Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66109
Title: การนำเสนอความบันเทิงในรายการเกมโชว์ พ.ศ. 2543
Other Titles: Entertainment in game show on Thai television in the year 2000
Authors: สุรดา จรุงกิจอนันต์
Advisors: สุภาพร โพธิ์แก้ว
Advisor's Email: Supaporn.Ph@Chula.ac.th
Subjects: เกมโชว์ทางโทรทัศน์--ไทย
รายการโทรทัศน์--ไทย
Television game shows--Thailand
Television programs--Thailand
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีจุดมุ่งหมายเพี่อศึกษาวิธีนำเสนอความบันเทิงในรายการเกมโชว์ทางโทรทัศน์ พ.ศ. 2543 โดยอาศัยแนวคิดเกี่ยวกับการเล่น อารมณ์ขัน ศวามบันเทิง และแนวคิดเกี่ยวกับรายการเกมโชว์ และใช้วิธีวิจัย 3 วิธี คือ การวิเคราะห์เนื้อหา การสังเกตการณ์ และการสัมภาษณ์เจาะลึก ในการศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยศึกษารายการเกมโชว์ทั้งหมด 32 รายการ โดยแบ่งรายการเกมโชว์ออกเป็น 4 เนื้อหา คือ รายการเกมโชว์ทีมีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องส่วนบุคคล รายการเกมโชว์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับความรู้ทั่วไปและความรู้เฉพาะด้าน รายการเกมโชว์ทีมีเนื้อหาเกี่ยวกับความท้าทาย และรายการเกมโชว์ที่มีเนื้อหาผสม ผลการศึกษาวิจัยพบว่า การนำเสนอความบันเทิงในรายการเกมโชว์เนื้อหาต่าง ๆ จะมีความแตกต่างกันไป องค์ประกอบที่มีบทบาทต่อการสร้างความบันเทิงมากที่สุด คือ พิธีกร และ เกมการแข่งขัน รายการเกมโชว์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องส่วนบุคคลจะมีส่วนคล้ายรายการวาไรตี้ และจะเน้นความสนุกสนานและอารมณ์ขัน โดยจะมีดารารับเชิญ มาเล่าเรื่องราวต่าง ๆ เพี่อใช้เป็นคำถาม พิธีกรจะมีบทบาทในการพูดคุยซักถาม และทำให้เรื่องที่ดารารับเชิญ เล่าเป็นเรื่องสนุกสนานโดยใช้ความสามารถและถูกเล่นส่วนตัว บางครั้งมีการกลั่นแกล้งกันเองในหมู่พิธีกรหรือดารารับเชิญ รายการเกมโชว์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกันความรู้ทั่วไปและความรู้เฉพาะด้านเป็นรายการเกมโชว์ทีมีรูปแบบคล้ายรายการแข่งขันตอบปัญหา ความสนุกของเกมเกิดจากคำถาม ซึ่งไม่ยากและไม่ง่ายจนเกินไป ทำให้ผู้ชมมีโอกาสร่วมเล่นเกมไปพรัอม ๆ กับผู้แข่งขัน บางรายการใช้เงื่อนเวลาทำให้เกงงการแข่งขันเร้าใจขึ้น พิธีกรมีบทบาทสำคัญ ในการสร้างบรรยากาศให้กับรายการ ซึ่งมีทั้ง แบบกดดันและสนุกสนาน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับแนวเนื้อหา รายการเกมโชว์ที่เกี่ยวกับความท้าทาย เป็นรายการเกมโชว์ที่มีรูปแบบของการแข่งขันที่ต้องใช้ไหวพริบ ความเร็ว และพละกำลัง รวมทั้งจิตใจ เพี่อเอาชนะ ส่วนมากเน้นที่การเคลื่อนไหวของร่างกายทำให้เกิดความตื่นเต้น พิธีกรจะมีบทบาทในการสร้างอารมณ์โดยการแสดงออกทางทั้งทางสีหน้าท่าทางและร่างกาย รายการที่มีเนื้อหาผสม เป็นการแข่งขันหลากหลายเนื้อหา ทั้งเรื่องส่วนบุคคล ความรู้ และความท้าทาย ความบันเทิงในรายการประเภทนี้จะมีหลายรสชาติ พิธีกรไม่ค่อยมีบทบาทในการสร้างความบันเทิงที่โดดเด่นมากนัก จากการศึกษาครั้งนี้ยังพบว่าผู้แข่งขันในรายการทุกเกมโชว์ทุกประเภทมักเป็นดารา และ ไม่ได้มีแต่เกมการนแข่งขันอย่างเดียวที่สร้างความบันเทิง แต่จะมี การแสดงแทรกอยู่มากบ้างน้อยบ้าง
Other Abstract: The research is a qualitative research aiming to the study the techniques employed in various genres of game show on TV to entertain the audience, based on play, humor, entertainment and game show concepts. The methods employed in the research are content analysis, observations, and series of in-depth interview. The research included 32 game shows, based on their content, into 4 categories: personal life-oriented, knowledge-oriented, action-oriented, and hybrid game shows. The study reveals that the techniques used by each type of game show differs from one to another. The hosts and the games are also found to have contributed the most to the fun of the programs. Similar to the variety show, tile fun-filled personal life-oriented game shows feature celebrity guests telling their personal stories and contestants answering the questions derived from the stories. The host, usually good at repartee, play a vital role in prompting the guests to make casual, often funny, remarks about the stories. Practical jokes are sometimes played on the guests or co-hosts. The knowledge-oriented game shows are comparable to quiz shows in which contestants' knowledge is tested by questioning. What makes it fun are the questions that are not too difficult and not too easy, allowing for the audience to play along. Some programs impose time constraints on part of the contestants to stimulate more excitement. The hosts may seek to pressure the contestants or instead create a relaxing atmosphere during the programs. The action-oriented game shows require strength as well as keenness and quickness of the contestants as the games are mostly action-filled. The hosts enhance the excitement of the games by intensifying their facial and body expressions. The hybrid game shows offer a wide variety of contests about personal life, knowledge, and action. The role of the hosts in making the programs more enjoyable are not outstanding. The study also found that most contestants of all the four contents of game shows are celebrities. The game shows not only present competition, but also short comedy show and short performances geared toward the themes of the shows
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การสื่อสารมวลชน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66109
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2001.435
ISBN: 9741702264
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2001.435
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Surada_ch_front_p.pdfหน้าปก บทคัดย่อ และสารบัญ979.53 kBAdobe PDFView/Open
Surada_ch_ch1_p.pdfบทที่ 1929.24 kBAdobe PDFView/Open
Surada_ch_ch2_p.pdfบทที่ 21.38 MBAdobe PDFView/Open
Surada_ch_ch3_p.pdfบทที่ 3770.82 kBAdobe PDFView/Open
Surada_ch_ch4_p.pdfบทที่ 44.26 MBAdobe PDFView/Open
Surada_ch_ch5_p.pdfบทที่ 51.87 MBAdobe PDFView/Open
Surada_ch_ch6_p.pdfบทที่ 61.1 MBAdobe PDFView/Open
Surada_ch_ch7_p.pdfบทที่ 73.83 MBAdobe PDFView/Open
Surada_ch_ch8_p.pdfบทที่ 8870.83 kBAdobe PDFView/Open
Surada_ch_back_p.pdfรายการอ้างอิงและภาคผนวก715.37 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.