Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62724
Title: การศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจซื้อรถยนต์นั่งส่วนบุคคลของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Study on factors influencing consumers'decision on automoebile buying in bangkok metropolitan area
Authors: สาวิกา เกษมศรี, ม.ล.
Advisors: นงนิตย์ ศิริโภคากิจ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Issue Date: 2529
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การในปัจจุบันรถยนต์นั่งส่วนบุคคลเป็นสิ่งที่มีบทบาทในชีวิตประจำวันของผู้บริโภคโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรุงเทพมหานครซึ่งกิจกรรมต่างๆ ต้องดำเนินไปอย่างเร่งรีบ รถยนต์นั่งจะช่วยให้เกิดความรวดเร็วในการคมนาคม และช่วยอำนวยความสะดวกสบายในการเดินทาง ทั้งยังเป็นสิ่งซึ่งแสดงถึงฐานะของผู้เป็นเจ้าของอีกด้วย ธุรกิจรถยนต์นั่งปัจจุบันมีการแข่งขันกันสูง ระหว่างยี่ห้อต่างๆ กว่า 20 ยี่ห้อ และมีมูลค่าถึงกว่าหนึ่งล้านบาทต่อปี นอกจากนี้อุตสาหกรรมรถยนต์นั่งยังเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจส่วนรวมเป็นอย่างมาก เช่น ทำให้เกิดอุตสาหกรรมต่อเนื่องอีกหลายชนิด ทำให้เกิดมูลค่าเพิ่ม ช่วยลดปัญหาการว่างงานและปัญหาการขาดดุลชำระเงิน และยังเป็นอุตสาหกรรมที่ดึงดูดวิทยาการต่างๆ เข้ามาในประเทศอีกด้วย ด้วยเหตุที่ธุรกิจรถยนต์นั่งมีความสำคัญนานับประการเช่นนี้ ประกอบกับการประสบปัญหายอดขายตกต่ำในปัจจุบันทำให้การวิเคราะห์ลูกค้าเป็นเรื่องที่น่าศึกษา การวิจัยนี้ทำโดยศึกษาข้อมูลทุติยภูมิจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐบาลและภาคเอกชนและสำรวจกระบวนการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภคโดยใช้แบบสอบถาม จำนวน 400 ชุด ผลจากการสำรวจพบว่า ก่อนที่ผู้บริโภคจะทำการตัดสินใจซื้อรถยนต์นั่งนั้นเขาจะพิจารณาข้อมูลจากการพบเห็นทั่วๆ ไปมากกว่าอย่างอื่น และผู้ซื้อส่วนใหญ่จะทำการปรึกษาผู้อื่นก่อนตัดสินใจซื้อโดยจะปรึกษาผู้มีความรู้เรื่องรถมากที่สุด ในการเลือกตรายี่ห้อของรถนั้นผู้ซื้อมักจะทำการเปรียบเทียบตรายี่ห้อก่อนซื้อ และยี่ห้อที่ถูกนำมาเปรียบเทียบเป็นส่วนใหญ่คือ โตโยต้า สำหรับปัจจัยที่ทำให้ผู้บริโภคไม่ซื้อรถยนต์นั่งยี่ห้อต่างๆ นั้น จะมาจากรถราคาแพงเป็นอันดับแรก รองลงมาได้แก่กินน้ำมันมาก และใช้แล้วขายต่อได้ราคาไม่ดี ส่วนปัจจัยที่ผู้บริโภคคำนึงถึงในการเลือกซื้อรถยนต์นั่งที่ตนใช้อยู่คือ ประหยัดน้ำมันเป็นอันดับแรก รองลงมาได้แก่ ราคาถูกและรูปร่างสวย นอกจากนี้ยังพบว่า ราคาของรถที่ซื้อและความจุกระบอกสูบ จะมีความสัมพันธ์กับระดับรายได้ของผู้บริโภค ในการศึกษาความรู้สึกภายหลังการใช้และแนวโน้มในการเปลี่ยนรถ พบว่า ปัจจัยที่ทำให้ผู้ใช้มีความพอใจในระดับต่ำกว่ามาตรฐานและทำให้เกิดการเปลี่ยนใจไปใช้ยี่ห้ออื่น (Brand Switching) คือ ความสิ้นเปลือง ความไม่ปลอดภัย และความไม่สบายในการขับขี่ นอกจากนี้การเปลี่ยนไปใช้รถยี่ห้ออื่นนั้น จะมีสิ่งดึงดูดใจมาจาก รูปร่างสวยกว่า เครื่องยนต์ทนทานกว่า และตัวถังหนาแข็งแรงกว่ายี่ห้อเดิมตามลำดับ สำหรับในด้านภาพพจน์ของรถยนต์นั่งยี่ห้อต่างๆ ในความคิดเห็นของผู้บริโภคนั้น พบว่า ส่วนใหญ่แล้วในด้านรูปร่างสวยงามจะนึกถึงรถบีเอ็ม ดับลิว เครื่องยนต์ทนทาน นึกถึง รถเบ็นซ์ ประหยัดน้ำมันนึกถึงรถนิสสัน/ดัทสัน ขายต่อราคาดีนึกถึงโตโยต้า ไม่ผุง่ายนึกถึงเบ็นซ์ และตัวถังหนานึกถึง วอลโว่ การวิจัยการโฆษณา พบว่า โฆษณารถยนต์นั่งยี่ห้อที่มีผู้พบเห็นมากที่สุดคือโตโยต้า แต่นิสสัน/ดัทสัน เป็นโฆษณาที่มีผู้จำรายละเอียดได้มากที่สุด และการพบเห็นโฆษณารถยนต์นั่งนั้นจะผ่านสื่อโทรทัศน์มากกว่าสื่ออื่น ข้อเสนอแนะจากการวิจัยนี้อาจสรุปได้ดังนี้คือ ผู้ผลิตและผู้จำหน่ายรถยนต์นั่งส่วนบุคคลควรให้ความสนใจในด้านความต้องการของผู้บริโภคโดยเฉพาะความต้องการในตัวสินค้า มีการแก้ปัญหาที่ทำให้ผู้บริโภคไม่ซื้อ เช่น ปัญหาของการที่ผู้บริโภครู้สึกว่ารถราคาแพง โดยเน้นให้ผู้บริโภคเห็นถึงความคุ้มค่าของเงินที่เขาเสียไป ตลอดจนประโยชน์ใช้สอยและจุดเด่นของรถ หรือปัญหาของการใช้แล้วราคาตก ซึ่งอาจแก้ไขโดยการตั้งศูนย์รับซื้อรถใช้แล้วของบริษัทผู้ขายขึ้นมาเองเพื่อเป็นหลักประกันให้ผู้ซื้อแน่ใจว่า เมื่อตนซื้อไปแล้วหากขายต่อก็จะได้ราคาดี ขณะเดียวกันผู้ผลิตก็ต้องพยายามรักษาจุดเด่นของตนที่เป็นปัจจัยที่ทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจซื้อเอาไว้ และให้ความสำคัญต่อการพัฒนาปรับปรุงรูปร่างของรถให้สวยงาม และทันสมัยเสมอซึ่งจะทำให้ลูกค้าไม่เปลี่ยนไปใช้ยี่ห้ออื่น นอกจากนี้ การรักษาคุณภาพ และภาพพจน์ที่ดีของรถตลอดจนบริการหลังการขายก็จะเป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยให้ผู้บริโภคทั่วไปเกิดความเชื่อถือ และยังเป็นการรักษาลูกค้าเก่าเอาไว้ ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญไม่น้อยกว่าการหาลูกค้าใหม่ เพราะลูกค้าเก่านั้นนอกจากจะเป็นผู้ที่อาจทำการซื้อซ้ำแล้ว ยังเป็นผู้ที่ช่วยดึงดูดลูกค้าใหม่ด้วย สำหรับการโฆษณานั้น ควรใช้สื่อโทรทัศน์มากกว่าสื่ออื่น และควรให้ข้อมูลรายละเอียดของรถตลอดจนโฆษณาในนิตยสารเกี่ยวกับรถด้วย เพราะเป็นสื่อที่จะทำให้เข้าถึงผู้มีความรู้เรื่องรถ ซึ่งเป็นผู้มีอิทธิพลในการตัดสินใจซื้อของคนส่วนใหญ่ได้ อย่างไรก็ตามการที่จะดำเนินกลยุทธทางการตลาดกับรถยนต์นั่งได้อย่างเหมาะสมนั้น สิ่งสำคัญก็คือ จะต้องจัดกลุ่มลูกค้าเป้าหมายให้แน่นอน และศึกษาความต้องการของลูกค้ากลุ่มเป้าหมายนั้น ซึ่งจะทำให้การวางจุดเด่นของรถ การกำหนดราคา ตลอดจนการส่งเสริมการจำหน่ายทำให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
Other Abstract: At present, salon cars play a very important part in the daily life of users, especially in Bangkok Metropolitan Area, where all business activities have to be done in haste. The cars help speed up communications, accord convenience in travel and also shows the status of the owner. The saloon car sales business is highly competitive. There are over 20 makes being offered in the market, valued at over ten thousand million Baht a year. Furthermore, the car industry is of great benefit to the overall economy. It creates many other downstream industries, causing added value and dealing with the problem of balance of payments. It also helps solve the problem of unemployment and invites technologies into the country. For reasons of importance of the car industry, coupled with the present sales drops, it is worth studying on an analysis of customers behaviour. This research was carried out by studying the secondary data, supplied by the government and private sectors, as well as the survey of consumers’ stages in buying decision was done. Over 400 questionnaires were sent out. It was found that before deciding to buy a car, most of the customers would consider other factors around them and would consult those who are in the know. In selecting of the cars consumers tended to compare the makes of the cars first. The make kept as standard for comparison was the Toyota. The most important factor causing consumers not to buy other makes was the price, next came the fuel consumption, while the re-sale price was the third factor in consideration. However, the factor causing consumers to decide on the make of the car was the fuel consumption; next came the price and the shape of the car. Moreover, it was found that the price of the car cylinder size were relative to the income of consumers. The studying for Postpurchase feelings and the tendency to change cars, the factors causing satisfaction to the users lower than standard rate and making brand switching were found to be the consumption, lack of safety and inconvenience in driving. Furthermore, the brand switch to other make was due to the attractive shape of new cars, engine durability and stronger body than the previous make. Regarding the brand image of various cars, in the opinion of consumers, it was found that generally, in beautiful shape they will think of the BMW, in engine durability they will of the Mercedes Benz, and in fuel economy they would think of the Datsun/Nissan. For re-sale price they would think of the Toyota and for les decay of body they would think of the Mercedes Benz and thickness of the body they would think of the Volvo. In analyzing the advertisements it was found that the saloon car receiving most advertising coverage was the Toyota. But the advertisement of Nissan/Datsun provide the most recalls. Generally, the audience mostly found saloon car advertisement in television than in other media. The recommendation of this research is that producers and sellers of saloon cars should pay more attention to the requirements of consumers, especially the requirements about the goods themselves. The problems to be solved were consumers not buying the good, thinking that they were expensive, for which it should be emphasized that the money they paid was worth the value, as well as pointing out the usefulness of the cars and other good points. Or for the problem of falling value of the car, can be dealt with by the producers or dealers should establish their second-hand cars center as a guarantee that buyers can sell their cars at good value. At the same time producers should try to maintain the good points which consumers use as factors in deciding to buy cars. The body shape of the cars should be improved and kept up-to-date so that consumers would not make brand switch. Moreover, the maintenance of quality, image and after sale service should be made as they are generally factors which hold the trust of customers. And attempts to maintain old customers should be made not less than that of finding new customers, because old customers might not only make repeat purchases, but would also encourage new customers. For advertising, TV should be use more than other media and detailed information should be given in car magazines as it was the media reaching to those having knowledge of cars who were influential in deciding on purchases. However, the most important market strategy is that customers target must be set and studied, and the requirement s of target customers should be studied so that producers could present good points of the car specify prices, as well as promote sales efficiently.
Description: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2529
Degree Name: บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: บริหารธุรกิจ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62724
ISBN: 9745667293
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sawika_ka_front_p.pdf7.46 MBAdobe PDFView/Open
Sawika_ka_ch1_p.pdf4.39 MBAdobe PDFView/Open
Sawika_ka_ch2_p.pdf10.43 MBAdobe PDFView/Open
Sawika_ka_ch3_p.pdf12.44 MBAdobe PDFView/Open
Sawika_ka_ch4_p.pdf62.15 MBAdobe PDFView/Open
Sawika_ka_ch5_p.pdf4.51 MBAdobe PDFView/Open
Sawika_ka_back_p.pdf30.62 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.