Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66031
Title: ความแตกต่างระหว่างราคาสินค้าแยกตามชั้นรายได้ และผลกระทบต่อสัดส่วนคนยากจนที่แท้จริง
Other Titles: Difference in prices of goods by income class and impact on the real poverty incidence
Authors: ศิริกานต์ สิงพันนะ
Advisors: อิศรา ศานติศาสน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์
Advisor's Email: Isra.S@chula.ac.th
Subjects: ความจน -- ไทย
คนจน -- ไทย
พฤติกรรมผู้บริโภค -- ไทย
รายได้ -- ไทย
ดัชนีราคา -- ไทย
Poverty -- Thailand
Poor -- Thailand
Income -- Thailand
Consumer behavior -- Thailand
Price indexes -- Thailand
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาครั้งนี้ ศึกษาถึงระดับราคาสินค้าที่แตกต่างกันตามชั้นรายได้ ซึ่งมีสาเหตุมาจากความแตกต่างของพฤติกรรมการซื้อสินค้าของครัวเรือน จากแนวคิดที่ว่า คนรวยได้น้อยมีงบประมาณจำกัดทำให้ต้องซื้อสินค้าปริมาณน้อยแต่ซื้อบ่อยครั้ง สินค้าขนาดบรรจุเล็กมักมีราคาต่อหน่วยสูงกว่าสินค้าขนาดใหญ่ อีกทั้งคนรายได้น้อยมักซื้อสินค้าจากร้านค้าขนาดเล็กซึ่งมีราคาแพง กว่าร้านค้าขนาดใหญ่ เมื่อคนรายได้น้อยซื้อสินค้าแพงกว่าคนทั่วไปจะทำให้รายได้ที่แท้จริงลดลงและส่งผลให้มีสัดส่วนคนยากจนที่แท้จริงเพิ่มขึ้นด้วย การจัดทำดัชนีราคาที่แตกต่างกันตามชั้นรายได้ 10 ชั้น ใช้ข้อมูลปริมาณ คุณภาพ มูลค่าที่ซื้อต่อครั้ง และร้านค้าที่ซื้อ ของอาหารและสินค้าที่จำเป็น 20 รายการ ที่ได้จากการสำรวจพฤติกรรมการซื้อสินค้าของครัวเรือนในกรุงเทพฯ จำนวน 315 ครัวเรือน แผนการสุ่มตัวอย่างใช้ตามการสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน (สศส.) โดยคัดเลือกชุมรุมอาคารตัวอย่างจากบัญชี รายชื่อชุมชนอาคารตัวอย่างของสำนักงานสถิติแห่งชาติ การคำนวณสัดส่วนคนยากจนที่แท้จริงใช้ข้อมูลรายได้จาก สศส. 2545 และเส้นความยากจนจากการคำนวณของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผลการศึกษาพบว่า ดัชนีราคาของชั้นรายได้ตํ่าที่สุดเท่ากับร้อยละ 109.58 ซึ่งสูงกว่าดัชนีราคาของชั้นรายได้สูงสุดที่มีค่าดัชนีราคาเท่ากับ 93.95 และโดยส่วนใหญ่ชั้นรายได้น้อยมีค่าดัชนีราคามากกว่าชั้นรายได้สูงกว่าตามลำดับ เมื่อนำดัชนีราคาไปคำนวณรายได้ที่แท้จริงและสัดส่วนคนยากจนที่แท้จริง พบว่า มีสัดส่วนคนยากจนเพิ่มขึ้น จากเดิมกรุงเทพฯ มีสัดส่วนคนยากจนเท่ากับ ร้อยละ 0.602 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 0.821 หลังปรับรายได้ด้วยดัชนีราคา หรือมีจำนวนคนจนเพิ่มขึ้น 17,175 คน สัดส่วนคนยากจนในเขตเมืองทั้งประเทศและแต่ละภาคก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน ผลการศึกษาที่ได้สามารถใช้เป็นแนวทางในการวัดความยากจนให้ถูกต้องยิ่งขึ้น และจะใช้เป็นแนวทางในการวาง นโยบายเพื่อช่วยเหลือคนยากจนและผู้มีรายได้น้อยต่อไป
Other Abstract: This study proposes to examine the different purchasing behavior of households that bring about difference in prices paid among income classes. Low-income households with budget constraint may be forced to purchase small-sized goods more frequently. The average prices per unit of these smalls are mostly higher than larger ones. Furthermore, low-income households usually shop at small groceries that mark up higher price on goods than supermarkets or discount stores do. As a consequence, low-income households pay more for goods than other households, causing their real income to decrease and attributing to the real poverty incidence. Price indices categorized into 10 classes by per capita household income are computed by using survey data collected from 315 households in Bangkok. The sampling method follows that used by the Household Socio-Economic Survey. Samples were drawn from the list of sample blocks produced by National Statistical Office. The collected data, concerning 20 goods which are food and basic consumption items, includes quantity and quality of goods, value of purchase per time and places of purchase. Household income data is collected from the Household Socio-Economic Survey 2002. The poverty line used in this study is from the Office of the National Economic and Social Development Board. This study finds that price index of the lowest income class is 109.58 percent of the average level. This is higher than price index of the highest income class, say, 93.95 percent. Most results show that the indices of lower income classes are significantly high compare to the indices of higher income classes. When adjust per capita income by price indices of each class and recalculate the real poverty incidence, result shows that the number of poor in the total population in Bangkok and municipal areas increase. These results can serve as a guide line to improve poverty measurement and may be useful for setting effective remedy policies for the poor.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เศรษฐศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66031
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2003.325
ISBN: 9741756399
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2003.325
Type: Thesis
Appears in Collections:Econ - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Sirikan_si_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ801.13 kBAdobe PDFView/Open
Sirikan_si_ch1_p.pdfบทที่ 1717.17 kBAdobe PDFView/Open
Sirikan_si_ch2_p.pdfบทที่ 21.41 MBAdobe PDFView/Open
Sirikan_si_ch3_p.pdfบทที่ 31.57 MBAdobe PDFView/Open
Sirikan_si_ch4_p.pdfบทที่ 4767.59 kBAdobe PDFView/Open
Sirikan_si_ch5_p.pdfบทที่ 52.01 MBAdobe PDFView/Open
Sirikan_si_ch6_p.pdfบทที่ 6814.51 kBAdobe PDFView/Open
Sirikan_si_back_p.pdfรายการอ้างอิง และภาคผนวก771.26 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.