Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27698
Title: การบริหารกิจการนักศึกษาของวิทยาลัยในสังกัดกรมอาชีวศึกษา
Other Titles: Student personnel administration in vocational institutes
Authors: ศิริ รอดบุญธรรม
Advisors: ธนู แสวงศักดิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: กิจการนักศึกษา
Issue Date: 2518
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและอดีตในเรื่องการบริหารกิจการนักศึกษาของวิทยาลัยในสังกัดกรมอาชีวศึกษา 2. เพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบการบริหารกิจการนักศึกษาของวิทยาลัยในสังกัดกรมอาชีวศึกษา 3. เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการบริหารกิจการนักศึกษา พร้อมทั้งวิธีการแก้ไขเพื่อเป็นข้อเสนอแนะในการปรับปรุงแก้ไขการบริหารกิจการนักศึกษาต่อกรมอาชีวศึกษา 4. เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้บริหารการศึกษานำไปศึกษา และหาทางปรับปรุงวิทยาลัยและโรงเรียนในโอกาสต่อไป วิธีวิจัย 1. กลุ่มตัวอย่างที่นำมาวิจัย คือ ครู อาจารย์ ผู้บริหารและนักศึกษา เลือกสุ่มมาจากวิทยาลัยในสังกัดกรมอาชีวศึกษา 16 แห่ง ในปีการศึกษา 2517 ถือจำนวนครู อาจารย์ ผู้บริหาร ในวิทยาลัยที่ทำการศึกษาร้อยละ 10 นักศึกษาในระดับ ปวส.และสูงกว่าร้อยละ 5 2. แบบสอบถามที่ใช้เป็นแบบสอบถามที่ได้ทำการทดลองเพื่อหาความสมบูรณ์มาแล้วโดยแบ่งเป็น 2 ชุด ชุดที่ 1 สำหรับครู อาจารย์ ผู้บริหาร ชุดที่ 2 สำหรับนักศึกษา 3. ข้อมูลที่ได้จากแบบสอบถามทั้ง 2 ชุด นำมาวิเคราะห์เปรียบเทียบเพื่อทดสอบสมมุติฐาน ด้วยวิธีการทางสถิติคือหาค่าร้อยละและค่าไคสแควร์ สรุปผลการวิจัย 1.การประชาสัมพันธ์ในการรับสมัครนักศึกษาของวิทยาลัยกระทำกันน้อย ส่วนใหญ่ใช้วิธีประกาศทางสื่อมวลชน 2. การจัดนักศึกษาเข้าชั้นเรียนส่วนใหญ่ใช้แบบสหศึกษา การแบ่งกลุ่มเพื่อกระทำกิจกรรมการเรียน ส่วนใหญ่ใช้วิธีการให้นักศึกษาเลือกเอาตามความถนัด และความสนใจของนักศึกษาเอง 3. การแจ้งผลการเรียนให้นักศึกษาทราบส่วนใหญ่ใช้วิธีปิดประกาศที่วิทยาลัย 4. การแจ้งผลการเรียนให้ผู้ปกครองทราบเป็นในลักษณะจดหมายส่งทางไปรษณีย์ถึงผู้ปกครองภาคเรียนละครั้ง วิทยาลัยบางแห่งไม่เคยแจ้งเลย 5. ปัญหาเรื่องสุขภาพอนามัยของนักศึกษา วิทยาลัยเอาใจใส่น้อยมากคือมีการตรวจสุขภาพปีละครั้ง บางแห่งไม่เคยตรวจเลย บางวิทยาลัยไม่มีเจ้าหน้าที่พยาบาลประจำเมื่อมีปัญหาต้องตาม 6. วิทยาลัยส่วนใหญ่ของกรมอาชีวศึกษาเคร่งครัดต่อระเบียบวินัย โดยจัดทำเป็นคู่มือนักศึกษา นักศึกษาส่วนใหญ่ประพฤติผิดระเบียบวินัย ในด้านการแต่งกายไม่เรียบร้อย 7. ครู อาจารย์ส่วนใหญ่เอาใจใส่ต่อปัญหาของนักศึกษาอยู่ในเกณฑ์น้อย 8. การอำนวยความสะดวกต่อนักศึกษาของเจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ แผนกทะเบียน แผนกสวัสดิการ บริการพัสดุไปรษณีย์ อยู่ในเกณฑ์ที่เรียกว่า อำนวยความสะดวกมาก 9. การบริการแนะแนว การจัดบริเวณสถานที่ เพื่อพักผ่อนหย่อนใจให้กับนักศึกษา อยู่ในเกณฑ์น้อย 10. การจัดบริการอาหารกลางวัน อยู่ในขั้นอำนวยความสะดวกมาก 11. การจัดสวัสดิการในด้านเครื่องเขียนแบบเรียน จัดใน 2 แบบคือสหกรณ์และร้านค้าของวิทยาลัยเอง 12. การจัดกิจกรรมของนักศึกษาได้รับความร่วมมือจากวิทยาลัย ครู อาจารย์ สำหรับนักศึกษาด้วยกันได้รับความร่วมมือน้อย 13. การจัดกิจกรรมการปกครองของนักศึกษาส่วนใหญ่ จัดกันหลายรูปหลายแบบ คือสภานักศึกษา องค์การนักศึกษา สโมสรนักศึกษา และกรรมการนักศึกษา 14. การจัดกิจกรรมภายนอกสถานศึกษาและการแข่งขันกีฬายังจัดกันน้อย 15. การจัดประชุมเพื่อทำความเข้าใจกับนักศึกษา ยังมีน้อย
Other Abstract: Purposes of the study 1.To study the condition in the past up to the present about the student personnel administration in the Vocational Education Department's vocational institutes.2. To analyze and compare the student personnel administration in the vocational institutes of the Vocational Education Department. 3. To study the problems and obstacles of student personnel administration and their possible solutions, and to suggest the ways to improve the Vocational Education Department's administrative functions. 4. To assist the educational administrators in studying and improving their institutes. Procedure of the study The sample of the study was composed of 5 percent of the students , and 10 percent of teachers and administrators in the selected vocational institutes in the academic year of 1974. There were two types of constructed questionnaires in the study, divided into the following samples: type 1 for teachers and administrators, and type 2 for students. Analysis of the data were manipulated by the usage of percentage and Chi-Square. Conclusion of the study 1. Little public relation was done concerning the admission of new students. However, some was done by some forms of mass media communication. 2. Classes were largely arranged in term of co-education. Grouping for student activities were largely arranged by students' own selection, according to their aptitude and interest. 3. Students1 grade reports were announced on the board at the institute. 4. Students’ grade reports were sent to their parents once every semester. However some did not perform this method. 5. Little attention was given to the problems of students’ health. Health examination was done once a year, but sons did not observe this method and even did not employ any official to take good care of this service. 6. Most vocational institutes are striated on the regulations vocational institutes published pamphlets for students to observe their regulations. Most students violated the regulations on their dresses. 7. Few teachers were interested in students’ activities. 8. Public Relations officials served the students as well as the registrars, welfare, and postal service officials. 9. Little services were given to the students in guidance, plants and sites for students’ relaxation. 10. Luncheon services were good, 11. Stationary service was administered in two different types: type I as institutional co-operative store, type II as stationary store owned by the institution. 12. Teachers helped the students much in student activities programs but less cooperation was received from the students in general. 13. There were several aspects of student government programs such as students council, students organization, students clubs, and students committee. 14. Out of campus activities and intermural matches were few.15. Few meetings for good understanding between teachers and students were performed.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2518
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27698
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Siri_Ro_front.pdf629.92 kBAdobe PDFView/Open
Siri_Ro_ch1.pdf3.37 MBAdobe PDFView/Open
Siri_Ro_ch2.pdf684.42 kBAdobe PDFView/Open
Siri_Ro_ch3.pdf541.02 kBAdobe PDFView/Open
Siri_Ro_ch4.pdf5.31 MBAdobe PDFView/Open
Siri_Ro_ch5.pdf800.21 kBAdobe PDFView/Open
Siri_Ro_back.pdf3.92 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.