Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62781
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorอนันต์ อิชยพฤกษ์-
dc.contributor.advisorอารยา อรรถวุฒิวรวาจก์-
dc.contributor.authorสีหนาท สวนแก้ว-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย-
dc.date.accessioned2019-08-23T07:06:47Z-
dc.date.available2019-08-23T07:06:47Z-
dc.date.issued2527-
dc.identifier.isbn9745634344-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/62781-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (พณ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2527-
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อทำการศึกษาถึงหลักการและวิธีการจัดระบบการบริหาร ตลอดจนปัญหาและอุปสรรคต่าง ๆ ในงานบุคคลของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจซึ่งเกิดขึ้นใหม่โดยการรวมตัวกันของรัฐวิสาหกิจหลายหน่วยงาน จึงมีเอกลักษณ์เฉพาะแบบของตัวเองไม่เหมือนกับรัฐวิสาหกิจอื่น ๆ โดยการวิจัยได้ศึกษาข้อมูลปฐ[ม]ภูมิโดยการสัมภาษณ์และใช้แบบสอบถาม เพื่อสำรวจความคิดเห็นของบุคลากรและข้อมูลทุติยภูมิ โดยการค้นคว้าและรวบรวมจาก หนังสือวารสาร เอกสารต่าง ๆ ได้แก่ กฎระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ และคำสั่งต่าง ๆ ของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยและหน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาและวิเคราะห์ ตามสมมติฐานปรากฏว่า 1. การจัดการด้านสวัสดิการของ ปตท. ไม่สามารถสนองความต้องการของพนักงานได้อย่างทั่วถึง เนื่องจากมีสวัสดิการบางประเภทยังมีข้อบกพร่องในหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการจัดให้กับพนักงาน ตลอดจนความไม่เพียงพอของอุปกรณ์ สถานที่และบุคลากร ในสวัสดิการประเภทนั้น ๆ เป็นส่วนประกอบทำให้การจัดการด้านสวัสดิการของ ปตท. ยังไม่สามารถสนองความต้องการของพนักงานได้อย่างทั่วถึง 2. ในระยะ 5 ปีข้างหน้า (พ.ศ. 2527 ถึง พ.ศ. 2531) แนวโน้มของความต้องการด้านกำลังคนของ ปตท. จะไม่เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า (ร้อยละ 100) ทั้งนี้เพราะโครงการใหญ่ๆ ของ ปตท. ส่วนมากได้เริ่มกระทำมานานแล้วและโครงการต่าง ๆ เหล่านั้นบางโครงการก็สิ้นสุดลงไปแล้วและบางโครงการก็มีกำหนดการจะสิ้นสุดลงในระยะ 1 ปี หรือ 2 ปีข้างหน้า ซึ่งจะมีผลทำให้จำนวนพนักงานที่หมดภาระกิจรับผิดชอบเหล่านี้กลับเข้ามาช่วยงานในการดำเนินงานในหน่วยต่าง ๆ ของ ปตท. ซึ่งจะเป็นผลทำให้การรับพนักงานเข้ามาใหม่มีอัตราลดลง ถึงแม้ว่าโครงการบางโครงการในด้านจัดหาและกลั่นน้ำมันตลอดจนในด้านกิจกรรมพิเศษ จะทำให้จำนวนพนักงานเพิ่มขึ้นมากก็ตามที แต่แนวโน้มของจำนวนพนักงานที่เพิ่มขึ้นนั้นก็ยังมีปริมาณไม่มากดังสมมติฐานที่ตั้งไว้แต่อย่างใด จากการวิจัยสามารถสรุปข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาได้ดังนี้ 1. ปตท. สมควรที่จะมีการวางแผนกำลังคนในอนาคต เพื่อกำหนดปริมาณและคุณสมบัติของบุคลากรที่ต้องการเข้ามาประจำในหน่วยงานต่าง ๆ ซึ่งจะมีผลทำให้ไม่ขาดแคลนบุคลากร และได้บุคคลที่มีคุณสมบัติเหมาะสมในเวลาที่ต้องการ รวมทั้งสามารถวางแผนงานทางด้านบุคคลเพื่อรองรับพนักงานที่เพิ่มขึ้นได้อย่างเหมาะสมด้วย 2. การสรรหาบุคคลเข้าทำงานควรปรับปรุงการกระจายข่าวการรับสมัครงานให้กว้างขวางและทั่วถึงกันเพื่อให้ได้บุคคลที่จะมาสมัครจากแหล่งต่าง ๆ และช่วยลดปัญหาขัดข้องใจในเรื่องการใช้ระบบพรรคพวกในการรับสมัครงาน 3. การคัดเลือก ควรจัดให้มีการสอบภาคทฤษฎีและปฏิบัติ ซึ่งมีแบบทดสอบที่เป็นมาตรฐาน เพื่อให้ได้บุคลากรที่มีคุณสมบัติและมาตรฐานตรงตามต้องการ และมีมาตรฐานในการคัดเลือกที่มีความถูกต้องและยุติธรรม 4. การฝึกอบรมและพัฒนา ควรจะได้มีการหาความจำเป็นในการฝึกอบรม เพื่อจะได้จัดให้มีการอบรมที่จำเป็นจริง ๆ ในการช่วยส่งเสริมการปฏิบัติงานของพนักงาน และจะช่วยควบคุมงบประมาณการใช้จ่ายในการฝึกอบรม ซึ่งไม่เพียงพออยู่ในขณะนี้ด้วย 5. การประเมินผลการปฏิบัติงาน ควรจัดให้มีแบบฟอร์ม และวิธีการประเมินผลที่เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งองค์การโดยเร็ว เพื่อลดปัญหาในการ[ป]ระเมินผลงานที่แตกตางกันในแต่ละหน่วยงาน ซึ่งทำให้เกิดการเปรียบเทียบและความไม่เข้าใจในหมู่พนักงาน 6. สวัสดิการ ควรมีการปรับปรุงเงื่อนไข วิธีการตลอดจนบุคลากรในการจัดการสวัสดิการบางประเภท ที่ยังไม่สามารถสนองความต้องการของพนักงานได้อย่างทั่วถึง เช่น รถรับส่งพนักงาน บริการตรวจรักษาโรค บริการซื้อและยืมถังก๊าซ เป็นต้น เพื่อที่จะทำให้สวัสดิการทุกประเภทสามารถสนองประโยชน์ให้กับพนักงานได้อย่างทั่วถึง 7. วินัยและการร้องทุกข์ ควรจัดให้มีกฎระเบียบและข้อวินัย ซึ่งเป็นของ ปตท. เองออกมาใช้ให้เร็วที่สุด เพื่อขจัดปัญหาคนในองค์การเดียวกัน มีข้อบังคับคนละฉบับ และจะได้เป็นมาตรฐานเดียวกัน หมดทั้งองค์การ ซึ่งจะเป็นการง่ายในการปฏิบัติตนของพนักงานในองค์การ และสะดวกต่อการพิจารณาข้อวินัยของพนักงานของหัวหน้าหน่วยงานด้วย 8. การแรงงานสัมพันธ์ ควรจะได้จัดให้มีการประชุมด้านแรงงานสัมพันธ์ในหมู่หัวหน้าหน่วยงานกับพนักงาน ในหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อลดปัญหาช่องว่างของผู้บริหารและพนักงานชั้นผู้น้อย โดยความร่วมมือช่วยเหลือของกองแรงงานสัมพันธ์และฝ่ายสหภาพแรงงาน นอกจากนั้นยังมีสิ่ง ซึ่งควรศึกษาต่อไป คือวิวัฒนาการการปรับตัวของรัฐวิสาหกิจแห่งนี้ ในแง่ของการบริหารบุคคล ซึ่งมาจากการรวมองค์การหลาย ๆ องค์การเข้าด้วยกัน จึงเป็นการรวมบุคคลหลายพวก หลายเหล่าเข้าด้วยกัน ดังนั้นการศึกษาการปรับตัวของพนักงานในองค์การในแง่ของการทำงานรวมกันและการประสานงาน จึงเป็นสิ่งที่น่าสนใจศึกษาต่อไป-
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this thesis are the study of administrative standards and techniques, as well as problems and difficulties faced by the personnel management of the petroleum Authority of Thailand, a newly established government enterprise formed by a consortium of several existing agencies; its identity is unigue unlike any other government enterprises as a result of extraordinary circumstances when formed. The study uses primary data obtained from interviews and questionaires to survey the opinions of employees and secondary data obtained from research and compiling from books, periodicals, other documents such as rules and regulations, notices, instructions and orders of Petroleum Authority of Thailand and other Government units concerned. The results of study and analysis of the hypothesis are:- 1. Welfare management of Petroleum Authority of Thailand cannot meet the needs of its employees thoroughly; as there are some deficiencies of criteria and conditions in providing the welfare for the employees. Furthermore, the insufficiency of equipment, places and personnel for the provided welfare is another cause that makes the welfare management unable to meet its employees needs thoroughly. 2. In the 5-year period, (1984-1988) the work force of the petroleum Authority of Thailand shall not be twice than it is now, owing to the undertaking of big projects and most of these have been being underway for quite a long time; some have been completed while some are expected to be completed within one or two more years. The employees who have completed in their performances may come to join in the works which are being performed thus the number of new employees, to be recruited may be diminished. Even though some projects regarding explorations and refineries as well as of other special activities shall demand new batches of employees, but the trend of the increased will not be as big as the hypothesis set. Outlines of conclusion obtained by analysis and recommendations to tackle the problems are:- 1.petroleum Authority of Thailand should make a plan for the personnel department for the future, so that the quantity and quality of personnel for its several departments will suffice. The quality will meet the demands when the time arises. Planning for the personnel should be implemented so that it should be on a suitable basis. 2. When a need for workers arises, publicity for the recruitment should be extensively made in order to draw applicants from different sources and at the same time favouritism should be diminished in enrollment too. 3. Screening should be based on theory and practice to be conducted systematically to ensure specific quality and quantity of the persons to be recruited and also should be conducted on equitable basis. 4. Training and development should be conducted following the opportunities sought out and the training should be aimed at the improvement of the execution of the duties. Funds for the purposes should be disbursed appropiately as the prevailing situation shows its inadequacy. 5. The assessment of the performance should in format with methods of assessment adopted by the whole organization thus to lessen the problems originated by different ways of assessments conducted by each department and by this difference in method the workers then will focus their attention on the comparison of difference and may create misunderstanding. 6. The conditions, the personnel and the means of providing the welfare, which are still unable to meet its employees'needs thoroughly such as bus service, medical service and purchasing and lending gas-holders service, etc., should be improved in order to enable all kinds of the welfare to be useful for the employees thoroughly. 7. Discipline and petitions should be made in line with rules and regulations of Petroleum Authority of Thailand which are to be put into practice soonest possible. Standard rules and regulations for the whole organization is to be used and every employee can follow with ease and at the same time, consideration of penalty can be fairly meted out. 8. Labour relations should be conducted amongst the chief of each unit with the employees of unit concerned in order to narrow the gaps between executives and subordinates, with the cooperation of Labour Relations Division and Labour Union alike. The other aspect that should be studied is the evolution of the adjustment of this Government enterprise is regard to personnel management, the workers who actually come from various agencies. It is a pot-pourri, self adjustment of each individual is quite interesting for further study.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย -- การบริหารงานบุคคล-
dc.subjectการบริหารงานบุคคล-
dc.titleการบริหารงานบุคคลของการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย-
dc.title.alternativePersonnel administration of petroleum authority of Thailand-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineบริหารธุรกิจ-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Seahanat_su_front_p.pdf13.79 MBAdobe PDFView/Open
Seahanat_su_ch1_p.pdf2.83 MBAdobe PDFView/Open
Seahanat_su_ch2_p.pdf21.59 MBAdobe PDFView/Open
Seahanat_su_ch3_p.pdf24.87 MBAdobe PDFView/Open
Seahanat_su_ch4_p.pdf63.34 MBAdobe PDFView/Open
Seahanat_su_ch5_p.pdf40.75 MBAdobe PDFView/Open
Seahanat_su_ch6_p.pdf10.63 MBAdobe PDFView/Open
Seahanat_su_back_p.pdf31.21 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.