Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46760
Title: การศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสารความรู้ ทัศนคติ และการป้องกันกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสาน ของเกษตรกรที่เป็นสมาชิก และไม่เป็นสมาชิกโครงการพยากรณ์ และเตือนการระบาดศัตรูข้าว จังหวัดชัยนาท
Other Titles: The comparative study of trained and unirained farmers in media exposure, knowledge, attitude and practice of integrated pest control in sureillance area (Sews) of Chai Nat province
Authors: สุรัตน์ ตรีสุกล
Advisors: ธนวดี บุญลือ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Tanawadee.b@chula.ac.th
Subjects: ข่าวสาร
Issue Date: 2531
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาเปรียบเทียบพฤติกรรมการเปิดรับข่าวสาร ความรู้ ทัศนคติ และการป้องกันกำจัดศัตรูพืชตามโครงการพยากรณ์และเตือนการระบาดศัตรูข้าว รวมทั้งการใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชของเกษตรกรที่เป็นสมาชิกโครงการพยากรณ์และเตือนการระบาดศัตรูข้าว จำนวน 217 คน และเกษตรกรที่ไม่เป็นสมาชิกฯ จำนวน 159 คน ซึ่งอาศัยในเขต 5 อำเภอของจังหวัดชัยนาท โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำข้อมูลที่ได้ไปเป็นพื้นฐานในการกำหนดแนวทางการสื่อสาร และเนื้อหาที่เหมาะสมในการถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับการป้องกันกำจัดศัตรูพืชตามโครงการฯ ผลการวิจัยปรากฏดังนี้ 1. เกษตรทั้งสองกลุ่มมีการเปิดรับข่าวสารและประสบการณ์ภายนอกสังคมน้อย โดยเปิดรับข่าวต่างๆ จากวิทยุมากที่สุด รองลงมาคือ โทรทัศน์และหนังสือพิมพ์ตามลำดับ ส่วนข่าวสารด้านการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชนั้นได้รับจากสื่อบุคคลมากกว่าสื่อมวลชน สำหรับแหล่งสารที่เกษตรกรทั้งสองกลุ่มต้องการได้รับข่าวสารเรื่องการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชมากที่สุดคือ จากเจ้าหน้าที่หน่วยปราบศัตรูพืช 2. เกษตรกรที่เป็นสมาชิกฯ มีฐานะทางเศรษฐกิจสังคม ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการป้องกันกำจัดศัตรูพืชตามโครงการฯ รวมทั้งการใช้สารเคมีฯ ดีกว่าเกษตรกรที่ไม่เป็นสมาชิก 3. เกษตรกรทั้งสองกลุ่มยังขาดความรู้ในเรื่องศัตรูธรรมชาติ ระดับเศรษฐกิจ และความรู้เรื่องสารเคมีฯ ในบางเรื่อง เช่นไม่สามารถระบุชื่อสารเคมีที่ใช้ในการป้องกันกำจัดศัตรูข้าวและไม่ทราบถึงผลกระทบของสารเคมีฯ ที่มีต่อสิ่งแวดล้อมและศัตรูธรรมชาติ 4. เกษตรกรทั้งสองกลุ่มยังคงมีทัศนคติที่ไม่ถูกต้องในเรื่อง ประโยชน์ของศัตรูธรรมชาติและ ประสิทธิภาพของสารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืช 5. จากการหาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมกับตัวแปรต่างๆ พบว่าการเข้ารับการอบรมเรื่องการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชเป็นตัวแปรสำคัญที่มีความสัมพันธ์กับความรู้ ทัศนคติและพฤติกรรมเกษตรกรทั้งสองกลุ่ม และพบว่าเกษตรกรที่มีความรู้และทัศนคติที่ถูกต้องเกี่ยวกับการป้องกันและกำจัดศัตรูพืชตามโครงการฯ จะมีความรู้และทัศนคติที่ถูกต้องเกี่ยวกับสารเคมีฯ ด้วย 6. จาการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน พบว่า ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมมีความสัมพันธ์กัน โดย ทัศนคติและความรู้ เป็นตัวแปรที่อธิบายความผันแปรหรือมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมมากกว่าตัวแปรอื่น
Other Abstract: This is the comparative study on 217 trained and 159 untrained farmers’ media exposure, knowledge, attitude and practice of integrated pest control in Surveillance Area (SEWS) of 5 districts in Chai Nat Province. The main purpose of this study is to use the findings as the baseline data for defining appropriate scope of knowledgeable content relating to pest control and guldelines for planning effective communication module that can reach farmers. The findings are as follows : 1. Both tralned and untrained farmers had low degree of media exposure and cosmopoliteness. Most farmers received general information mostly from radio, television and newspapaer orderly. The lnterpersonal media was more significant source of information on pest control than mass media. The most desired source of pest control information is the Plant Protection Service Unit (PPSU). 2. Trained farmers had higher socio-economic status, as well as more correct knowledge, attitude, and practice in pest control and pesticide safe use than did the untrained farmers. 3. Both trained and untrained farmers had low knowledge on natural enemies and economic threshold. Most of them could not name correctly the chemicals for certain pests and did not quite perceive the hazardous effects of chemicals to environment and natural enemies. 4. Both groups of farmers did not believe in the efficiency of natural enemies but did so in using chemicals as the most effective means of pest control. 5. Participation in pest control training was a significant factor related with knowledge, attitude and practice of pest control and use of chemicals. Besides, farmers who had correct knowledge on and attitude toward SEWS programme would also have correct knowledge on and attitude toward pesticides. 6. By using Stepwise Multiple Regression Analysis, it was found that attitude and knowledge were influential factors supporting the practice of integrated pest control and the safe use of pesticides.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การประชาสัมพันธ์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/46760
ISBN: 9745690252
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Surat_tr_front.pdf3.78 MBAdobe PDFView/Open
Surat_tr_ch1.pdf6.84 MBAdobe PDFView/Open
Surat_tr_ch2.pdf9.97 MBAdobe PDFView/Open
Surat_tr_ch3.pdf6.68 MBAdobe PDFView/Open
Surat_tr_ch4.pdf30.11 MBAdobe PDFView/Open
Surat_tr_ch5.pdf5.33 MBAdobe PDFView/Open
Surat_tr_back.pdf6.61 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.