Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66192
Title: วงขับไม้ : ประวัติและบทบาทในการบรรเลงประกอบพระราชพิธีกล่อมช้าง
Other Titles: Wong Khub Mai : history and Royal Elephant Lull
Authors: สมบูรณ์ บุญวงษ์
Advisors: ปกรณ์ รอดช้างเผื่อน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: วงขับไม้
พระราชพิธีกล่อมช้าง
พิธีทางศาสนาและพิธีกรรม
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วงขับไม้ เป็นวงดนตรีที่ใช้บรรเลงประกอบพระราชพิธีสมโภชชั้นสูงของไทยมาแต่โบราณ เป็นวงต้นแบบของวงมโหรี เกิดขึ้นราวสมัยอยุธยา พระราชพิธีกล่อมช้าง เป็นพระราชพิธีสำคัญของราชสำนักไทยที่เกิดขึ้นจากคติความเชื่อทางศาสนาพราหมณ์ ในเรื่องที่เกี่ยวกับช้างเผือก ในพิธีการนี้วงขับไม้เป็นวงดนตรีที่มีบทบาทอย่างมาก โดยบทบาทดังกล่าวมีความชัดเจนตั้งแต่ สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น (รัชกาลที่2) จนถึงปัจจุบัน วงขับไม้ของกรมศิลปากรนับได้ว่าเป็นวงขับไม้ที่บรรเลงในพระราชพิธีกล่อมช้างวงเดียวที่เหลืออยู่ในปัจจุบัน ซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญในการบรรเลงที่ได้รับการสืบทอดมาโดยตรงจากวงขับไม้ในสมัยรัชกาลที่ 7 และยึดถือระเบียบ วิธีในการบรรเลงเป็นรูปแบบมาตรฐานที่สมบูรณ์ รวมทั้งมีการนำเสนอพลงานการบรรเลงที่เด่นชัดในปัจจุบัน เป็นเหตุให้ผู้วิจัยเลือกวงขับไม้ของกรมศิลปากรเป็นวงกรณีศึกษา วัตถุประสงค์ของการวิจัย มีวิจัยได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับบริบทสำคัญต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับพระราชพิธีกล่อมช้าง ประวัติความเป็นมา และบทบาทการบรรเลงของวงขับไม้ ตลอดจนระเบียบวิธีการบรรเลง การสืบทอด และอัตลักษณ์ของเพลงที่ใช้บรรเลงในวงขับไม้ของกรมศิลปากร ผลการวิจัยพบประเด็นที่สำคัญเกี่ยวกีบวงขับไม้ดังนี้ 1. วงขับไม้เป็นวงดนตรีที่เกิดขึ้นจากแนวคิดด้านคติความเชื่อทางศาสนาพราหมณ์ 2. อัตลักษณ์ในการบรรเลงของวงขับไม้แสดงให้เห็นถึงการประสานประโยชน์ระหว่างกันของผู้บรรเลง จนเกิดเป็นเอกภาพในท่วงทำนองเพลง 3. วงขับไม้เป็นวงดนตรี ที่มีการเลือกใช้กลุ่มเพลงและระดับเสียงได้เหมาะสมคับการบรรเลงในพิธีประเภท ขับกล่อม 4. วงขับไม้เป็นวงดนตรีที่เหมาะสำหรับใช้ผู้ชายบรรเลง โดยเฉหาะผู้ขับ เนื่องจากธรรมชาติของเสียงผู้ชายมีระดับเสียงที่เหมาะสมกับวงนี้มากที่สุด 5. ช้างเผือกเป็นสัตว์ที่หายาก ทำให้การประกอบพระราชพิธีกล่อมช้างมีไม่บ่อยนัก ยังผลให้บทบาทการบรรเลงของวงขับไม้ลดน้อยลงตามไปด้วย
Other Abstract: Wong Khub Mai is the ensemble for Royal ceremony of Thailand since ancient time. It is the root ensemble of Mahori in Ayudhaya period. The Royal elephant lull is an important Thai Royal ceremony which derived from Brahminism about white elephant's belief. Wong Khub Mai plays an important role in this ceremony, clearly settles down since the early Radanakosin period (King Rama II) until present time. Wong Khub Mai cf the Fine Arts Department is the only ensemble in existence today. It is composed of the experts in performing which is derived directly from Wong Khub Mai in Rama VII reign. They keep all the performance strickly to the original form, and still in function. These are reasons that have drawn my intention to choose Wong Khub Mai of the Fine Arts Department as case study. The purpose of this research was to study about important context concerned with Wong Khub Mai : history and role in Royal elephant lull including methodology, inheritance and character of song used in Wong Khub Mai of the Fine Arts Department. The result is found signilicantly as follow : 1. Wong Khub Mai has originated idea from Brahminism. 2. The character of Wong Khub Mai methodology showed the harmony of player as occured in the melodic unity. 3. Wong Khub Mai is the ensemble which shows the suited selection of songs and tonality in Royal hill. 4. Wong Khub Mai is the ensemble which is suited mostly to men, particularly the vocalist because of the nature of men's pitch. 5. White elephant is very rare, 80 Royal elephant lull is not frequently performed and the role of Wong Khub Mai has also become lesser.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ดุริยางค์ไทย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66192
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Somboon_bo_front_p.pdf887.25 kBAdobe PDFView/Open
Somboon_bo_ch1_p.pdf931.23 kBAdobe PDFView/Open
Somboon_bo_ch2_p.pdf1.67 MBAdobe PDFView/Open
Somboon_bo_ch3_p.pdf1.62 MBAdobe PDFView/Open
Somboon_bo_ch4_p.pdf4.29 MBAdobe PDFView/Open
Somboon_bo_ch5_p.pdf766.88 kBAdobe PDFView/Open
Somboon_bo_back_p.pdf1.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.