Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27737
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วิษณุ เครืองาม | |
dc.contributor.author | อรรถสิทธิ์ ชื่นสงวน | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย | |
dc.date.accessioned | 2012-12-15T15:05:33Z | |
dc.date.available | 2012-12-15T15:05:33Z | |
dc.date.issued | 2525 | |
dc.identifier.isbn | 9745611662 | |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/27737 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525 | en |
dc.description.abstract | จากการศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายอาญาในส่วนที่เกี่ยวกับความผิดฐานรับของโจรในประเทศต่างๆ ซึ่งแตกต่างกันทั้งในด้านอุดมการณ์ทางการเมือง และระบบเศรษฐกิจแล้ว พบว่าในหลายๆประเทศเป็นส่วนมาก ได้กำหนดความผิดฐานรับของโจรไว้ เพื่อลดการกระทำความผิดอาญาที่กระทำโดยตรงต่อสิทธิ์ในทรัพย์สินไว้ทั่วกัน ในกลุ่มประเทศที่มิได้ให้ความสำคัญแก่ระบบทรัพย์สินส่วนบุคคล มักไม่กำหนดความผิดฐานรับของโจรนี้ไว้ในกฎหมายอาญาโดยชัดแจ้ง แต่ได้กำหนดวิธีการป้องกันไว้ในกฎหมายส่วนแพ่ง เช่นในเรื่องสิทธิติดตามเอาทรัพย์คืนของเจ้าของที่แท้จริงเป็นต้น ทำนองเดียวกับประเทศในกลุ่มระบบกฎหมายอิสลาม แต่ประเทศในกลุ่มกฎหมายอิสลามเป็นประเทศที่ให้ความสำคัญแก่ระบบทรัพย์สินส่วนบุคคลมากกว่าประเทศในกลุ่มแรกเป็นอันมาก ส่วนในกลุ่มประเทศที่ให้ความสำคัญแก่ระบบทรัพย์สินส่วนบุคคลมาก ซึ่งได้แก่ประเทศในกลุ่มระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ ได้กำหนดความผิดฐานนี้รวมไปกับความผิดที่ทำให้ได้ทรัพย์มา โดยถือว่าเป็นการสนับสนุนภายหลังการกระทำความผิดนั้น และเป็นระบบที่ต้องพิสูจน์ถึงเจตนาของผู้กระทำ อีกกลุ่มหนึ่งที่ประเทศในกลุ่มระบบกฎหมายโรมัน-เยอรมัน ซึ่งเป็นประเทศที่ใช้กฎหมายระบบประมวล จะเป็นความผิดฐานนี้ได้ต้องมีการกระทำ และเจตนาแยกต่างหากจากการกระทำความผิดที่ได้ทรัพย์มาโดยแน่ชัด ยกเว้นประเทศเยอรมันที่กำหนดให้การรับของโจรเป็นการสนับสนุนภายหลังการกระทำความผิด ทำนองเดียวกับในกลุ่มระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ สำหรับประมวลกฎหมายอาญาของไทย จัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่ใช้กฎหมายแบบประมวลด้วย จึงไม่มีการนำเรื่องเจตนาทุจริตและการสนับสนุนภายหลังการกระทำความผิดเข้ามาใช้แต่อย่างใด และกฎหมายไทยยังได้แยกความผิดฐานนี้เป็นความผิดฐานหนึ่งต่างหากโดยชัดเจน แต่ที่น่าสังเกตคือในปี พ.ศ. 2522 ได้มีการแก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 เพื่อให้ความสะดวกแก่ศาลที่จะใช้ดุลยพินิจเลือกบทลงโทษจำเลยได้กว้างขวางยิ่งขึ้น วิทยานิพนธ์ฉบับนี้พบว่า การบังคับใช้กฎหมายอาญาเรื่องการรับของโจรขึ้นอยู่กับความสามารถของรัฐที่จะควบคุมการซื้อขายหรือจัดการแก่สิ่งของที่ใช้แล้ว ที่โรงรับจำนำและร้านค้าของเก่า ซึ่งเป็นธุรกิจที่มีโอกาสเกี่ยวข้องกับการรับของโจรได้เป็นอย่างมาก ในปัจจุบันมีกฎหมายควบคุมการประกอบธุรกิจโรงรับจำนำที่ค่อนข้างมีประสิทธิภาพ ส่วนการควบคุมร้านค้าของเก่านับว่ายังไม่เป็นผลมากนัก อันสืบเนื่องมาจากความชราภาพของกฎหมายรวมทั้งขาดการบริหารการควบคุมที่ดี | |
dc.description.abstractalternative | From the comparative study of criminal law regarding the crime of stolen property in various countries with different political and economic ideologies, this thesis finds that in most legal systems, criminal law pertaining to this particular crime aims at the reduction of crime directly involving property rights. In the countries where private properties are not so important to their economy, receiving stolen property is not dealt with in criminal law. Instead, stolen private properties can be recovered through civil law suit. This is also true in Islamic law which, even though private property is recognized, emphasizes personal right in property. In those countries where private right in property is deemed significant, i.e. common law countries, this kind of crime is provided as a crime of accessory after the fact and the accused‘s bad faith or mens rea must be proved. On the other hand, in those Romano – Germanic countries, this kind of crime consists of action and intention independent from the crime of taking property from others illegally except in Germany where receiving of stolen property is merged with crime of accessory after the fact. Thai criminal law regarding receiving stolen property follows those countries adopting Civil or Romano - Germanic legal system. Therefore, mens rea and accessory after the fact principles are not applicable. It should be noted that the article 192 of the Criminal Procedure Code was amended in B.E. 2522, to allow the judge to choose to punish the offender on some kind of the charge which is not directly prosecuted but which is in some way related to the charge accused. This thesis finds that the enforcement of criminal law regarding receiving stolen property depends on the ability of the state to control the marketing of used merchandises. Pawnshops as well as antique business are among those that should be closely regulated. At present, pawnshops are well regulated by law as well as other administrative meansures. However, antique business is still inadequately regulated because of the lack of appropriate law and administrative regulations. | |
dc.format.extent | 685167 bytes | |
dc.format.extent | 1309188 bytes | |
dc.format.extent | 1521023 bytes | |
dc.format.extent | 1835798 bytes | |
dc.format.extent | 1165600 bytes | |
dc.format.extent | 1699579 bytes | |
dc.format.extent | 675631 bytes | |
dc.format.extent | 1712990 bytes | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.format.mimetype | application/pdf | |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.title | ความผิดฐานรับของโจร | en |
dc.title.alternative | Crime on Receiving Stolen Property | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | นิติศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | นิติศาสตร์ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Arthasit_Ch_front.pdf | 669.11 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Arthasit_Ch_ch1.pdf | 1.28 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Arthasit_Ch_ch2.pdf | 1.49 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Arthasit_Ch_ch3.pdf | 1.79 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Arthasit_Ch_ch4.pdf | 1.14 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Arthasit_Ch_ch5.pdf | 1.66 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Arthasit_Ch_ch6.pdf | 659.8 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Arthasit_Ch_back.pdf | 1.67 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.