Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64314
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสำลี ทองธิว-
dc.contributor.advisorBloch, Marianne N-
dc.contributor.authorอมรรัตน์ วัฒนาธร-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-03-09T03:11:26Z-
dc.date.available2020-03-09T03:11:26Z-
dc.date.issued2547-
dc.identifier.isbn9741759738-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64314-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547en_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนื้เป็นการวิจัยภาคสนามที่มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการร่วมมือกันของชุมชนในโครงการวิจัยและเพื่อพัฒนาหลักสูตรเศรษฐศาสตร์ท้องถิ่นโดยนำเอาบริบททางสังคมของท้องถิ่นด้านการทำงานไม้แกะสลักมาใช้เป็นข้อมูลพื้นฐานในกระบวนการพัฒนา หลักสูตร กลุ่มเป้าหมายได้แก่ผู้ให้ความร่วมมือชาวบ้านถวายจำนวน 9 คน และแรงงานจากชาวบ้านเก้าหมู่บ้านใกล้เคียงบ้านถวาย จำนวน 47 คนซึ่งได้มาจากการเลือกแบบเจาะจงตาม วิธีการหลักที่ใซ้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่การสังเกตอย่างมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการ การสัมภาษณ์กลุ่มและการสนทนากลุ่ม ผู้วิจัยใช้วิธีการตรวจสอบข้อมูลที่รวบรวมจากหลายแหล่งโดยใช้วิธีการตรวจสอบลามเส้าและวิเคราะห์ข้อมูลภายใต้กรอบทถูษฏีทางสังคมวิทยาและทางการศึกษา ผลการวิจัยพบว่ามีดังนี้ การร่วมมือกันของชาวบ้านบ้านถวายในโครงการวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักสูตรเศรษฐศาสตร์ท้องถิ่น มีลักษณะของการร่วมมือกัน 2 ลักษณะ ได้แก่ การร่วมมือกันระหว่างชาวบ้านกับผู้วิจัยและการร่วมมือกันระหว่างชาวบ้านกับชาวบ้าน การร่วมมือกันทั้งสองลักษณะนี้พบว่า เกิดขึ้นใน 2 ระยะ ระยะที่ 1 ในช่วงการศึกษาหาข้อมูลเศรษฐศาสตร์การประกอบอาชีพไม้แกะสลักในท้องถิ่น และระยะที่ 2 ในช่วงของการพัฒนาหลักสูตรเศรษฐศาสตร์ท้องถิ่นในระยะที่ 1 การร่วมมือกันของชาวบ้านกับผู้วิจัยเกิดขึ้นเมื่อชาวบ้านกับผู้วิจัยช่วยกันค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์การทำงานไม้แกะสลัก ส่วนการร่วมมือของชาวบ้านด้วยกันเองเกิดขึ้นเมื่อชาวบ้านพยายามที่จะทำความเข้าใจและสะท้อนสภาพการทำงานไม้แกะสลักที่เกิดตามสภาพที่เกิดขึ้นจริงในหมู่บ้าน ในระยะที่ 2 การร่วมมือระหว่างผู้วิจัยกับชาวป้านเกิดขึ้นเมื่อชาวบ้านกับผู้วิจัยช่วยกันตรวจสอบข้อมูลเพื่อจะนำมาจัดทำเป็นเนื้อหาเศรษฐศาสตร์ ส่วนการร่วมมือระหว่างชาวบ้านด้วยกันเองเกิดขึ้นเมื่อกลุ่มผู้นำชุมชนและชาวบ้านกระตุ้นกันเองให้เกิดการนำเอาหลักสูตรไปใช้ เนื้อหาหลักสูตรเศรษฐศาสตร์ท้องถิ่นที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยมโนทัศน์ทางเศรษฐศาสตร์ 12 มโนทัศน์ ได้แก่ ความชำนาญพิเศษการแบ่งงานกันทำตามความชำนาญ การตัดสินใจและแรงสูงใจ การลงทุนแสะผลกำไร การแลกเปลี่ยนโดยความสมัครใจ อุปทานและอุปสงค์ อุปสงค์และอุปทาน การแข่งขันกันขาย การกระจายสินค้า การมีออยู่อย่างจำกัดของทรัพยากร การกำหนดราคา และสถาบันทางการเงิน มโนทัศน์เศรษฐศาสตร์ทั้ง 12 มโนทัศน์จัดเป็น 4 หน่วยการเรียนผู้ ได้แก่ เอกลักษณ์ของภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการผลิตงานศิลปหัตถกรรมบ้านถวายความเอื้ออาทรของผู้ขายและกำไรที่ได้รับ การร่วมใจร่วมแรงสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน และการผลิตไม้แกะสลักบนฐานการพัฒนาที่ยั่งยืน ประเด็นหลักของความแตกต่างระหว่างหลักสูตรเศรษฐศาสตร์ท้องถิ่นที่พัฒนาขึ้นกับหลักสูตรเศรษฐศาสตร์แม่บทอยู่ที่เนื้อหาสำหรับการเรียนผู้ในหลักสูตร เนื้อหาเศรษฐศาสตร์ท้องถิ่นในหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นได้มาจากการประสมประสานให้เกิดความพอดีระหว่างหลักการที่เป็นเศรษฐศาสตร์สากลแนวทุนนิยมกับวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น และเนื้อหาเศรษฐศาสตร์ท้องถิ่นแนวประสมประสานในหลักสูตรที่พัฒนาขึ้นนี้จะทุกนำมาบูรณาการกับเนื้อหารายวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง แล้วจัดทำเป็นหน่วยการเรียนรู้ขึ้น 4 หน่วย ในขณะที่เนื้อหามโนทัศน์เศรษฐศาสตร์หลักสูตรแม่บทมีเนื้อหาที่มาจากหลักการเศรษฐศาสตร์สากลแนวทุนนิยมเพียงอย่างเดียว ดังนั้นการนำหลักสูตร เศรษฐศาสตร์แม่บทไปใช้ในโรงเรียน โรงเรียนจำเป็นเต้องบูรณาการเนื้อหารายวิชาอื่นเข้ากับมาตรฐานเศรษฐศาสตร์เพื่อจัดทำเป็นหน่วยการเรียนรู้ขึ้น ส่วนการใช้หลักสูตรเศรษฐศาสตร์ที่พัฒนาขึ้นนี้โรงเรียนสามารถนำเอาบทเรียนตามแนวทางที่จัดไว้ให้แล้วในหลักสูตรไปไช้ได้เลยen_US
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this study were to investigate the process of collaboration of the villagers in the research project and to develop the local economics curriculum using wood handicraft context of Bann Thawai as the foundation for the local economics curriculum. The target groups were comprised of 9 Thawai villagers and other 47 villagers from the nine villages in the vicinity, selected by purposive sampling technique. Field research study, which primarily based on participant observation and informal interview, including group interview and focus group, were conducted throughout the study. Triangulation technique was used to check the validity of the collected data The verified data were then interpreted according to the theoretical framework in Social Sciences and educational theories Research findings were as follows: The collaboration of the villagers in the research project regarding curriculum development emerged in two characteristics: the collaboration between the villagers and the researcher and the collaboration among villagers themselves. Both types of collaboration occurred during the two phases of research procedure; the first occurred during the stage of searching for the wood handicraft economics data and the second occurred during the stage of curriculum development. At the first stage, the collaboration between the villagers and the researcher occurred when the villagers and the researcher helped each other search for the wood handicraft economics data. The collaboration among the villagers occurred when they tried to understand and reflect authentic wood handicraft situation in the village. At the second stage, the collaboration between the villagers and the researcher occurred when helping each other validate data to form economics content. The collaboration among the villagers occurred when the community leaders and other villagers encouraged one another to reach the curriculum utilization stage. The developed contents in the local economics curriculum consisted of 12 economics concepts. These concepts were; specialization, division of labor. decision making and incentives. investment and profit. the voluntary exchange, supply and demand, demand and supply, the sale competition, the allocation of goods, scarcity, price determ1na1ion and financial institution. They were grouped into 4 units of learning; "The identity of local wisdom and wood handicraft in the production of Bann Thawai", "Local cons1derahon and cash, profit making. "Building up community strength through collaboration among villagers" and "Wood handicraft production and sustainable development *. The major d1flerence between the developed local economics curriculum and the economics from the national curriculum was in terms of its learning content. The developed local economics content was derived from mediating between the principle of global cap1tahsm and the local culture and wisdom. In addition, the mediated content in the developed local curriculum had been integrated with the relevant subjects to form four units of learning while the economics concepts in the national curriculum had been solely drawn from the principle of the global capitalism. As a consequence, a school 1mplement1ng the national curriculum needed to integrate other subjects with the economics standards to form their own learning units while the school utilizes the developed curriculum can launch the lessons following the provided guideline.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectเศรษฐศาสตร์ -- หลักสูตร -- ไทยen_US
dc.subjectเศรษฐศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (ประถมศึกษา)en_US
dc.subjectการวางแผนหลักสูตร -- การมีส่วนร่วมของประชาชนen_US
dc.subjectEconomics -- Curricula -- Thailanden_US
dc.subjectEconomics -- Study and teaching (Elementary)-
dc.subjectCurriculum planning -- Citizen participation-
dc.titleการวิจัยแบบร่วมมือที่ใช้ชุมชนเป็นฐานในกระบวนการพัฒนาหลักสูตร : กรณีศึกษาหลักสูตรเศรษฐศาสตร์ระดับประถมศึกษาที่บ้านถวาย จังหวัดเชียงใหม่en_US
dc.title.alternativeCommunity-based collaborative research in the process of curriculum development : a case study of curriculum in economics at the elementary educational level, Bann Thawai, Chiang Mai Provinceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineหลักสูตรและการสอนen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSumlee.T@Chula.ac.th-
dc.email.advisorไม่มีข้อมูล-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Amornrat_wa_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ1.32 MBAdobe PDFView/Open
Amornrat_wa_ch1_p.pdfบทที่ 11.27 MBAdobe PDFView/Open
Amornrat_wa_ch2_p.pdfบทที่ 24.73 MBAdobe PDFView/Open
Amornrat_wa_ch3_p.pdfบทที่ 32.75 MBAdobe PDFView/Open
Amornrat_wa_ch4_p.pdfบทที่ 41.89 MBAdobe PDFView/Open
Amornrat_wa_ch5_p.pdfบทที่ 52.49 MBAdobe PDFView/Open
Amornrat_wa_ch6_p.pdfบทที่ 61.66 MBAdobe PDFView/Open
Amornrat_wa_ch7_p.pdfบทที่ 74.22 MBAdobe PDFView/Open
Amornrat_wa_ch8_p.pdfบทที่ 82.2 MBAdobe PDFView/Open
Amornrat_wa_ch9_p.pdfบทที่ 91.74 MBAdobe PDFView/Open
Amornrat_wa_back_p.pdfรายการอ้างอิง และภาคผนวก2.17 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.