Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65635
Title: การพัฒนากระบวนการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมผลการเรียนทางคณิตศาสตร์ และความตระหนักรู้ในการรู้คิดของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โดยใช้การผสมผสานแนวคิดการประมวลสารสนเทศและการรู้คิด
Other Titles: The development of an instructional process for enhancing mathematics learning outcomes and metacognitive awareness of lower secondary school students by combining an information processing approach with metacognition
Authors: สมยศ ชิดมงคล
Advisors: น้อมศรี เคท
สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Normsri.C@Chula.ac.th
sompoch.l@chula.ac.th
Subjects: คณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)
ระบบการเรียนการสอน
การรู้คิด
การเรียนรู้
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
Mathematics -- Study and teaching (Secondary)
Instructional systems
Cognition
Learning
Academic achievement
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนากระบวนการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมผลการเรียนทางคณิตศาสตร์และความตระหนักรู้ในการรู้คิดของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โดยใช้การผสานแนวคิดการประมวลสารสนเทศและการรู้คิด และ 2 ) เพื่อศึกษาคุณภาพของกระบวนการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น คือผลการเรียนทางคณิตศาสตร์และความตระหนักรู้ ในการรู้คิด ผลการเรียน,ทางคณิตศาสตร์ประกอบด้วย ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เจตคติต่อการเรียนคณิตศาสตร์ และความคงทนของความรู้ทางคณิตศาสตร์ดำเนินการพัฒนากระบวนการเรียนการสอนโดย ศึกษข้อมูลพื้นฐาน แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง นำข้อมูลที่ได้จากศึกษามาสร้างกระบวนการเรียนการสอน แล้วนำไปทดลองพกับกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนนนทรีวิทยา จำนวน 2 ห้องเรียน แบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 52 คน ระยะเวลาในการทดลอง 10 สัปดาห์วัดผลการทดลองใช้ทั้งก่อนและหลังการทคลอง และวัด ความคงทนของความรู้ทางคณิตศาสตร์หลังการทดลองสองสัปดาห์ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. กระบวนการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วยขั้นตอนการสอน 8 ขั้น ได้แก่ 1) ขึ้นเร้าความสนใจและทำให้ตระหนักถึงประโยชน์ 2) ขั้นกำหนดเป้าหมายการเรียนรู้ 3) ขั้นนำเสนอสาระหรีอสถานการณ์การเรียนรู้และวิเคราะห์จัดระบบ 4) ขั้นกระตุ้นความรู้เดิมและวางแผนปฏิบัติ 5) ขั้นสร้างเสริมความเข้าใจ 6) ขั้นสรุปข้อความรู้ 7) ขั้นประยุกต์ความรู้และ 8) ขั้นให้ข้อมูลป้อนกลับ 2. ผลการทดลองใช้กระบวนการเรียนการสอน พบว่า 2.1 นักเรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 2.2 นักเรียนกลุ่มทดลองมีเจตคติต่อการเรียนคณิตศาสตร์ และความตระหนักรู้ในการรู้คิด หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่นักเรียนกลุ่มควบคุมมีเจตคติต่อการเรียนคณิตศาสตร์และความตระหนักรู้ในการรู้คิด ก่อนและหลังการทดลองไม่แตกต่างกัน 2.3 นักเรียนกลุ่มทดลองมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เจตคติต่อการเรียนคณิตศาสตร์ ความคงทนของความรู้ทางคณิตศาสตร์ และความตระหนักรู้ในการรู้คิด หลังภารทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติทระดับ .05
Other Abstract: The purposes of this study were; 1) to develop an instructional process for enhancing mathematics learning outcomes and metacognitive awareness of lower secondary school students based on the combination of information processing approach and metacognition, and 2) to study duality of the developed instructional process which were mathematics learning outcomes and metacognitive awareness of samples. Mathematics learning outcomes included mathematics achievement, attitude towards learning mathematics, and retention of mathematics knowledge. The instructional process was conducted by studying background data of mathematics instructional management, information processing approach, and metacognition. The studied data were taken to make instructional process and then the developed instructional process was implemented. The samples of this study were grade 7 students of Nontreevittaya school. They were from two classrooms and divided into control and experimental groups, and there were 52 students in each group. Duration of experiment was 10 weeks long. The samples were tested all variables before and after implementing the developed process, except the retention, the samples were tested after implementation for two weeks. The findings of this study were as follows:- 1. The developed instructional process consisted of 8 steps; 1) arousing attention and creating awareness of usefulness, 2) setting learning objectives, 3) presenting learning materials or situations, analyzing, and organizing the perceived data, 4) activating prior knowledge and setting up a plan, 5) constructing understanding, 6 ) summarizing learned knowledge, 7) applying knowledge, and 8 ) giving feedback 2. Posttest scores of mathematics achievement of the experimental and control group v/ere higher than pretest scores significantly. 3. Posttest scores of attitude towards learning mathematics and metacognitive awareness scores of the experimental group were significantly higher than pretest scores. But for the control group, posttest arid pretest scores were not different. 4. Posttest scores of mathematics achievement, attitude towards learning mathematics, and metacognitve awareness as well as retention score of the experimental group were significantly higher than of tile control group.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: หลักสูตรและการสอน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65635
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2002.697
ISSN: 9741715455
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2002.697
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Somyot_ch_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ849.22 kBAdobe PDFView/Open
Somyot_ch_ch1_p.pdfบทที่ 1914.95 kBAdobe PDFView/Open
Somyot_ch_ch2_P.pdfบทที่ 22.26 MBAdobe PDFView/Open
Somyot_ch_ch3_p.pdfบทที่ 33.18 MBAdobe PDFView/Open
Somyot_ch_ch4_p.pdfบทที่ 41.39 MBAdobe PDFView/Open
Somyot_ch_ch5_p.pdfบทที่ 51.13 MBAdobe PDFView/Open
Somyot_ch_back_p.pdfรายการอ้างอิง และภาคผนวก2.35 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.