Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62034
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชัยยงค์ พรหมวงศ์-
dc.contributor.authorศรีวิไล ดอกจันทร์-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2019-05-30T08:41:17Z-
dc.date.available2019-05-30T08:41:17Z-
dc.date.issued2521-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62034-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2521en_US
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ของการวิจัย การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ในการเรียนวิชาภาษาไทยเรื่องการย่อความของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนในห้องเรียนแบบครูเป็นศูนย์กลางและห้องเรียนแบบศูนย์การเรียน วิธีดำเนินการวิจัย ผู้วิจัยได้สร้างเครื่องมือในการวิจัย 2 ประเภทคือ แบบสอบวัดผลสัมฤทธิ์ในการเรียนวิชาภาษาไทยเรื่องการย่อความ กับชุดการสอนสำหรับห้องเรียนแบบศูนย์การเรียน แล้วนำไปทดลองสอนกลุ่มตัวอย่างประชากร โดยแบ่งกลุ่มตัวอย่างประชากร ซึ่งได้แก่นักเรียนโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปีการศึกษา 2520 จำนวน 60 คน เป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 30 คน ผู้วิจัยได้ทดลองสอนแบบศูนย์การเรียนโดยใช้ชุดการสอนกับกลุ่มทดลอง ขณะเดียวกันก็สอนกลุ่มควบคุมโดยวิธีบรรยายประกอบอุปกรณ์บางชนิดซึ่งมิได้อยู่ในรูปของชุดการสอน ก่อนสอนได้ให้นักเรียนทำแบบสอบก่อนเรียน โดยใช้แบบสอบผลสัมฤทธิ์ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นเหมือนกันทั้งสองกลุ่ม เมื่อเรียนจบบทเรียนแล้วได้สอบความรู้ของนักเรียนทั้ง 2 กลุ่มด้วยแบบสอบชุดเดิม หลังจากนั้นอีก 2 สัปดาห์ก็ได้ทำการสอบนักเรียนทั้ง 2 กลุ่มอีกครั้งหนึ่งด้วยแบบสอบชุดเดียวกัน เพื่อดูความติดทนของความรู้ แล้วนำผลการสอบที่ได้จากการทดลองสอนมาเปรียบเทียบกันโดยการทดสอบค่า t (t-test) การทดลองทั้งสองกลุ่มใช้เวลาประมาณ 9 ชั่วโมง สรุปผลการวิจัย ผลของการวิจัยปรากฏว่า 1. ผลสัมฤทธิ์ในการเรียนบทเรียนเรื่องการย่อความหน่วยที่ 1 ของกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองไม่แตกต่างกันที่ระดับความมีนัยสำคัญ .05 2. ผลสัมฤทธิ์ในการเรียนบทเรียนเรื่องการย่อความหน่วยที่ 2 ของกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองไม่แตกต่างกันที่ระดับความมีนัยสำคัญ .05 3. ความจำเนื้อหาวิชาของบทเรียนเรื่องการย่อความหน่วยที่ 1 ซึ่งเป็นเรื่องเกี่ยวกับกฎเกณฑ์ทั่วไปในการย่อความของกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองไม่แตกต่างกันที่ระดับความมีนัยสำคัญ .05 4. ความติดทนในด้านทักษะการย่อความ ซึ่งได้แก่เนื้อหาบทเรียนเรื่องการย่อความหน่วยที่ 2 ของกลุ่มทดลองมีมากกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญ ข้อเสนอแนะ นักการศึกษาทุกฝ่ายควรสนับสนุนให้มีการสร้างชุดการสอนเพื่อใช้ในห้องเรียนแบบศูนย์การเรียน ทั้งนี้เป็นการฝึกนักเรียนให้รู้จักช่วยตัวเองในการแสวงหาความรู้ ในโรงเรียนทุกโรงเรียนควรมีห้องเรียนแบบศูนย์การเรียนสำหรับเรียนเนื้อหาวิชาต่างๆ ที่มีผู้ผลิตเป็นชุดการสอนไว้แล้ว โดยเฉพาะวิชาภาษไทยซึ่งนักเรียนจะได้มีโอกาสฝึกทักษะทางภาษาได้เป็นอย่างดี และควรเผยแพร่ชุดการสอนกับการเรียนแบบศูนย์การเรียนไปยังชนบทที่ขาดแคลนครู เพื่อที่คนในชนบทของประเทศจะได้ใช้เวลาว่างหาความรู้ร่วมกันจากชุดการสอนวิชาต่างๆที่ทางรัฐบาลจัดส่งไปให้en_US
dc.description.abstractalternativePurpose: The purpose of this study was to compare the achievement in Thai abridgement of the mathayom suksa one students in the Learning Center Classroom to those in the Teacher Centered classroom. Procedure: The investigator first constructed the achievement test and the learning Center Classroom Instructional Packages. With those tools the investigator carried out an experiment with 60 of mathayom suksa one students at Chiengmai University Demonstration School. The students were divided into two equal groups, the Control group and the Experimental group, and each consisted of 30 students. The Experimental group were taught with the learning centered classroom method. While the Control group were taught with the conventional teacher-centered classroom method. A pre-test was given to both groups before the experiment began, and as soon as the experimental teaching was completed, a test was given so as to compare the achievement of the students in both groups. Two weeks later, another test was given in order to determine the retention of the subject. Then, the data and information obtained from the test results were computed and analyzed through statistical methods in which the t-test was applied. The experiment with both groups took up total of nine hours. Conclusion: The results of the study can be concluded as follows: 1. There was no significant difference in the achievement of the learning of Thai unit 1 in the Control group and the Experimental group, at the significant level of .50. 2. There was no significant difference in the achievement of the learning of Thai unit 2 in the Control group and the Experimental group, at the significant level of .05. 3. The Experimental group can remember the subject in the lesson unit 1 as well as the control group. 4. About the skill of Thai abridgement, the experimental group did better than the Control group. This means that the degree of retention of the skill was higher in the Experimental group than in the Control group. Recommendation: The production of instructional packages should be assisted and Supported by all educators. For those packages would allow learners to have a chance in searching for knowledge by themselves. It is recommended that every school should have the Learning Center Classroom for teaching the subject in which they had constructed in the package, especially in Thai so the learner will practice the language skill effectively. The packages and the Learning Center Classroom should also be introduced to people in the rural area where teachers are very few. The packages, provided by the government would surely be of advantage to those people seeking of new knowledge during their free time.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.1978.11-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนen_US
dc.subjectศูนย์การเรียนen_US
dc.subjectภาษาไทย -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)en_US
dc.titleการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์วิชาภาษาไทย ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่หนึ่งที่เรียนในห้องเรียนแบบศูนย์การเรียน กับ นักเรียนที่เรียนในห้องเรียนแบบครูเป็นศูนย์กลางen_US
dc.title.alternativeComparison of the mathayom suksa one students' achievement in Thai between teacher-centered and learning center classroomsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineการสอนภาษาไทยen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.1978.11-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sriwilai_Do_front.pdf298.08 kBAdobe PDFView/Open
Sriwilai_Do_ch1.pdf463.51 kBAdobe PDFView/Open
Sriwilai_Do_ch2.pdf692.09 kBAdobe PDFView/Open
Sriwilai_Do_ch3.pdf1.23 MBAdobe PDFView/Open
Sriwilai_Do_ch4.pdf552.44 kBAdobe PDFView/Open
Sriwilai_Do_ch5.pdf304.9 kBAdobe PDFView/Open
Sriwilai_Do_back.pdf1.02 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.