Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65732
Title: การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการป่าชายเลน
Other Titles: Public paticipation in mangrove forest management
Authors: เอกรินทร์ ไพเราะ
Advisors: อิทธิพล ศรีเสาวลักษณ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: Eathipol.S@Chula.ac.th
Subjects: ป่าชายเลน -- ไทย
ป่าชายเลน -- การมีส่วนร่วมของประชาชน
ป่าชายเลน -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ -- ไทย
Mangrove forests -- Thailand
Mangrove forests -- Citizen participation
Mangrove forests -- Law and legislation -- Thailand
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ต้องการที่จะศึกษาถึงการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการป่าชายเลน โดยต้องการที่จะทำการศึกษาถึง ปัญหา อุปสรรค และข้อจำกัดของการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการปาชายเลนตลอดจนระดับและรูปแบบขององค์กรประชาชนที่เหมาะสมต่อการมีส่วนร่วมในการจัดการป่าชายเลนเพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนากฎหมายในการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการป่าชายเลนให้มีความชัดเจนและเพียงพอต่อการรับรองสิทธิการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการปาชายเลน เนื่องจากอำนาจและหน้าที่ในการจัดการป่าชายเลนเป็นของรัฐแต่เพียงฝ่ายเดียวซึ่งที่ผ่านมานั้นรัฐไม่สามารถที่จะจัดการป่าชายเลนได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงพอ ดังจะเห็นได้จากที่ผ่านมานั้นป่าชายเลนมีปริมาณลดลงและเกิดความเสื่อมโทรมจนถึงขั้นวิกฤต ซึ่งจากปัญหาการจัดการป่าชายเลนของรัฐที่ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอดังกล่าวปรากฎว่า ในขณะเดียวกันประชาชนในชุมชนป่าชายเลนในบางพื้นที่ได้มีการรวมกลุ่มกันเพื่อจัดการป่าชายเลนในชุมชนโดยกำหนดมาตรการในการใช้ประโยชน์ ตลอดจนการอนุรักษ์และพิทักษ์รักษาป่าชายเลนจนทำให้ป่าชายเลนในชุมชนนั้นมีสภาพอุดมสมบูรณ์ซึ่งเอื้อประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตของประชาชนในชุมชนประกอบ'ตั้งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธดักราช 2540 อย่างเช่น มาตรา 46 และมาตรา 56 ได้บัญญัติรับรองสิทธิประชาชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ แต่ปรากฏว่ากฎหมายที่นำมาใช้บังดับในการจัดการป่าชายเลนในปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นพระราชบัญญัติป่าไม้พุทธศักราช 2484 พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507 และพระราชบัญญัติอุทยาน แห่งชาติ พ.ศ. 2504 นั้นยังมีได้บัญญัติรับรองสิทธิประชาชนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการป่าชายเลนไว้แต่อย่างใด จากการศึกษาพบว่า ประชาชนสามารถจัดการป่าชายเลนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น รัฐควรที่จะต้องตรากฎหมายออกมาบัญญัติรับรองสิทธิประชาชนในการมีส่วนร่วมจัดการป่าชายเลนให้สอดคลัองกับบทบัญญัติแห่ง รัฐธรรมนูญที่ได้บัญญัติรับรองการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติโดยผู้วิจัยเห็นว่า กฎหมายนั้นจะต้องกำหนดให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการป่าชายเลนในระดับต่าง ๆ ตั้งแต่ การร่วมรับข้อมูลข่าวสาร การร่วมติดร่วมแสดงความคิดเห็น ร่วมพิจารณา ร่วมตัดสินใจ ร่วมดำเนินการ ร่วมติดตามตรวจสอบประเมินผลและร่วมรับผลกระทบ และจะต้องมีรูปแบบขององค์กรประชาชนในการเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการป่าชายเลนที่มีความเหมาะสม โดยผู้วิจัยเสนอให้มีการออกกฎหมายมาบัญญัติรับรองสิทธิของประชาชนในการมีส่วนร่วมจัดการป่าชายเลน เพื่อให้สอดคล้องกับบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญและควรแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติป่าไม้ พุทธศักราช 2484 พระราชบัญญัติปาสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 และพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 ให้มีความสอดคล้องกับ กฎหมายที่บัญญัติรับรองสิทธิของประชาชนในการมีส่วนร่วมในการจัดการป่าชายเลนด้วย ซึ่งจะทำให้การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการป่าชายเลนมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และสอดคล้องกับบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญฯ
Other Abstract: This thesis examines public participation in mangrove forest management, focusing on problems, obstacles and limitations as well as the levels and appropriate patterns of public organization, regarding to mangrove forest management. It aims to provide guidelines to establish concerning laws, by which public rights on said matter are fully assured. The government, though, monopolizes the authority of mangrove forest management; they cannot accomplish the objective efficiently. The mangrove forest continues declining and critically deteriorating. The local habitants in adjacent area, meanwhile, organize their own groups with the intention of mangrove area management. They settle not only regulations on mangrove forest utilization but also measures to protect and restore mangrove forest condition for their sustainable way of life. Section 46 and 56 of Thai Constitution B.E. 2540 attest public rights on natural resource management but they are not applied in managing mangrove forest yet. The Forest Act B.E. 2484, Forest Conservation Act B.E. 2507 and National Park Act B.E. 2504, besides, do not assure public rights on this issue. The study revealed that local people could manage mangrove forest efficiently. The government, therefore, should enact related laws to ensure public rights in conformity with current Constitution. I would recommend the laws should cover all levels of participation such as information reception, opinion expression, assessment, decision-making, cooperating and side effect sharing as well as appropriately regulate public organizations. I recommend the laws on public rights in mangrove forest management should be enforced in conformity with the constitution. Besides, Forest Act B.E. 2484, Forest Conservation Act B.E. 2507 and National Park Act B.E. 2504 should be amended on the same reason. This not only promotes the efficiency of public participation in mangrove forest management but also is in accordance with the constitution.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/65732
ISBN: 9741758731
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Eakkarin_pa_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ822.08 kBAdobe PDFView/Open
Eakkarin_pa_ch1_p.pdfบทที่ 11.04 MBAdobe PDFView/Open
Eakkarin_pa_ch2_p.pdfบทที่ 22.58 MBAdobe PDFView/Open
Eakkarin_pa_ch3_p.pdfบทที่ 33.03 MBAdobe PDFView/Open
Eakkarin_pa_ch4_p.pdfบทที่ 41.76 MBAdobe PDFView/Open
Eakkarin_pa_ch5_p.pdfบทที่ 5938.51 kBAdobe PDFView/Open
Eakkarin_pa_back_p.pdfรายการอ้างอิง และภาคผนวก902.26 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.