Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66250
Title: การศึกษาสาเหตุของงานทำซ้ำเพื่อลดการสูญเสียเวลาในโรงงานเครื่องประดับ
Other Titles: Study of rework causes for time reduction in jewelry factory
Authors: ปิยะรัตน์ ลิมปนิลชาติ
Advisors: สุทัศน์ รัตนเกื้อกังวาน
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Suthas.R@Chula.ac.th
Subjects: อุตสาหกรรมอัญมณี
การควบคุมความสูญเปล่า
การควบคุมคุณภาพ
Jewelry trade
Loss control
Quality control
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การพัฒนาคุณภาพสินค้าขององค์กรเป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากกับองค์กรต่าง ๆ ในปัจจุบัน ซึ่งจะต้องจัดส่งสินค้าที่มีคุณภาพให้กับลูกค้าตรงตามเวลาที่กำหนด อันจะเป็นการสร้างความพึงพอใจให้กับลูกค้า สำหรับโรงงานตัวอย่างก็ประสบปัญหาเรื่องการส่งสินค้าไม่ทันกำหนด เนื่องจากมีปริมาณงานทำซ้ำเป็นจำนวนมาก ดังนั้นวัตถุประสงค์ของการทำวิจัยครั้งนี้ คือลดปริมาณของ งานทำซ้ำที่เกิดขึ้น เพี่อลดเวลาสูญเสีย และสามารถส่งสินค้าให้แก่ลูกค้าได้ตามกำหนด การศึกษาวิจัยนี้ ได้เลือกโรงงานผลิตเครื่องประดับแห่งหนึ่ง เป็นกรณีศึกษา ผลการศึกษาวิจัยพบว่าโรงงานตัวอย่างมีปัญหาเรื่องการส่งสินค้าไม่ทันตามกำหนดประมาณ 60% ของจำนวนออเดอร์ทั้งหมด ซึ่งสาเหตุที่สำคัญเนื่องจากการมีปริมาณงานทำซ้ำเป็นจำนวนมาก จากการเก็บข้อมูลเบื้องต้นพบว่าแผนกหล่อตัวเรือน และแผนกขัดเป็นต้นเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาของงานทำซํ้า จึงได้ทำการปรับปรุง โดยใช้เทคนิคต่าง ๆ ได้แก่ การออกแบบการทดลองเพี่อกำหนดสภาวะในการทำงานที่เหมาะสม สำหรับแผนกหล่อตัวเรือน การนำเครื่องจักรเข้ามาใช้แทนพนักงานเพี่อลดความผิดพลาดที่เกิดจากคน สำหรับแผนกขัด และ การกำหนดมาตรฐานในการทำงาน โดยกำหนดคู่มือวิธีการทำงานสำหรับการทำงานในขั้นตอนต่าง ๆ ผลการปรับปรุงสรุปได้ว่าปริมาณงานทำซํ้าลดลงอย่างเห็นได้ชัด คือลดลงจากประมาณ 9.5% เหลือ 6.08% ในแผนกหล่อตัวเรือน และ จากประมาณ 8% ลดลงเหลือ 4.91% ในแผนกขัด ทำให้เวลาที่เพี่มขึ้นเนื่องจากงานทำซ้ำลดลงจากประมาณ 296.17 ชั่วโมงสำหรับงานเสีย เหลือ 139.30 ชั่วโมง และ จากประมาณ 243.26 ชั่วโมงสำหรับงานซ่อม ลดลงเหลือ 92.38 ชั่วโมง โรงงานจึงสามารถลดค่าใช้จ่ายที่เกิดจากงานทำซ้ำได้เป็นจำนวนมาก คือ ลดลงประมาณ 200,000 บาท จากต้นทุนเฉลี่ยก่อนการปรับปรุงประมาณ 522,376 บาท คิดเป็น 38% จากการปรับปรุงเป็นเวลา 3 เดือน และงานทำซ้ำที่มีสาเหตุมาจากแผนกขัดจะสามารถลดต้นทุนได้ประมาณ 28,000 บาท จากต้นทุนเฉลี่ยก่อนการปรับปรุง ประมาณ 74,932 บาท คิดเป็น 37% จากการปรับปรุงเป็นเวลา 3 เดือน เช่นกัน และยังส่งผลให้จำนวนงานที่ส่งไม่ทันกำหนดลดลงถึงประมาณ 20% อีกด้วย
Other Abstract: At present, the development in quality of products is essential for any company. Because the company has to deliver high quality products to the customer on time. For this case study, the factory had the problem that they could not deliver their products on time because of a considerable amount of reworks. Therefore, this thesis is aimed to decrease the rework for reducing the loss time and delivering products on time. A jewelry factory was chosen as a case study. It was found that the factory could not deliver products on time around 60% of all products. This is due to the reworks in the casting and polishing sections. Therefore, the problems were solved by several techniques. For example, the experiment is designed to control the suitable conditions in work for casting section, the machine is used instead of human to decrease the human error in the polishing section and the standard in work is assigned by working handbook in each step. From the results, it can be concluded that rework decreased from 9.5% to 6.08% in the casting section and from 8% to 4.91% in the polishing section. Moreover, the loss time was also decreased from 296.17 hr. to 139.30 hr. for lose and from 243.26 hr. to 92.38 hr. for repair work. Consequently, the factory can reduce the expenditure from rework around 38%, that is 200,000 from the average investment of 522,376 baht, in 3 months. In the polishing section, the reduction of investment from the rework was done by about 37%, that is 28,000 from the average investment 74,932 baht, in 3 months. เท addition, the total amount of products that could not be delivered on time was reduced by around 20%.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/66250
ISBN: 9740309208
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Piyarat_li_front_p.pdf970.17 kBAdobe PDFView/Open
Piyarat_li_ch1_p.pdf714.69 kBAdobe PDFView/Open
Piyarat_li_ch2_p.pdf1.35 MBAdobe PDFView/Open
Piyarat_li_ch3_p.pdf1.4 MBAdobe PDFView/Open
Piyarat_li_ch4_p.pdf1.32 MBAdobe PDFView/Open
Piyarat_li_ch5_p.pdf3.24 MBAdobe PDFView/Open
Piyarat_li_ch6_p.pdf676.46 kBAdobe PDFView/Open
Piyarat_li_back_p.pdf4.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.