Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62441
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวิจิตร ตัณฑสุทธิ์-
dc.contributor.advisorสุทธิรักษ์ สุจริตตานนท์-
dc.contributor.authorวิรัช อยู่ชา-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2019-07-15T07:04:54Z-
dc.date.available2019-07-15T07:04:54Z-
dc.date.issued2527-
dc.identifier.isbn9745634662-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62441-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527-
dc.description.abstractการวิจัยนี้จะมุ่งศึกษาถึงระบบการคัดเลือกโครงการที่เหมาะสมสำหรับโครงการสร้างงานในชนบท ซึ่งได้จัดทำอยู่ในปัจจุบัน วิเคราะห์หาข้อบกพร่องของระบบและนำข้อบกพร่องเหล่านั้นมาปรับปรุงเปลี่ยนแปลง เพื่อให้เกิดความเหมาะสมมากที่สุดสำหรับระบบการคัดเลือกโครงการ พร้อมทั้งเสนอแนะระบบการคัดเลือกโครงการแบบใหม่ เปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของทั้งสองระบบทั้งในด้านสังคมศาสตร์และอื่นๆ จากผลการศึกษาพบว่าโครงการสร้างงานในชนบท เป็นโครงการที่รัฐบาลจัดทำขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มพูนรายได้ให้ประชาชนในชนบทมีงานทำในช่วงว่างงานในการก่อสร้างสิ่งสาธารณะสมบัติของชุมชน พัฒนาและยกระดับความสามารถของสภาตำบล เสริมสร้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยของประชาชนในระดับท้องถิ่น ส่งเสริมบทบาทและหน้าที่ของส่วนราชการต่าง ๆ ทั้งระดับอำเภอและจังหวัดให้รับผิดชอบร่วมกันในการดำเนินงาน และการพัฒนาจิตใจควบคู่ไปกับการพัฒนาด้านวัตถุ ระบบการคัดเลือกโครงการในปัจจุบัน การพิจารณาคัดเลือกโครงการให้สภาตำบลยึด 10 โครงการแรกของแผนพัฒนาตำบลปี 2526 เป็นหลัก ให้ถือว่า 10 โครงการเป็นความต้องการอันดับแรกของตำบล และการเสนอโครงการจะต้องเป็นไปตามนโยบายและแนวปฏิบัติโครงการ กสข. พ.ศ. 2526 ซึ่งระบบการคัดเลือกโครงการดังกล่าวไม่ได้มีการนำเอาผลตอบแทนของโครงการในด้านต่าง ๆ มาเป็นองค์ประกอบในการพิจารณาคัดเลือกโครงการ จึงทำให้การคัดเลือกโครงการไม่เป็นไปตามความเหมาะสมเท่าที่ควร ส่วนระบบการคัดเลือกโครงการแบบใหม่ที่เสนอแนะ จะเปิดโอกาสในการเสนอโครงการมากยิ่งขึ้นกว่าเดิม โดยไม่คำนึงว่าโครงการที่เสนอนั้นจะอยู่ในแผนพัฒนาตำบลหรือไม่ ถ้าหากเป็นความต้องการของประชาชน การพิจารณาคัดเลือกโครงการไม่ว่าจะเป็นเปอร์เซ็นต์ตามความต้องการโครงการโครงการแต่ละประเภทหรืออื่น ๆ จะได้มาจากแบบสอบถามจากประชาชนในจังหวัดนั้น ๆ โดยตรง จึงทำให้การคัดเลือกโครงการเป็นไปตามความต้องการที่แท้จริงของประชาชนมากที่สุด ระบบการคัดเลือกโครงการที่เสนอแนะ จะนำเอาผลตอบแทนในด้านต่าง ๆ ที่มีผลต่อการคัดเลือกโครงการแต่ละประเภท มาจัดเป็นองค์ประกอบซึ่งมีระดับคะแนนความสำคัญแตกต่างกัน จากนั้นจึงประเมินผลเพื่อสรุปค่าระดับคะแนนความสำคัญขององค์ประกอบเหล่านั้น เพื่อจัดให้เป็นผลตอบแทนของโครงการ แปลงระบบการคัดเลือกโครงการให้เป็นรูปแบบปัญหาทางคณิตศาสตร์ แล้วหาผลลัพธ์ของการคัดเลือกโครงการที่เหมาะสมสำหรับโครงการสร้างงานในชนบท โดยใช้เทคนิคการโปรแกรม ศูนย์-หนึ่ง เชิงเส้นตรง การวิเคราะห์เปรียบเทียบระบบการคัดเลือกโครงการทั้งสอง จะพบว่าระบบการคัดเลือกโครงการที่เสนอแนะนี้จะให้ผลที่ดีกว่าระบบการคัดเลือกโครงการที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ทั้งนี้เพราะระบบการคัดเลือกโครงการที่เสนอแนะจะนำเอาองค์ประกอบต่าง ๆ ที่มีผลต่อการคัดเลือกโครงการมาพิจารณาประกอบในการคัดเลือกโครงการ จึงทำให้ผลการคัดเลือกดีกว่าระบบเดิมในหลาย ๆ ด้าน โดยเฉพาะการพัฒนาประสิทธิภาพของประชาชนในชนบทในระยะยาวเพื่อความเจริญของประเทศชาติต่อไปในอนาคต-
dc.description.abstractalternativeThis research aims at studying about selection suitable project for Rural Employment General Program which has been done in the present, analyze the flaws of the system, and bring those flaws to be adjusted and changed, to get the most suitable system for program selection, including the suggestion of new style of program selection, comparing advantage of both systems in the aspect of social sciences and other. As a result of the study, it is found that the Rural Employment General Program is the program arranged by the government whose main purposes aim at increasing income for people in the rural areas to have job in the seasonal unemployment period from the construction of public properties, develop and raise the ability level of district council, promote democratic political system in the local level, encourage the roles and duties of various parts of government offices, both amphur and province levels to be jointly responsible for the operation, and promote the mental development together with material development. According to the present program selection, the consideration for selecting the program is to let the district council to take the first ten programs of district development plan 1983. These ten programs will be regarded as first priority of the district, and the suggestion for the program has to follow the policy and guideline of Rural Employment General Program 1983, which the mentioned program selection does not bring the rate of return of the program selection consequently, the program selection may not be so suitable. By the suggested new style of program selection, more opportunities of suggesting the program will be available regardless of whether the suggested program is in the district development plan or not. If it is the necessity of the people, the consideration for program selection which may come from the percentage of necessity of each category of program, of the questionnaire from the people in that province directly, this will enable the program selection to follow the majority most. The suggested program selection will consider the returns in various aspects which cause effects to each category of program selection to be a component which have different weights of importance. After that the estimation will be done to conclude the value of those weighted components, to regard it as the return value of the program. After that the program selection system will be adjusted to be mathematical problem, to fine the result of suitable program for Rural General Program, by the technique of zero-one inter linear programming. From the comparative analysis of both program selection, which will find that the suggested program selection will give better result than the program selection used in the present, because by the suggested program selection, the components which have effects to program selection will be brought to consider for program selection consequently, the result of selection in this type will be better than the old type in many aspects, especially in the aspect of long term development of people’s efficiency, for the advancement of country the future.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectโครงการสร้างงานในชนบท-
dc.subjectการพัฒนาชนบท-
dc.titleการคัดเลือกโครงการที่เหมาะสมสำหรับโครงการสร้างงานในชนบท-
dc.title.alternativeOptimal projects selection for the rural employment general program-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineวิศวกรรมอุตสาหการ-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Wirush_us_front_p.pdf9.17 MBAdobe PDFView/Open
Wirush_us_ch1_p.pdf5.6 MBAdobe PDFView/Open
Wirush_us_ch2_p.pdf22.96 MBAdobe PDFView/Open
Wirush_us_ch3_p.pdf6.35 MBAdobe PDFView/Open
Wirush_us_ch4_p.pdf19.8 MBAdobe PDFView/Open
Wirush_us_ch5_p.pdf1.84 MBAdobe PDFView/Open
Wirush_us_ch6_p.pdf24.05 MBAdobe PDFView/Open
Wirush_us_ch7_p.pdf5.02 MBAdobe PDFView/Open
Wirush_us_ch8_p.pdf12.18 MBAdobe PDFView/Open
Wirush_us_back_p.pdf25.79 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.