Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64445
Title: นิเวศวิทยาการสืบพันธุ์และการใช้พื้นที่เกษตรกรรมของนกยูง Pavo muticus Linnaeus, 1766 ที่อุทยานแห่งชาติดอยภูนาง
Other Titles: Breeding ecology, and agricultural field utilization of green peafowl Pavo muticus Linnaeus, 1766 at Doi Phu Nang National Park
Authors: สิริรักษ์ อารทรากร
Advisors: วีณา เมฆวิชัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
Advisor's Email: wina.m@chula.ac.th
Subjects: นกยูง -- การสืบพันธุ์
อุทยานแห่งชาติดอยภูนาง
Pavo muticus -- Reproduction
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ฤดูสืบพันธ์ของนกยูงอยู่ระหว่างเดือนพฤศจิกายนกึงพฤษภาคม ลานผสมพันธ์บนสันเขาพบในเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนพฤษภาคม ตัวผู้มีพื้นที่อาณาเขตครอบครองอย่างตํ่า 0.301 ± 0.07 ตร.กม. และมีการซ้อนทับกันของอาณาเขตครอบครองบางส่วน ลานผสมพันธุ์มีเส้นผ่าศูนย์กลางเฉลี่ย 3.46 ± 1.84 ม. บนสันเขาป่าเต็งรัง ซึ่งเป็นที่ราบหินละเอียดหรือเป็นดินฝุ่น และมีเรือนยอดปกคลุมน้อยมาก จำนวนลานผสมพันธ์ที่พบมากขึ้นมีความสัมพันธ์กับความโล่งขึ้นของป่า โดยมีความสัมพันธ์ทางลบกับ เปอร์เซ็นต์ความหนาทึบเรือนยอด (rs = -0.991, P < 0.05) เปอร์เซ็นต์สิ่งปกคลุมพื้นล่าง (rs = -0.865, P < 0.05) และความชุกชุมของพืชพื้นล่างต่าง ๆ ได้แก่ ไม้พุ่ม (rs = -0.847, P < 0.05) และไม้ล้มลุก (rs = -0.883, P < 0.05) นกยูงตัวเมียเริ่มทำรังวางไข่ในเดือนธันวาคม ในปาเต็งรัง ตามร่องนํ้า ที่ราบหรือป่าหญ้าที่รอดพ้นจากไฟป่าในฤดูแล้ง ร่องรอยลูกนกเริ่มพบในเดือนมีนาคม พบ 2 - 4 ตัวต่อหนึ่งแม่ ลักษณะพื้นที่ที่นกยูงใช้เลี้ยงลูก ได้แก่ บริเวณรอยต่อของสันเขาซึ่งมีหญ้ารกและร่มครึ้มระหว่างร่องนํ้า พบร่องรอยใกล้กับลานผสมพันธุ์ของตัวผู้เป็นบางครั้ง พบร่องรอยนกยูงในพื้นที่เกษตรกรรมในไร่ที่มีการเพาะปลูกพืชชนิดต่าง ๆ รวม 39 ครั้ง จากทั้งหมด 93 ครั้ง พบร่องรอยนกยูงใช้พื้นที่ในเดือนสิงหาคม พ.ศ.2543 กึง พฤษภาคม พ.ศ.2544 ในไร่ข้าวโพดระยะออกฝักจนกระทั้งไถกลบในไร่ถั่วดำตลอดช่วงการเพาะปลูกยกเว้นเมื่อถั่วดำเป็นต้นกล้า ในไร่ถั่วลิสงระยะออกดอกจนกระทั้งเก็บเกี่ยวและไถกลบ และในไร่ฝ้ายระยะมีดอกและหลังเก็บเกี่ยว นกยูงจะไม่ใช้พื้นที่เกษตรกรรมเมื่อมีคนเข้ามาในพื้นที่ ผลการทดสอบค่าทางสถิติพบว่าความชอบเข้าใช้พื้นที่เกษตรกรรมของนกยูงมีความสัมพันธ์กับ ระยะการเพาะปลูกพืชไร่ ({u1D4B3}2 = 31.009, P < 0.05) ความสูงของพืชไร่ ({u1D4B3}2 = 18.720, P < 0.05) และมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความชุกชุมของสัตว์ขาข้อในป่า (rs = 0.829, P < 0.05 และ rs = 0.829, P < 0.05 ตามลำดับ) มีความสัมพันธ์ทางลบกับความชุกชุมของเมล็ดพืชในป่า (rs = -0.900, P < 0.05 และ rs = -0.900, P < 0.05 ตามลำดับ) ความชุกชุม ของสัตว์มีกระดูกสันหลังในป่า (rs = -0.829, P < 0.05 และ rs = -0.886, P < 0.05 ตามลำดับ) และมีความสัมพันธ์ทางบวกระหว่างค่าเฉลี่ยของอุณหภูมิกับจำนวนตัวที่พบในช่วงเช้า (rs = 0.889, P < 0.05)
Other Abstract: The breeding season of green peafowl is around November to May. The territorial area is at least 0.301 ± 0.073km2. Some parts of territory are overlap. Displaying area is found at plain on fine gravel or dusty area of hill ridge with open canopy during November to May, 3.46 ± 1.84 m2 in average area. Number of displaying area is increase with open area and has negative correlation with canopy cover (rs = -0.991, p < 0.05), ground cover (rs = -0.865, p < 0.05), as well as the abundance of shrub (rs = -0.847, p < 0.05) and herb (rs = -0.883, p < 0.05). Green peafowl nested on hill crack or grassy plain area of dry deciduous forest that have never been fired after December. Young traces are found in March at 2 - 4 young per female. Their brood rearing area is along hill column with high undergrowth, and occasionally found near the male's displaying area. The green peafowl are observed from 39 out of 93 samplings of various agricultural fields. The traces in agricultural field are found during August 2000 to March 2001 which at the same time as com are seeding until plough, black beans are cultivated, peanuts are flowering until harvesting and plough, and the cottons are flowering and after harvesting. The green peafowl did not use the agricultural field when human are present. The preference of green peafowl in agricultural fields are significantly correlated with crop-growth period ({u1D4B3}2 = 31.009, p < 0.05), and crop height ({u1D4B3}2 = 18.720, p < 0.05). The average number of green peafowl and time spending in agricultural field are positive correlation with the arthropod abundance in the forest (rs = 0.829, p < 0.05 and rs = 0.829, p < 0.05, respectively). On the other hand, it has negative correlation with seeding plant abundance (rs = -0.900, p < 0.05 and rs = -0.900, p < 0.05, respectively) and vertebrate abundance in the forest (rs = -0.829, p < 0.05 and rs = -0.886, p < 0.05, respectively). The average temperature in the morning is also correlated with the average number of green peafowl that use the agricultural field in the morning (rs = 0.889, p < 0.05).
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สัตววิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64445
ISBN: 9741706413
Type: Thesis
Appears in Collections:Sci - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Siriraks_ar_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ919.26 kBAdobe PDFView/Open
Siriraks_ar_ch1_p.pdfบทที่ 1650.88 kBAdobe PDFView/Open
Siriraks_ar_ch2_p.pdfบทที่ 21.45 MBAdobe PDFView/Open
Siriraks_ar_ch3_p.pdfบทที่ 31.73 MBAdobe PDFView/Open
Siriraks_ar_ch4_p.pdfบทที่ 43.64 MBAdobe PDFView/Open
Siriraks_ar_ch5_p.pdfบทที่ 5878.65 kBAdobe PDFView/Open
Siriraks_ar_back_p.pdfรายการอ้างอิง และภาคผนวก2.98 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.