Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34384
Title: การพัฒนาระบบสร้างภาพสองมิติด้วยไมโครคอมพิวเตอร์ จากการส่งผ่านรังสีแกมมา
Other Titles: Development of a two-dimensional image reconstruction system from gamma transmission using microcomputer
Authors: บุษบา แซ่ลิ้ม
Advisors: สุวิทย์ ปุณณชัยยะ
นเรศร์ จันทน์ขาว
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: รังสีแกมมา
Issue Date: 2535
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้เป็นการพัฒนาระบบสร้างภาพฉายสองมิติด้วยไมโครคอมพิวเตอร์ จากเทคนิคการส่งผ่านรังสีแกมมาแบบสแกน แทนการถ่ายภาพด้วยรังสีในการตรวจสอบโดยไม่ทำลายชิ้นงาน (NDT) เพื่อให้สามารถใช้ปริมาณรังสีในการถ่ายภาพความแรงต่ำและมองเห็นภาพบนจอภาพได้ทันที นอกจากนี้ยังสามารถนำภาพที่บันทึกไว้กลับมาปรับปรุงคุณภาพของภาพได้ด้วยเทคนิคการกรองสัญญาณเชิงตัวเลข การพัฒนานี้แบ่งออกเป็นสองส่วน คือ ส่วนแรกเป็นระบบกลในการขับเคลื่อนชิ้นงานทดสอบ พร้อมระบบควบคุมและแผ่นวงจรเชื่อมโยงสัญญาณซึ่งใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์ 16 บิต ที่แสดงผลด้วยจอภาพสี (EGA, VGA) อีกส่วนหนึ่งเป็นโปรแกรมสำหรับควบคุมการเก็บข้อมูลวัดรังสีจากระบบวัดรังสีและสร้างภาพที่ให้ความละเอียดขนาด 160x120 จุดภาพ แสดงระดับคอนทราสต์ด้วยความแตกต่างของสี 16 ระดับ สามารถเลือกแสดงระดับคอนทราสต์ได้ทั้งในแบบเชิงเส้นและลอการิทึม จากการใช้ต้นกำเนิดรังสีอเมริเซียม ขนาดความแรง 100 มิลลิคูรี (3.7x10⁹ เบคเคอเรล) และหัววัดรังสีชนิดโซเดียมไอโอไดด์ ขนาด 1x1 นิ้ว จัดระบบวัดรังสีแบบส่งผ่านในระยะห่างกัน 10 เซนติเมตร เจาะช่องบังคับลำรังสีที่เกราะกำบังรังสีของต้นกำเนิดรังสีและหัววัดรังสีขนาด 3 มิลลิเมตร และ 1 มิลลิเมตร ตามลำดับ พบว่าระบบสร้างภาพซึ่งรับสัญญาณวัดรังสีจากเรตมิเตอร์ สามารถมองเห็นเส้นลวดทดสอบขนาด 1 มิลลิเมตรชัดเจนและมีระดับคอนทราสต์เพียงพอ เมื่อใช้ความเร็วในการสแกน 5.48 เซนติเมตรต่อนาที และเลือกค่าเบี่ยงเบนของอัตรานับรังสีร้อยละ 15
Other Abstract: The purpose of this research work is to develop a two dimensional projection image reconstruction system using microcomputer which based on gamma scanning transmission technique, instead of the radiographic nondestructive testing. This system can use low exposure dose and the image can be seen directly on screen. Besides, a recorded image can be replayed for image quality improvement by digital filter techniques. The development is devided into two parts. The first part consists of an object driving mechanism with a controller and interfacing card for IBM PC microcomputer with EGA or VGA colour monitor. The second part consists of a package program for nuclear data acquisition and image reconstruction which is displayed at 160x120 pixels resolution and 16 contrast colour levels, both linear and logarithmic type of display can be selected. A 100 mCi (3x10⁹ Becquerel) Am-241 source and a 1”x1” NaI (T1) detector contained in collimator of 3 mm and 1 mm, respectively, are used. The distance between source and detector is set at 10 mm for the transmission measuring system. The system is tested to reconstruct image using a ratemeter with 15% standard deviation setting and 5.48 cm/min scan speed. The image of 1 mm IQI test wire shows a good resolution with sufficient contrast.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2535
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิวเคลียร์เทคโนโลยี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/34384
ISBN: 9745817252
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Bussaba_sa_front.pdf5.68 MBAdobe PDFView/Open
Bussaba_sa_ch1.pdf2.37 MBAdobe PDFView/Open
Bussaba_sa_ch2.pdf6.69 MBAdobe PDFView/Open
Bussaba_sa_ch3.pdf7.19 MBAdobe PDFView/Open
Bussaba_sa_ch4.pdf7.61 MBAdobe PDFView/Open
Bussaba_sa_ch5.pdf3.34 MBAdobe PDFView/Open
Bussaba_sa_back.pdf7.69 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.