Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64566
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวันชัย เทพรักษ์-
dc.contributor.authorประสม ณ ชาตรี, 2519--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์-
dc.date.accessioned2020-03-30T16:55:15Z-
dc.date.available2020-03-30T16:55:15Z-
dc.date.issued2545-
dc.identifier.issn9741727003-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/64566-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาล้ย, 2545en_US
dc.description.abstractการก่อสร้างคันดินบนชั้นดินเหนียวอ่อนมากในบัเจจุบันมีวิธีการก่อสร้างหลากหลายรูปแบบ แต่ละรูปแบบวิธีการมีความเหมาะสมที่แตกต่างกันไป งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมการทรุดตัวและเสถียร ภาพของคันดินที่ก่อสร้างบนชั้นดินโคลนปากแม่น้ำ ลักษณะชั้นดินประกอบด้วยชั้นดินโคลนลึก 6 ม. มีค่าความชื้น 110-130% และกำลังรับแรงเฉือนเปลี่ยนแปลงตามความลึกมีค่าประมาณ 2.55 - 8.55 kN/m2. ถัดมาเป็นชั้นดินเหนียวแข็งปานกลางและดินเหนียวแข็ง โดยคันดินที่ทำการก่อสร้างมีการใช้วัสดุเสริมแรงด้วยแผ่นใยสังเคราะห์ ไม้ไผ่ และเสาเข็มไม้ ซึ่งได้ทำการทดลองก่อสร้างคันดินทดสอบโดยถมสูงขึ้นเป็นขั้นตอนจาก 1 ม., 2 ม.และสิ้นสุดที่ความสูง 3 ม.จำนวน 3 พื้นที่ พร้อมทั้งทำการติดตั้งเครื่องมือวัดการทรุดตัว เพื่อเก็บข้อมูลปริมาณการทรุดตัวของคันดินระหว่างทำการก่อสร้างและภายหลังการก่อสร้างแล้วเสร็จ นอกจากนั้นยังได้เก็บข้อมูลการ เคลื่อนตัวของดินฐานรากบริเวณด้านข้างของคันดินทดสอบ เพื่อตรวจสอบการวิบัติของคันดิน การก่อสร้างคันดินบนชั้นดินโคลนโดยวิธีการเสริมแรงด้วยแผ่นใยสังเคราะห์ ไม้ไผ่และเสาเข็มไม้ ถึงแม้จะเกิดการวิบัติเนื่องจากเกิดการไหลของดิน แต่ก็เป็นวิธีการที่สามารถก่อสร้างได้และช่วยให้ปริมาณการเคลื่อนตัวของดินลดน้อยลงกว่ากรณีปกติ เนื่องจากพฤติกรรมของคันดินทดสอบจะเกิดการแทนที่ของดินถมลูกรัง (ดินถม) เข้าไปในดินโคลน โดยมีระบบของเสาเข็มไม้ แผ่นใยสังเคราะห์และไม้ไผ่ เป็นระบบที่พยุงให้เกิดเป็นกระเปาะดิน ผลการวิเคราะห์ปริมาณการเคลื่อนตัวในแนวดิ่งระหว่างการก่อสร้าง ณ แนวกึ่งกลางของคันดินมีความสัมพันธ์กับน้ำหนักจากคันดินถม พบว่า ρi=0.0041 q 2+0.2542q + 0.0336 เมื่อ ρi คือปริมาณการทรุดตัว (เมตร) และ q คือ น้ำหนักคันดิน (กิโลนิวตันต่อตารางเมตร) ผลการศึกษาด้านเสถียรภาพ พบว่าดินฐานรากชั้นดินโคลนที่ไม่คำนึงถึงการเสริมแรงด้วยแผ่นใยสังเคราะห์ ไม้ไผ่และเสาเข็มไม้มีค่าความปลอดภัยของกำลังรับแรงแบกทานและความปลอดภัยเชิงลาดตํ่ามาก โดยค่าความปลอดภัยต้านกำลังรับแรงแบกทานมีค่าตํ่าสุดเท่ากับ 0.22 มีผลทำให้เกิดการวิบัติการใช้วัสดุเสริมแรงด้วยแผ่นใยสังเคราะห์ ไม้ไผ่และเสาเข็มไม้ มีผลทำให้เสถียรภาพเชิงลาดหลังจากเกิดการแทนที่ของดินถมเข้าไปในดินโคลนฐานรากมีค่าสูงขึ้นและสามารถก่อสร้างได้จริง โดยค่าความปลอดภัยของเสถียรภาพที่ความสูง 3 ม. มีค่าประมาณ 1.11-
dc.description.abstractalternativeEmbankment on very soft clay can be constructed by various different methods. This research aims to study the behavior and settlement of the embankment constructed on mud foundation at delta area. Soil profile consists of 6 m. thick mud with water content between 110 to 130 percent and the undrained shear strength increasing linearly with depth between 2.55 to 8.55 kN/m2. The embankment was reinforced by geotextile, bamboo and timber piles. Three test sections of embankment were constructed in stages from 1 m high 2 m high and end at 3 m. high. The vertical and lateral ground displacement during and after construction were measured by means of surface settlement markers installed on geotextile. The embankment constructed on mud with reinforced by geotextile, bamboo and timber piles can be constructed even the bearing capacity failure on mud foundation was induced. The reinforced pattern can reduce the lateral soil movement than case of non-reinforce embankment because the mud foundation was replaced by filled embankment and forming the compacted soil bulb beneath the embankment. The settlement at centerline of embankment (ρi , m.) during construction is in function of embankment surcharge ( q , kN/m2) as follows: ρi = 0.0041 q 2 +0.2542q + 0.0336. The non-reinforced embankment shows a very low safety factor against overall stability failure. The safety factor against bearing capacity failure on mud foundation for case of non-reinforcement with geotextile, bamboo and timber pile is in the order of 0.22. The embankment with reinforcement of geotextile, bamboo and timber piles induces the compacted soil bulb in the mud foundation and lead to increase the safety factor against stability of embankment. The safety factor for case of 3 m. high embankment with reinforcement is in the order 1.11-
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectคันทางen_US
dc.subjectเสาเข็มen_US
dc.subjectการวิบัติของโครงสร้างen_US
dc.subjectปฐพีกลศาสตร์en_US
dc.subjectดินเสริมแรงen_US
dc.subjectEmbankmentsen_US
dc.subjectPiling (Civil engineering)en_US
dc.subjectStructural failuresen_US
dc.subjectSoil mechanicsen_US
dc.subjectReinforced soilsen_US
dc.titleพฤติกรรมหลังการวิบัติของคันดินบนชั้นดินโคลนบริเวณปากแม่น้ำen_US
dc.title.alternativePerformance of post failure embankment on mud at delta areaen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิศวกรรมโยธาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorwanchai.te@chula.ac.th-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Prasom_na_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ1.02 MBAdobe PDFView/Open
Prasom_na_ch1_p.pdfบทที่ 11.15 MBAdobe PDFView/Open
Prasom_na_ch2_p.pdfบทที่ 23.14 MBAdobe PDFView/Open
Prasom_na_ch3_p.pdfบทที่ 32 MBAdobe PDFView/Open
Prasom_na_ch4_p.pdfบทที่ 43.32 MBAdobe PDFView/Open
Prasom_na_ch5_p.pdfบทที่ 5643.36 kBAdobe PDFView/Open
Prasom_na_back_p.pdfรายการอ้างอิง และภาคผนวก3.12 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.