Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65304
Title: ผู้อยู่อาศัยกับโอกาสในการพัฒนาที่ดินราชพัสดุชุมชนซอยพิพัฒน์ 2 เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร
Other Titles: An opportunity in development on state property at Soi Pipat 2 community Bangrag Prefacture, Bangkok Metropolis
Authors: อมรรัตน์ กล่ำพลบ
Advisors: มานพ พงศทัต
กุณฑลทิพย พานิชภักดิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Manop.B@Chula.ac.th
Kundoldibya.P@chula.ac.th
Subjects: ชุมชนแออัด
ที่ราชพัสดุ
การพัฒนาชุมชน
การพัฒนาที่ดิน -- ไทย -- กรุงเทพฯ
เขตบางรัก (กรุงเทพฯ)
Slums
Community development
Bangrak (Bangkok)
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ชุมชนซอยพิพัฒน์ 2 เป็นชุมชนหนึ่งที่ตั้งอยู่บนที่ดินราชพัสดุในแขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร ที่อยู่ในใจกลางเมืองเป็นชุมชนที่มีสภาพความเป็นอยู่แออัดมีการปลุกสร้างบ้านเรือน สภาพบ้านค่อนข้างทรุดโทรม ขาดความเป็นระเบียบ กรมธนารักษ์มีนโยบายในการพัฒนาเพี่อจัดหา ประโยชน์โดยโยกย้ายผู้อยู่อาศัยเดิมที่เป็นผู้เช่าที่ขณะนี้ได้สิ้นสุดสัญญาเช่าแล้ว การศึกษาลักษณะการอยู่อาศัยในปัจจุบัน ตลอดจนความต้องการ และความคิดเห็นของผู้อยู่อาศัย มีความสำคัญและจำเป็นมาก เพราะเป็นตัวบ่งชี้โอกาสและทางเลือกในการพัฒนาที่ดินแปลงนี้ โดยมีวัตถุประสงค์ การวิจัยในการวิจัย คือ 1) ศึกษาสภาพการอยู่อาศัย สังคม เศรษฐกิจ ของผู้อยู่อาศัยในที่ราชพัสดุ 2) ศึกษาความคิดเห็นของผู้อยู่อาศัย ต่อการพัฒนาที่ดินราชพัสดุบริเวณชุมชนซอยพิพัฒน์2 ในสำนของความคดเห็นในการพัฒนาที่ราชพัสดุ ได้ทำการสัมภาษณ์ผู้มีประสบการณ์จากหน่วยงานและองค์กรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสร้างทางเลือกในการโยกย้ายที่อยู่อาศัย สรุปว่ารุมีประสบการณ์ได้ให้ความคิดเห็นในการโยกย้ายที่อยู่อาศัยในที่ราชพัสดุแปลงนี้รวม 4 ทางเลือก คือ ทางเลือกที่ 1 ไม่ต้องการอยู่ในที่ดินเดิมและขอรับเงินค่าชดเชยการรื้อย้าย หางเลือกที่ 2 ขอให้ทางราชการจัดหาที่ดินแปลงใหม่เพื่อรองรับการโยกย้ายที่อยู่อาศัย ทางเลือกที่ 3 การประสานการใช้ประโยชน์ในที่ดิน (Land Sharing) ซึ่งในกรณีนี้จะเป็นการแบ่งที่ดินบางส่วนให้แก่ผู้อยู่อาศัยเดิมและให้สิทธิการเช่าระยะยาว โดยผู้อยู่อาศัยจะไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดิน หางเลือกที่ 4 ต้องการอยู่อาศัยในที่ดินเดิมโดยปรับปรุงสภาพที่อยู่อาศัยให้มีความมั่นคงแข็งแรง และยินยอมให้ทางราชการปรับปรุงค่าเช่าเพิ่มขึ้นตามสภาพทำเล ซึ่งได้นำทางเลือกดังกล่าวที่ได้จากการสัมภาษณ์ผู้มีประสบการณ์สร้างแบบสัมภาษณ์ที่มีโครงสร้าง เพื่อทำการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกผู้อยู่อาศัยในชุมชนซอยพิพัฒน์ 2 จากการศึกษาพบว่า 1)ในด้านเศรษฐกิจผู้อยู่อาศัยในชุมชนซอยพิพัฒน์ 2 ส่วนใหญ่จะเป็นผู้มีรายได้ระดับปานกลางมีอาชีพค้าขายและทำงานบริษัทเอกชน รายได้ต่อครัวเรือนเพียงพอต่อการดำรงชีวิต ไม่หนี้สิน มีสิ่งอำนวยความสะดวกค่อนข้างครบ 2) ในด้านสังคมความสัมพันธ์ภายในชุมชนของผู้อยู่อาศัยจะรู้จักกันเกือบทุกครอบครังเพราะอยู่อาศัยมานานมาก มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน มีการรวมกันในการระดมความคิดและช่วยกันแก้ไขปัญหาของชุมชน และมีผู้นำชุมชนที่ผู้อยู่อาศัยไว้วางใจ 3) ในด้านกายภาพพบว่าผู้อยู่อาศัยในชุมชนซอยพิพัฒน์ 2 จะอยู่อาศัยในที่ดินมานานกว่า 40 ปี ลักษณะที่อยู่อาศัย ส่วนใหญ่จะเป็นบ้านเดี่ยว 2 ชั้น มีพื้นที่ใช้สอยโดยเฉลี่ยประมาณ 40-60 ตารางเมตร มูลค่าที่อยู่อาศัยอยู่ในช่วง ราคา 100,000-400,000 บาท และการใช้ประโยชน์โดยส่วนใหญ่ใช้เป็นที่อยู่อาศัย 4) ในเรื่องความคิดเห็นในการพัฒนาที่ราชพัสดุแปลงนี้ ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่ต้องการอยู่ในที่ดินแปลงเดิมและเห็นควรให้มีการปรับปรุงทางด้านกายภาพ โดยยินยอมให้ทางราชการปรับปรุงค่าเช่าเพิ่มขึ้น รองลงมาขอรับเงินค่าชดเชยการรื้อย้าย และให้มีการประสานการใช้ประโยชน์ในที่ดิน (Land Sharing) ตามลำดับ สำหรับทางเลือกที่ขอให้ทางราชการจัดหาที่ดินแปลงใหม่เพื่อรองรับการโยกย้ายที่อยู่อาศัยไม่มีผู้ให้สัมภาษณ์รายใดที่เลือกทางเลือกนี้เลย ข้อเสนอแนะที่ได้จากผลการศึกษาชุมชนซอยพิพัฒนา 2 เป็นชุมชนที่มีผู้อยู่อาศัยจำนวนมากและมีการจัดตั้งคณะกรรมการชุมชน ดังนั้นในการโยกย้ายชุมชนซอยพิพัฒน์ 2 ควรใช้หลักรัฐศาสตร์ควบคู่กับหลักนิติศาสตร์ข้อเสนอแนะในระยะสั้น กรมธนารักษ์อาจใช้ผลการศึกษาเป็นข้อมูลเกี่ยวกับทางเลือกในการโยกย้ายที่อยู่อาศัย ประกอบการวางแผนและพิจารณาดำเนินการในขั้นต่อไปได้ ข้อเสนอแนะในระยะยาว กรมธนารักษ์ควรพัฒนากระบวนการรับฟังความคิดเห็น เพื่อให้ได้มาซึ่งแนวนโยบายและทางเลือกในการพัฒนาที่ราชพัสดุเพื่อให้เห็นผลเป้นรูปธรรมต่อไปโดย 1) จัดทำทางเลือกในการพัฒนาที่ราชพัสดุแปลงนี้ที่ครอบคลุมเรื่องการรื้อย้ายผู้อยู่อาศัยเดิมในเชิงลึก ที่มีความละเอียด ชัดเจนและกว้างขวางยิ่งขึ้น ซึ่งอาจต้องทำการประเมินมูลค่าที่ดิน ผลตอบแทนทางด้านการเงินและสังคม ความเป็นไปได้และโอกาสในการพัฒนาที่ดิน 2) มีการระดมความคิดเห็นร่วมกันระหว่างผู้เกี่ยวข้องเพื่อทำการวิเคราะห์ข้อดีข้อเสีย จุดแข็งจุดอ่อนของแต่ละทางเลือก และโอกาสในการพัฒนาที่เหมาะสม 3) นำผลการดำเนินการมาใช้ในการตัดสินใจในทางเลือกที่เหมาะสมและสมประโยชน์ที่สุด โดยคำนึงถึงสภาวะเศรษฐกิจ และการลงทุนของประเทศเป็นสำคัญด้วย
Other Abstract: The Soi Pipat 2 Community is a community located in Bangkok district, Bangkok. This piece of land belongs to the office of State Property. It is a dilapidated slum. The Treasury Department is planning to develop this area as one of its financial resources by not renewing the tenants’ contract. Studying the tenants's living conditions, needs and attitudes is a must since they indicate a possibility and alternative to developing this piece of land. This study aimed to 1) study the tenants’ living conditions and their socio-economic background and 2) study the tenants’ attitudes towards this development. To resettle the tenants, related individuals who are experienced in this field and work in various agencies agree that there are four choices to choose from. The first one is that they do not want to live in limited space, but would like to get compensation for moving out. The second is that they would like the government to find a new place for them. The third is that they share the land with the office. The office puts aside part of the land for them to reside on and provides them with a long lease. The fourth is that they want to live there and are willing to pay a higher rent, but the government has to improve the buildings. Based on the four choices, another questionnaire is used to ask the tenants in Soi Pipat 2. It is found that 1) most tenants are average - income merchants and company employees. Their income is just enough to make ends meet. They do not have debts and are equipped with many facilities. 2) they know one another well since they have lived there over 40 years. They will brainstorm to solve a problem and they trust their community leaders. 3) most of them live in a 2- story detached house with a functional area of 40 - 60 square meters. Their houses are worth between 100,000 and 400.000 baht and 5) most of them do not want to move their houses and agree that their first choice is that the physical condition of the community should be improved. They do not mind paying a high rent. Their second choice is getting compensation for resettlement from the government and the third is sharing land. None choose to resettle in a new place. It is suggested that, as a short - term plan, the Treasury Department should take take the study results into account when mapping a plan of resettlement. As for a long - term plan, the Department should carry out a public hearing in order to adopt the most effective way or resettlement. เท so doing, it has to 1 ) come up with options, 2) analyze the advantages and the disadvantages of each option and its feasibility and 3) make a decision on the best alternative in line with the economic situation and the oudget.
Description: วิทยานิพนธ์ (คพ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: เคหพัฒนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เคหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65304
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2002.314
ISSN: 9741720793
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2002.314
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Amornrat_kl_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ913.14 kBAdobe PDFView/Open
Amornrat_kl_ch1_p.pdfบทที่ 1696.01 kBAdobe PDFView/Open
Amornrat_kl_ch2_p.pdfบทที่ 21.97 MBAdobe PDFView/Open
Amornrat_kl_ch3_p.pdfบทที่ 31.31 MBAdobe PDFView/Open
Amornrat_kl_ch4_p.pdfบทที่ 41.91 MBAdobe PDFView/Open
Amornrat_kl_ch5_p.pdfบทที่ 5832.73 kBAdobe PDFView/Open
Amornrat_kl_ch6_p.pdfบทที่ 63.15 MBAdobe PDFView/Open
Amornrat_kl_ch7_p.pdfบทที่ 7907.69 kBAdobe PDFView/Open
Amornrat_kl_back_p.pdfรายการอ้างอิง และภาคผนวก3.31 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.