Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64179
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorชวลิต นิตยะ-
dc.contributor.advisorกุณฑลทิพย พานิชภักดิ์-
dc.contributor.authorวรชาติ แก้วคำฟู-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-02-17T08:55:12Z-
dc.date.available2020-02-17T08:55:12Z-
dc.date.issued2543-
dc.identifier.isbn9743466851-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64179-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543-
dc.description.abstractแนวคิดโครงการจัดสรรที่ดิน-สาธารณูปโภคพร้อมกับที่อยู่อาศัยแบบสร้างบางส่วน (Site and Services with Core house) เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อย โดยให้ราคาที่อยู่อาศัยสอดคล้องกับความสามารถในการจ่ายของผู้มีรายได้น้อยและมีแนวคิดว่าที่อยู่อาศัยจะเติบโตตามตามการเปลี่ยนแปลงสถานภาพทางด้านสังคมและเศรษฐกิจของครัวเรือน จัดสร้างครั้งแรกในประเทศไทยทั้งในกรุงเทพและต่างจังหวัด ช่วงปี พ.ศ.2518 โดยการเคหะแห่งชาติ มีการพัฒนารูปแบบเรื่อยมารวมทั้งสิน 6 โครงการและสุดห้ายที่มีการจัดสร้างคือโครงการเมืองใหม่บางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งมีที่อยู่อาศัยทั้งสิน 4 แบบ แบ่งตามระดับรายได้ครัวเรือน แบบ A เป็นแบบที่มีขนาดเล็กสุดสำหรับประชากรที่มีระดับ รายได้ครัวเรือนต่ำสุดในโครงการ เมื่อโครงการแล้วเสร็จและเปิดให้ผู้ซื้อเข้าอยู่อาศัยเมื่อปีพ.ศ.2528 จนถึงปัจจุบันทำให้มองเห็นพัฒนาการทางกายภาพของที่อยู่อาศัยเปลี่ยนแปลงไปอย่างชัดเจน ในการวิจัยครั้งนี้ได้เลือกที่อยู่อาศัยแบบ A ในโครงการเมืองใหม่บางพลี เพื่อใช้ศึกษาเป็นการสอบทานแนวคิดเรื่องพัฒนาการของที่อยู่อาศัยเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงสถานภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของครัวเรือน กำหนดวัตสุประสงค์การวิจัยไว้ 2 ประการ ประการแรกเพื่อศึกษารูปแบบและพัฒนาการในการต่อเติมที่อยู่อาศัยแบบ A ในโครงการเมืองใหม่บางพลี และประการที่สองเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพัฒนาการของที่อยู่อาศัยกับการเปลี่ยนแปลงสถานภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของครัวเรือน มีกระบวนการวิจัยดังนี้ ชั้นตอนแรกได้ทำการสำรวจการใช้งานที่อยู่อาศัยแบบ A จำนวน 1,260 ครัวเรือนพบว่ามีการใช้งานเป็น 8 ประเภทด้วยกัน ขั้นตอนที่ 2 ได้เลือกศึกษาเฉพาะรูปแบบที่ผู้อยู่อาศัยซื้อเองและมีการต่อเติมเพื่อใช้อยู่อาศัยเองมาตั้งแต่ด้นจำนวน 172 ครัวเรือน ขั้นตอนที่ 3 ได้ทำการศึกษาครัวเรือนดังกล่าวโดยใช้แบบสัมภาษณ์ครัวเรือน ทั้งสิน 27 หน่วยพบว่า ข้อมูลการต่อเติมของครัวเรือนส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์กับการเปลี่ยนแปลงสถานภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของครัวเรือน ขั้นตอนที่ 4 ได้ดัดเลือกกรณีตัวอย่างจำนวน 5 ครัวเรือนเพื่อสัมภาษณ์ในเชิงลึกเพื่ออธิบายความเชื่อมโยงให้เห็นความสัมพันธ์ดังกล่าวชัดเจนยิ่งขึ้น สรุปผลการศึกษาตามวัตสุประสงค์ที่ตั้งไว้ได้ดังนี้ ประการแรก รูปแบบการ ใช้งานที่เจ้าของซื้อจากการเคหะแห่งชาติตั้งแต่เริ่มต้นโครงการและมีการต่อเติมเพื่ออยู่อาศัยซึ่งเป็นกลุ่มเป้าหมายหลักมีจำนวน คิดเป็นร้อยละ 13.65 1 การต่อเติมส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นเพียง 3 ครั้ง, เป็นการต่อเติมเป็นแบบชั้นเดียวมากกว่าสองชั้น, มักต่อเติมพื้นที่ว่างส่วนด้านหลังก่อนและส่วนใหญ่จะย้ายห้องน้ำส้วมจากของเดิมที่ตั้งอยู่ด้านหน้าไปไว้ส่วนหลังสุดของแปลงที่ดินพร้อมกับทำระบบประปา, สุขาภิบาลใหม่ ประการที่สองปัจจัยเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างการต่อเติมกับการเปลี่ยนแปลงสถานภาพทางสังคมพบว่าการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของจำนวนสมาชิกไม่ได้เป็นเหตุผลทำให้เกิดการต่อเติมเพียงอย่างเดียวแต่การต่อเติมที่พบจะมีปัจจัยเรื่องอายุและเพศของสมาชิกในครัวเรือนเข้ามาเป็นเหตุผลสำคัญด้วยกล่าวคือ ในการต่อเติมถ้าเป็นครอบ ครัวที่มีบุตรสาวที่เริ่มเข้าสู่ช่วงวัยรุ่นมักจะมีการกั้นห้องให้เป็นสัดส่วน ส่วนถ้าเป็นบุตรชายการต่อเติมหากต้องการกั้นพื้นที่ให้เป็นสัดส่วนมักจะใช้โชว์หรือผ้าม่านเป็นเครื่องกั้นพื้นที่เท่านั้น และปัจจัยเรื่องการเปลี่ยนแปลงสถานภาพทางเศรษฐกิจของครัวเรือนพบว่าระดับรายได้ครัวเรือนมืแนวโน้มที่สูงชั้นและมีเงินเหลือเก็บออมบ้าง เป็นสาเหตุที่ทำให้มีการต่อเติมในแต่ละครั้ง จากการที่ได้ศึกษาที่อยู่อาศัยแบบสร้างบางส่วนในโครงการเมืองใหม่บางพลี พบว่าไม่ได้เป็นแนวคิดโครงการที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยที่ล้มเหลวตามที่เข้าใจ ในกรณีที่ผู้อยู่อาศัยเป็นกลุ่มเป้าหมายที่แห้จริงของการเคหะแห่งชาติซึ่งจากการศึกษาพบว่าผู้อยู่อาศัยมีความพอใจและมีพัฒนาการด้านที่อยู่อาศัยเป็นอย่างดีโคยไม่ได้คิดที่จะขายหรือย้ายไปอยู่ที่อื่น ดังนั้นหากจะมีการจัดทำโครงการลักษณะนี้อีกในอนาคตต้องมีการกำหนดนโยบาย,การวางแผนงานชั้นตอนต่าง ๆ อย่างรัดกุมเช่นการคัดเลือกประชากรกลุ่มเป้าหมายที่แท้จริงให้ได้เป็นเจ้าของ,การเก็บค่าผ่อนชำระรายเดือนในแบบ Progressive rate เนื่องจากจะเห็นได้ว่าระดับรายได้ของครัวเรือนมีแนวโน้มสูงขึ้นหลังจากมีความมั่นคงในการอยู่อาศัยมาได้ระยะหนึ่งรวมทั้งการปรับเปลี่ยนรูปแบบ Core house ให้มีความเหมาะสม เชื่อว่า โครงการจัดสรรที่ดินพร้อมสาธารณูปโภคและที่อยู่อาศัยแบบสร้างบางส่วน (Sites and Services with Core house) จะเป็นอีกแนวทางหนึ่งที่สามารถนำกลับมาใช้แก้ปัญหาเรื่องการขาดแคลนที่อยู่อาศัยของผู้มีรายได้น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาวะที่เศรษฐกิจช่วงตกต่ำ สอดคล้องตามแนวคิดเรื่องเศรษฐกิจแบบพอเพียงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานแก่ชาวไทยว่า ให้มีความพอดีแก่ตนเอง ซึ่งหมายถึงการดำเนินวิถีชีวิตอย่างพอเพียงแก่ตนเองและครอบครัว-
dc.description.abstractalternativeThe concept of the sites and Services with Core House project is to provide low-income housing. Accordingly, the price of housing is affordable for this group of owners, and it is expected they will reside here long-term even after an upgrading in a family’s social and economic status. These first projects were firstly built in Bangkok and other provinces by National Housing Authority in 1975. Six projects have been developed and Bang Plee New Town Project, constructed in Samutprakarn, was the last to be started. The project contains four types of housing classified according to residents’ income. For example, type A is the smallest house and is available to people in the lowest income bracket. The project was completed and opened for occupancy in 1985. A study of its development process reveals a clear picture of physical changes to the residences. This research focuses on type A houses in Bang Plee New Town project as a case study of whether or not housing development results from changes in a household ’ร social and economic status. The purposes are to study styles and process in extentions of type A housing and to study the relationship between housing extensions and changes in an owner's social and economic status. The research process was as follows : First, observations of type A housing usage were made in 1,260 households. The study revealed eight kinds of usage. Second, one hundred and seventy two houses bought and renovated by the original owners were chosen. Third, the study included with twenty seven households through interviews results indicating strong relationship between home extension and changes in social and economic status . Fourth, five households were chosen for in-depth interviews to study the relationship in more detail. The conclusions based on the study results are as follows: First, concerning the styles and process of extension, it was found that the target group that bought and, later, extended their houses accounted for 13.65% of all owners. Most owners renovated their home only three times. Moreover, the construction was usually one-story, rather than two. The development usually started in the rear of the house. Most owners also moved toilets from the front to the back of the house. In addition, the water supply system and the sanitation system were reconstructed. Second, concerning the relationship between housing development and social and economic status, it was discovered that the number of family members was not the only reason for the extension. Age and sex were also grounds for housing extension. For example, rooms were partitioned to increase privacy for teenage girls whereas only curtains were hung in households with teenage boys. Moreover, the extension was related to the economic status; as it was found each extension was begun once there was an increase in income and savings. The study however, showed that the concept of Bang Plee project did not at low-income families as firstly understood. When considering only the target group determined by National Housing Authority, the study revealed their satisfaction and better home improvement while they insisted no intention to move. Therefore, if similar projects are to be planned, careful policy and planning should be determined. For instance, the authority should give priority to the target group to occupy the housing in the project, implement Progressive rate monthly payment rates as a resident's income tends to increase after a period of time, and alter the features of Core house to better suit people’s needs. The Sites and Sendees with Core house will certainly be the way to solve housing shortages among low-income people, especially during the current economic crisis. Furthermore, the project also supports the King’s economic concept of sufficiency economy.-
dc.language.isoth-
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
dc.subjectโครงการเมืองใหม่บางพลี-
dc.subjectคนจน -- ที่อยู่อาศัย-
dc.subjectที่อยู่อาศัย -- ไทย -- บางพลี (สมุทรปราการ)-
dc.subjectการสร้างบ้าน-
dc.titleพัฒนาการของการต่อเติมที่อยู่อาศัยแบบสร้างบางส่วน : กรณีศึกษา ที่อยู่อาศัยแบบ A ในโครงการเมืองใหม่บางพลี จังหวัดสมุทรปราการ-
dc.title.alternativeThe extension process of core house type A : Bang Plee New Town Project case study-
dc.typeThesis-
dc.degree.nameเคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต-
dc.degree.levelปริญญาโท-
dc.degree.disciplineเคหการ-
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย-
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Worachart_ke_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ962.22 kBAdobe PDFView/Open
Worachart_ke_ch1_p.pdfบทที่ 1695.58 kBAdobe PDFView/Open
Worachart_ke_ch2_p.pdfบทที่ 21.31 MBAdobe PDFView/Open
Worachart_ke_ch3_p.pdfบทที่ 31.63 MBAdobe PDFView/Open
Worachart_ke_ch4_p.pdfบทที่ 41.31 MBAdobe PDFView/Open
Worachart_ke_ch5_p.pdfบทที่ 52.8 MBAdobe PDFView/Open
Worachart_ke_ch6_p.pdfบทที่ 6848.91 kBAdobe PDFView/Open
Worachart_ke_back_p.pdfรายการอ้างอิง และภาคผนวก1.22 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.