Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65294
Title: | การวิเคราะห์ค่าอำนวยการของงานก่อสร้าง |
Other Titles: | Analysis of construction overhead cost |
Authors: | ชัชวาล ฤกษ์อร่าม |
Advisors: | วิสุทธิ์ ช่อวิเชียร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | fcevcc@eng.chula.ac.th |
Subjects: | การก่อสร้าง -- การประมาณราคา Building -- Estimates |
Issue Date: | 2545 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาและวิเคราะห์ค่าอำนวยการและองค์ประกอบของค่าอำนวยการ รวมทังวิธีการคิดค่าอำนวยการให้ใกล้เคียงกับค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในงานก่อสร้างเพื่อใช้ในการประมาณราคา ผู้ทำวิจัยเลือกใช้ข้อมูลของงานก่อสร้างทางของปี พ.ศ. 2542 และ พ.ศ. 2543 ที่ก่อสร้างแล้วเสร็จ โดยใช้วิธีส่งแบบสอบถามให้ผู้รับเหมาตอบและใช้วิธีสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้อง ในกรณีต้องการข้อมูลที่ไม่มีในแบบสอบถาม ข้อมูลที่ใช้เพื่อการวิจัยครั้งนี้ได้ใช้ข้อมูลจากผู้รับเหมาในทุกภาคของประเทศซึ่งได้รับแบบสอบถามตอบกลับมาจำนวน 78 โครงการในการวิจัยได้แบ่งค่าอำนวยการออกเป็น 3 กลุ่มคือค่าอำนวยการจัดหางาน ค่าอำนวยการสนามและค่าอำนวยการสำนักงานใหญ่ ซึ่งมีองค์ประกอบของค่าอำนวยการจำนวน 65 องค์ประกอบ ผลการศึกษาพบว่า การกำหนดตัวแปรอิสระที่มีอิทธิพลต่อแบบจำลองของค่าอำนวยการของงานก่อสร้างทางจะมี 33 ตัวแปร ประกอบด้วยค่างานต้นทุน ระยะเวลาก่อสร้าง รายรับต่อปีและเลือกองค์ประกอบของค่าอำนวยการมาครั้งหนึ่งของแต่ละกลุ่มหรือหมวด ทำให้ได้ตัวแปร 30 ตัวแปรกำหนดให้ค่าอำนวยการเป็นตัวแปรตาม เลือกความสัมพันธ์เป็นแบบจำลองคณิตศาสตร์เชิงเส้นตรงดำเนินการหาค่าของสมการถดถอยเพื่อเป็นสมการตัวแทนของข้อมูลและใช้ในการหาค่าอำนวยการเพื่อเปรียบเทียบกับค่าอำนวยการของ Factor F ซึ่งพบว่าค่าอำนวยการจากการวิจัยมีค่ามากกว่าค่าอำนวยการจาก Factor F เนื่องจากองค์ประกอบของค่าอำนวยการจากการวิจัยมีความครอบคลุม มากกว่าค่าอำนวยการจาก Factor F แต่ถ้าการหาค่าอำนวยการจาก Factor F มีการปฏิบัติใช้ไม่ครบทุกองค์ประกอบของค่าอำนวยการที่กำหนดให้ จะทำให้ค่าอำนวยการจากการวิจัยดูเหมือนว่ามีค่าสูงเกินไป ดังนั้นถ้าจะนำค่าอำนวย การจากการวิจัยไปใช้ ควรพิจารณาเงื่อนไขข้อนี้ด้วย |
Other Abstract: | The objective of this research is to study and analyze the overhead cost and its components. Additionally, the research will describe the calculating method for obtaining the practical overhead cost in which this cost can be used for cost estimation. This research used the data from highway construction; 78 projects located in all regions in Thailand were completed during BE. 2542 and 2543. For collecting data the researcher chose the method of sending questionnaires to contractors, and interviewing the involved parties for additional data which are not treated in the questionnaires. The respondents in this research are located in all regions. The overhead costs were divided into 3 groups which were job providing overhead, site overhead, and office overhead; these comprising 65 components. After analyzing the data, the independent variables were stipulated for the regression model of overhead cost from the project factor and its components. These components were project cost, duration, annual revenue, and 30 components from half of each group of the overhead cost. The overhead cost was specified as a dependent variable and the mathematical linear regression was chosen to represent the relationship pattern for the whole data. This regression model were used to forecast the overhead cost which can explain the practical overhead cost for the gathered data. The derived overhead cost is rather slightly high when compared with the Factor F overhead cost method. After detailed analysis, it was found that the overhead cost from this research was higher than the Factor F method. The explanation is that the overhead components used in the study were more exhaustive than the components indicated in Factor F study. However, the overhead cost from this research seems to be too high when compared with the Factor F method if all components are not used in forecasting. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมโยธา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65294 |
ISBN: | 9741727798 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Chatchawal_le_front_p.pdf | หน้าปก บทคัดย่อและสารบัญ | 841.75 kB | Adobe PDF | View/Open |
Chatchawal_le_ch1_p.pdf | บทที่ 1 | 693.01 kB | Adobe PDF | View/Open |
Chatchawal_le_ch2_p.pdf | บทที่ 2 | 843.56 kB | Adobe PDF | View/Open |
Chatchawal_le_ch3_p.pdf | บทที่ 3 | 1.15 MB | Adobe PDF | View/Open |
Chatchawal_le_ch4_p.pdf | บทที่ 4 | 2.57 MB | Adobe PDF | View/Open |
Chatchawal_le_ch5_p.pdf | บทที่ 5 | 1.17 MB | Adobe PDF | View/Open |
Chatchawal_le_ch6_p.pdf | บทที่ 6 | 1.26 MB | Adobe PDF | View/Open |
Chatchawal_le_ch7_p.pdf | บทที่ 7 | 671.25 kB | Adobe PDF | View/Open |
Chatchawal_le_ch8_p.pdf | บทที่ 8 | 807.45 kB | Adobe PDF | View/Open |
Chatchawal_le_back_p.pdf | รายการอ้างอิง และภาคผนวก | 2.65 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.