Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27404
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพวงแก้ว ปุณยกนก
dc.contributor.authorสุวรรณ นาควิบูลย์วงศ์
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.บัณฑิตวิทยาลัย
dc.date.accessioned2012-12-08T16:27:05Z
dc.date.available2012-12-08T16:27:05Z
dc.date.issued2523
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27404
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2523en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายในการศึกษาแบบสอบการตัดสินใจเชิงศิลปะของไมเออต์ในเรื่องระดับความยาก อำนาจจำแนก ความเที่ยงและความตรงของแบบสอบ เมื่อใช้แบบสอบนี้กับผู้เรียนศิลปะระดับต่างๆ ซึ่งอาจเป็นประโยชน์ต่อการแนะแนวทางการศึกษาและอาชีพต่อไปของนักเรียนตลอดจนการคัดเลือกผู้ที่จะเรียนต่อด้านศิลปะ แบบสอบการตัดสินใจเชิงศิลปะของไมเออต์มีจำนวน 100 ข้อ แต่ละข้อประกอบด้วยภาพเป็นคู่ๆ ให้ผู้ตอบพิจารณาเลือกภาพที่สวยงามหรือเหมาะสม โดยเลือกภาพทางซ้ายมือหรือทางขวามือของผู้สอบลงในกระดาษคำตอบ กลุ่มประชากรคือนักเรียนชั้นปีที่ 2 ระดับปริญญาตรี วิทยาลัยเพาะช่าง กรมอาชีวศึกษาจำนวน 111 คน และกลุ่มตัวอย่างคือนักศึกษาชั้นปีที่ 2 ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง วิทยาลัยเพาะช่าง กรมอาชีวศึกษาจำนวน 202 คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยต่างๆจำนวน 252 คน ซึ่งได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายปลากดผลการวิจัยดังนี้ 1. ค่าระดับความยากของข้อสอบสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 อยู่ในช่วง .186 ถึง .976 นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงอยู่ในช่วง .202 ถึง .985 นักศึกษาระดับปริญญาตรีอยู่ในช่วง .279 ถึง 972 และรวมนักเรียนนักศึกษาทุกระดับการฝึกฝนอยู่ในช่วง .222 ถึง .978 ส่วนค่าอำนาจจำแนกของข้อสอบสำหรับนักเรียนชั้นมัธยม 3 อยู่ในช่วง -.504 ถึง .464 นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงอยู่ในช่วง -.187 ถึง .862 นักศึกษาระดับปริญญาตรีอยู่ในช่วง -.468 ถึง .606 และรวมนักเรียนนักศึกษาทุกระดับกรฝึกฝนอยู่ในช่วง -.142 ถึง .542 จากการวิเคราะห์ข้อสอบรายข้อของแบบสอบการตัดสินใจเชิงศิลปะของไมเออต์จำนวน 100 ข้อ เมื่อใช้กับนักศึกษาทุกระดับการฝึกฝน พบว่าข้อสอบที่สามารถจำแนกผู้ที่มีความถนัดเชิงศิลปะได้มีจำนวน 53 ข้อ โดยพิจารณาค่าอำนาจจำแนก .20 ขึ้นไป 2. ความเที่ยงของแบบสอบโดยวิธีแบ่งครึ่งแบบสอบการตัดสินใจเชิงศิลปะของไมเออต์จำนวน 100 ข้อ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง นักศึกษาระดับปริญญาตรีและรวมนักเรียนนักศึกษาทุกระดับการฝึกฝนมีค่าเท่ากับ .4203, .4885, .2741 และ .5326 ตามลำดับ และความเที่ยงของแบบสอบการตัดสินใจเชิงศิลปะของไมเออต์จำนวน 53 ข้อที่มีค่าอำนาจจำแนก .20 ขึ้นไป โดยใช้สูตรคูเดอร์-ริชาร์ดสันสูตรที่ 20 ของนักเรียนนักศึกษาทุกระดับการฝึกฝนมีค่าเป็น .6959 3. ค่ามัชฌิมเลขคณิตของคะแนนที่ได้จากแบบสอบการตัดสินใจเชิงศิลปะของไมเออต์จำนวน 53 ข้อที่มีค่าอำนาจจำแนก .20 ขึ้นไปของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง นักศึกษาระดับปริญญาตรี มีค่าเท่ากับ 47.9549, 51.2702 และ 55.4054 ตามลำดับ ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐานของคะแนนของแต่ละกลุ่มเท่ากับ 5.1611, 5.9076 และ 4.5070 ตามลำดับ 4. แบบสอบมีความตรงตามทฤษฎีจากการตรวจสอบด้วยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว พบว่าคะแนนจากแบบสอบการตัดสินใจเชิงศิลปะของไมเออต์จำนวน 53 ข้อที่มีอำนาจจำแนก .20 ขึ้นไปของผู้ที่มีระดับการฝึกฝนสูงกว่าจะมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าคะแนนของผู้ที่มีระดับการฝึกฝนต่ำกว่าอย่างมีนัยสำคัญ
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research was to study the difficulty level, discrimination power, reliability and validity coefficient of the Meier Art Judgment Test in administering this test with Art students of different educational levels. The result of this study will be useful for educational counseling and future career of students, and for the selection of students who want to study in Arts. The Meier Art Judgment Test is composed of one hundred items. Each item composes of a pair of pictures. The examinees considered and selected the better one in every pair. The population was 111 Bachelor of Art Education student in Paeuchang Colledge. The samples were 202 and 252 students of the higher vocational certificate in Paeuchang Colledge and Mathayom-suksa III of the various demonstration respectively. The samples were selected by random sampling. The results were 1. The level of difficulty for students of Mathayom-suksa III were between .186 to .976, students of higher vocational certificate were between .202 to .985, students of Bachelor of Art Education were between .279 to .972 and all students of different educational level were between .222 to .970. The indicies of discrimination were between -.504 to .464, -.187 to .862, -.468 to .606 and -.142 to .542 for students of Mathayom-suksa III, students of higher vocational certificate, students of Bachelor of Art Education and all students of different educational level respectively. From the Item Analysis of 100 items of the Meier Art Judgment Test in administering with students of different educational level, the result were that 53 items can discriminate students. These items had more than .20 discriminating power. 2. The Reliability of 100 items of the Meier Art Judgment Test with the split half method for students of Mathayom-suksa III, students of higher vocational certificate, students of Bachelor of Art Education and all students of different education level were .4203, .4885, .2741 and .5326 respectively. The Reliability of 53 items of the Meier Art Judgment Test which had more than .20 discriminating power for all the students, by using Kuder-Richardson formular 20, was .6959. 3. The Means of 53 items of the Meier Art Judgment Test which had more than .20 discriminating power were 47.9549 for students of Mathayom-suksa III, 51.2702 for students of higher vocational certificate and 55.4054 for students of Bachelor of Art Education. The Standard Deviation scores of each group were 5.1611, 5.9076 and 4.5070 respectively. 4. The Construct Validity of 53 items of the Meier Art Judgment Test which had more than .20 discriminating power by comparing the one way analysis of variance. The average score of students who had a higher level of education in Arts was significantly higher than students who had a lower level of education in Arts.
dc.format.extent535656 bytes
dc.format.extent351544 bytes
dc.format.extent797099 bytes
dc.format.extent439961 bytes
dc.format.extent851575 bytes
dc.format.extent482162 bytes
dc.format.extent451738 bytes
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.format.mimetypeapplication/pdf
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.titleการใช้แบบสอบการตัดสินใจเชิงศิลปะของไมเออต์ กับผู้ที่เรียนศิลปะระดับต่างๆen
dc.title.alternativeThe implementation of the meier art judgement test with the art students of different education levelsen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวิจัยการศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Suwan_Na_front.pdf523.1 kBAdobe PDFView/Open
Suwan_Na_ch1.pdf343.3 kBAdobe PDFView/Open
Suwan_Na_ch2.pdf778.42 kBAdobe PDFView/Open
Suwan_Na_ch3.pdf429.65 kBAdobe PDFView/Open
Suwan_Na_ch4.pdf831.62 kBAdobe PDFView/Open
Suwan_Na_ch5.pdf470.86 kBAdobe PDFView/Open
Suwan_Na_back.pdf441.15 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.