต่างๆ ที่เหมือนๆ กันซึ่งสนองขอบเขตหน้าที่และเกณฑ์ มาตรฐานของครูประถมศึกษาทุกรายการในระดับ ป.กศ.สูง และเกือบทุกรายการในระดับปริญญาตรี 2. การสำรวจความมั่นใจใจการปฏิบัติงานครู ปรากฏว่า ค่าซี (z-test) ที่คำนวณได้มีนัยสำคัญที่ระดับ .01 และที่ระดับอื่นที่ต่ำกว่า คะแนนความมั่นใจของครูเกี่ยวกับรายการทั้ง 4 หมวด คือ ความรู้ของครู (ความรู้วิชาสามัญและความรู้วิชาครู) ทักษะในการสอนของครู ทัศนคติของครู และหน้าที่และงานของครูก่อนและหลังการอบรมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 และที่ระดับอื่นที่ต่ำกว่า คะแนนเฉลี่ยความมั่นใจของครูทุกหมวดหลังการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรม จึงกล่าวได้ว่า โดยเฉลี่ยแล้วหลังการอบรม ครูมีความมั่นใจในด้านความรู้ของครู ทักษะในการสอน ทัศนคติของครู และหน้าที่และการงานของครูสูงกว่าก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 และที่ระดับอื่นที่ต่ำกว่า ผลการอบรมจึงสอดคล้องกับสมมติฐานว่า ครูประถมศึกษามีความมั่นใจในการปฏิบัติงานเพิ่มขึ้นหลังจากได้รับการอบรมเสริมสมรรถภาพทางวิชาการ
Other Abstract: This thesis is a part of the field action research Project Element (c) (d) ; Task Analysis and Criterion Profiles of Teaching at the Primary Level, of which the writer is assigned as a research assistant. The mentioned project is done by research staffs from the Department of Elementary Education, Faculty of Education with the UNICEF financial support. Purposes: The Purposes of this study are as follows: 1.To check a model of task and criterion profiles for elementary school teachers with Teachers College Curiculum. 2. To survey teacher’s confidence in performing their work concerning task and criterion profiles for elementary school teachers. 3. To compare teacher’s confidence in performing their work before and after the in-service training. Procedures: 1. Two kinds of questionnaires were constructed to evaluate General and Professional Education, Technical Skills of Teaching, Attitudes and Values, and job Description. 2. The First questionnaires was used for checking the model with the curriculum of Tepsatri, Nakonsawan, Ayudtaya Teachers College; the second one was used for surveying the confidence of sixty-eight elementary school teachers in performing their work before and after the in-service training. 3. The obtained data were analyzed by using mean, standard deviation and z-test. The conclusions were presented in tables with explanation. Findings: 1. The model of task and criterion profiles for elementary school teachers is similar to that of the Diploma Education Program; whereas the model is slightly different to that of the Bachelor’s Degree Program. 2. The result of z-test analysis were significantly different at the .01 level and at the other lower level. The teachers, on the average, gain more confidence in General and Professional Education, Technical Skills of Teaching, Attitudes and Values, and Job Description after the in-service training. 3. The hypothesis was tested and finally accepted.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2520
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประถมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27145
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sukonth_Kr_front.pdf468.9 kBAdobe PDFView/Open
Sukonth_Kr_ch1.pdf615.79 kBAdobe PDFView/Open
Sukonth_Kr_ch2.pdf911.66 kBAdobe PDFView/Open
Sukonth_Kr_ch3.pdf411.7 kBAdobe PDFView/Open
Sukonth_Kr_ch4.pdf702.69 kBAdobe PDFView/Open
Sukonth_Kr_ch5.pdf621.12 kBAdobe PDFView/Open
Sukonth_Kr_back.pdf3.4 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.