Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27226
Title: การสร้างแบบฝึกการอ่านคำที่ใช้อักษร ร ล ว ควบกล้ำ สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่สี่
Other Titles: A construction of pattern drills in reading cluster of r,l and w for prathom suksa four
Authors: สุดารัตน์ เอกวานิช
Advisors: กิติยวดี บุญซื่อ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Issue Date: 2520
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาปัญหาการอ่านคำที่ใช้อักษร ร ล ว ควบกล้ำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่สี่ 2. เพื่อสร้างแบบฝึกการอ่านคำที่ใช้อักษร ร ล ว ควบกล้ำสำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่สี่ 3. เพื่อสำรวจความสามารถในการอ่านคำที่ใช้อักษร ร ล ว ควบกล้ำของนักเรียน หลังจากได้รับการฝึกด้วยแบบฝึกที่สร้างขึ้น วิธีดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยได้สร้างแบบทดสอบความสามารถในการอ่านคำที่ใช้อักษร ร ล ว ควบกล้ำ โดยใช้คำที่ใช้อักษร ร ล ว ควบกล้ำ 100 คำ จากหนังสือแบบเรียน ภาษาไทยเล่ม 1 , 2 ของชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 , 4 นำไปสอบ ( Pre – test ) กลุ่มตัวอย่างประชากรซึ่งเป็นหญิง 70 คน จากโรงเรียนมาแตร์เดอีวิทยาลัย หลังจากนั้น ได้นำผลการสอบมาวิเคราะห์โดยคำนวณหาจำนวนคนที่อ่านผิดคิดเป็นร้อยละของนักเรียนทั้งหมด แล้วสร้างแบบฝึกการอ่านคำที่ใช้อักษร ร ล ว ควบกล้ำ 21 แบบฝึกหัด โดยเลือกคำจากแบบสอบมาใช้ในการสร้าง แล้วนำไปฝึกกลุ่มตัวอย่างประชากรใช้เวลาในการฝึก 7 ชั่วโมง หลังจากฝึกแล้ว ผู้วิจัยได้ใช้แบบสอบเดิมสอบกลุ่มตัวอย่างประชากรอีกครั้ง ( Post-test ) นำผลการสอบครั้งหลังมาคำนวณหาจำนวนคนที่อ่านผิดคิดผิดเป็นร้อยละของนักเรียนทั้งหมด จากนั้นจึงนำผลการสอบครั้งแรกและครั้งหลังมาเปรียบเทียบความแตกต่าง โดยการทดสอบค่า “ Z “ ผลของการวิจัย จากการทดสอบค่า “z” ปรากฏว่า ความสามารถในการอ่านคำที่ใช้อักษร ร ล ว ควบกล้ำ ก่อนและหลังการฝึก มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 แสดงว่า แบบฝึกการอ่านคำที่ใช้อักษร ร ล ว ควบกล้ำ จำนวน 21 แบบฝึกที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น เมื่อนำไปใช้กับนักเรียนแล้ว ทำให้นักเรียนมีความสามารถในการอ่านคำที่ใช้อักษร ร ล ว ควบกล้ำเพิ่มขึ้น ข้อเสนอแนะ 1. เนื่องจากปัญหาในการอ่านคำที่ใช้อักษร ร ล ว ควบกล้ำ มีอยู่ทุกระดับชั้น จึงควรสร้างแบบฝึกในเรื่องเดียวกันนี้ในระดับอื่นๆด้วย 2. ควรมีเครื่องมือประกอบสำหรับใช้ในการศึกษาเรื่องนี้ เช่น เทปบันทึกเสียง เพื่อใช้ในการสอบอ่าน จะช่วยได้มาก เพราะนักเรียนอาจอ่านเร็วหรือไม่ชัดเจนจนผู้วิจัยฟังไม่ถนัด หรือให้คะแนนไม่ทัน จะได้นำเทปบันทึกเสียงมาฟังในการให้คะแนนอีกครั้งหนึ่ง 3. แบบฝึกที่นำไปใช้ควรปรับปรุงอยู่เสมอ และควรให้นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมให้มากที่สุด 4. ควรจะได้มีการศึกษาเกี่ยวกับองค์ประกอบอื่นๆ เช่น เพศ เชื้อชาติ ฐานะทางเศรษฐกิจและสังคม อาชีพของบิดามารดา และสัมฤทธิ์ผลทางการเรียน ซึ่งมีความสัมพันธ์กับการอ่านคำที่ใช้อักษร ร ล ว ควบกล้ำด้วย ทั้งนี้เพื่อจะได้สร้างแบบฝึกที่มีประสิทธิภาพสูงแก่เด็ก
Other Abstract: Statement of the Problem 1. To find out the problem of the students in Prathom Suksa Four in reding r , l and w cluster sound. 2. To construct pattern drills in reading cluster of r, l and w for Prathom Suksa Four 3. To study the ability to read through the constructed pattern drills Procedure A reading test of 100 r, l and w cluster words from the 3rd and 4th grade text books were constructed to be used as a tool to find out the reading problems of 70 students in Prathom Suksa Four from Mater Dei school. The answers to those test were calculated to find the percentages of word-error in each word of the test. After that 21 pattern drills were constructed as on exercised work book for the some group of student, some of words from the test were chosen to be used in the pattern drills. Time allowment for certain practice was 7 hours. The post-test was done after practicing of the pattern drills. All the data gathered were analyzed. The z-test was used to discern the difference between pre-test and post-test. Results The z-test for reading r , l and w cluster words before and after drilling was significantly different at the .01 level of confidence. Therefor, twenty – one constructed pattern drills increased the ability of the students in reading cluster of r , l and w . Recommendation 1. The supplementary pattern drills in reading r , l and w cluster should also be constructed for other grades. 2. Audio-visual aids such as Tape recorder should be used in this study in order to make a better evaluation of the students. 3. Pattern drills always be checked and corrected. Moreover the students should be able to take part in all classroom activities as much as possible. 4. Other variable such as sex , nationality , economic and social condition , parents’ profession and academic achievement of student should be investigated in order to provide the high efficiency pattern drills for the children.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2520
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประถมศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27226
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sudaratana_Ai_front.pdf415.15 kBAdobe PDFView/Open
Sudaratana_Ai_ch1.pdf444.42 kBAdobe PDFView/Open
Sudaratana_Ai_ch2.pdf463.39 kBAdobe PDFView/Open
Sudaratana_Ai_ch3.pdf301.1 kBAdobe PDFView/Open
Sudaratana_Ai_ch4.pdf273.89 kBAdobe PDFView/Open
Sudaratana_Ai_ch5.pdf310.57 kBAdobe PDFView/Open
Sudaratana_Ai_back.pdf1.71 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.