Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30541
Title: | สภาพการดำเนินงานของโรงเรียนมัธยมศึกษา ตามโครงการขยาย โอกาสทางการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น การศึกษาเฉพาะกรณีโรงเรียนนาบัววิทยา จังหวัดพิษณุโลก |
Other Titles: | The implementation process of the lower secondary school under the democratization of secondary education program : a case study of Nnabuawithaya school, Changwat Phitsanulok |
Authors: | บัณฑิต เกตุช้าง |
Advisors: | นิศา ชูโต |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Issue Date: | 2533 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้วิธีการศึกษาเฉพาะกรณีในการศึกษากลยุทธ์และวิธีการของการทำงานให้เกิดความสำเร็จ ปัญหา และการแก้ไขปัญหาในการดำเนินงานของโรงเรียนนาบัววิทยา จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งเป็นโรงเรียนแม่แบบในโครงการขยายโอกาสทางการศึกษา ปีการศึกษา 2531 ผลการวิจัยพบว่า กิจกรรมตามมาตรการทั้งห้าของโครงการขยายโอกาสทางการศึกษารวมทั้งสิ้น 19 กิจกรรมโรงเรียนได้ดำเนินการทุกกิจกรรม พบว่า กิจกรรมที่ดำเนินการได้ผลดีมาก 8 กิจกรรม ได้ผลดี 8 กิจกรรม และได้ผลน้อย 3 กิจกรรม กลยุทธ์และวิธีการทำงานที่ทำให้โรงเรียนประสบความสำเร็จในการทำโครงการ คือ กลยุทธ์ในการวางแผน การจัดองค์การ การสั่งการ การประสานงานและการติดตามงาน ตลอดจนวิธีการทำงานของผู้บริหารโรงเรียนที่มีส่วนร่วมทำงานอย่างจริงจัง สาเหตุที่ทำให้กิจกรรม 3 กิจกรรมได้ผลน้อย เพราะบุคลากรในโรงเรียนมีน้อย ครูยังขาดความชำนาญในการเขียนโครงการ การผลิตสื่อบทเรียนสำเร็จรูป การจัดหน่วยเรียนและการจัดการเรียนการสอนแบบกึ่งระบบ ซึ่งเป็นสิ่งใหม่ที่ผู้ปกครองยังไม่เข้าใจมากนัก |
Other Abstract: | The purpose of this research was to study the management strategies, problems and solutions of the project implementation in Nabuawittaya School selected as a model school for the expanding access project in the school year 1988 in Changwat Phisanulok. A case study method was selected as a tool for the research. The results of the study revealed that there were 8 most successful activities, 8 quite successful activities and 3 less successful activities among those of 19 activities in 5 strategies of the project. Moreover, it was founded that the factors effecting the success of the project implementation were: planning, organizing, directing, co-ordinating, monitoring and administrators attentive participation. The factors related to those of less successful activities were staff insufficiency and staff's inefficient skills in writing project proposals, in producing program learning, in organizing learning units and in organizing the unfamiliar semi-formal school. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิจัยการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/30541 |
ISBN: | 9745778508 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Bundit_ga_front.pdf | 5.73 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Bundit_ga_ch1.pdf | 5.22 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Bundit_ga_ch2.pdf | 12.02 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Bundit_ga_ch3.pdf | 6.67 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Bundit_ga_ch4.pdf | 37.81 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Bundit_ga_ch5.pdf | 5.56 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Bundit_ga_back.pdf | 35.07 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.